เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก
คำสำคัญ:
เมตตาธรรม, เมตตา, ค้ำจุนโลกบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งศึกษาวิเคราะห์ว่า เมตตาธรรมค้ำจุนโลกได้อย่างไร โดยใช้ปรัชญาหลังนวุยคสายกลางเป็นพื้นฐานในการมองหลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิเคราะห์ตีความหลักพุทธธรรม ได้แก่ ความเมตตา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจให้เกิดความสุข สงบ ร่มเย็น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ผลการศึกษาพบว่า เมตตา คือ ความรักที่ปราศจากราคะ เป็นความปรารถนาดีที่เกิดจากจิตอันเป็นกุศล ปรารถนาให้ตนเองและอื่นมีความสุข เป็นคุณภาพความสุขบนพื้นฐานของปัญญา มีความเชื่อมโยงในลักษณะของการเกื้อกูล ช่วยเหลือ แบ่งปัน มีความใจกว้าง อ่อนโยน พร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับบุคคลที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์ มีปัญญาในการทำความเข้าใจ ไม่ตัดสินด้วยอคติหรืออารมณ์แห่งโทสะ เมตตาเป็นกุศลธรรมที่สามารถค้ำจุนโลกได้ ดังพุทธสุภาษิตว่า “โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตฺตา” (เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก) เมื่อชาวโลกทั่วไป มีความรักความเมตตาต่อกัน ย่อมปราศจากความคิดที่จะมุ่งทำร้ายหรือทำลายซึ่งกันและกัน แต่จะคิดเพื่อสนับสนุนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การทะเลาะหมางอันเกิดจากการแบ่งแยก แข่งขัน การทำร้ายและสงครามจึงไม่เกิดขึ้น แต่หากบุคคลปราศจากเมตตาอันประกอบด้วยปัญญาแล้ว ย่อมมีโอกาสทำร้ายตนเองและคนรอบข้าง แม้แต่คนที่ควรรัก ได้แก่ บิดา มารดา หรือผู้มีพระคุณ ก็ไม่ยกเว้น ตรงกันข้าม บุคคลที่มีเมตตาย่อมเป็นผู้ไม่เบียดเบียด มีศีลสมบูรณ์ เพราะความเมตตาจึงละเว้นจากการฆ่าและทำร้ายร่างกายกัน เพราะความเมตตาจึงไม่ลักขโมยของใครให้เกิดความเดือดร้อน เพราะความเมตตาจึงไม่ย่ำยีจิตใจกันด้วยการล่วงประเวณีกับบุคคลต้องห้าม เพราะความเมตตาจึงเว้นจากวจีทุจริตทั้งปวงที่เป็นเหตุแห่งความวิบัติ เพราะความเมตตาจึงดำรงตนในความไม่ประมาท รักษาสติอยู่เสมอ ดังนั้น เมตตาธรรมจึงเป็นสิ่งที่ค้ำจุนโลกไม่ให้เกิดภัยยพิบัติ ไม่ให้เกิดสงครามนองเลือด ไม่ให้เกิดการเบียดเบียนที่ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนจนเกินไป ยิ่งเกิดเมตตาภายในจิตใจของชาวโลกมากเท่าใด โลกก็เข้าใกล้ความสงบร่มเย็นและเป็นประโยชน์มากเท่านั้น ทั้งยังเป็นกุศลธรรมที่เข้าสู่ความเย็นอันปราณีต เป็นเครื่องส่งเสริมสู่ความดับทุกข์ทั้งปวง
References
กีรติ บุญเจือ. (2545). เริ่มรู้จักปรัชญา (ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
พระกิตติพงษ์ อาภาธโร (ไลไธสงค์), สมเดช นามเกตุ, พระครูจิรธรรมธัช. (2564). การประยุกต์ใช้หลักเมตตาธรรมเพื่อลดความรุนแรงในชุมชนบ้านสร้างก่อ ตําบลสร้างก่อ อําเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 201-214.
พระครูสมุห์วัยวุฒิ ชิตจิตฺโต, พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, และบรรพต ต้นธีรวงศ. การประยุกต์หลักเมตตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อจัดการความขัดแย้ง. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร., ฉบับพิเศษ , 150-161.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2547) เมตตาภาวนา. กรุงเทพฯ : พิมพ์อำไพ.
พระมหาบุญเรียน ปภงฺกโร (พิลาพันธ์). (2556). วิเคราะห์แนวความคิดเรื่องเมตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีระวัฒน์ ฉัตรไทยแสง และ เชษฐ์นิติภัทร พรหมชิน. (2566). เมตตาพรหมวิหารธรรมสร้างสันติสุขให้สังคม. วารสารธรรมเพื่อชีวิต, 29(1), 111-124.
เมธา หริมเทพาธิป, รวิช ตาแก้ว และคณะ. (2564). “สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศปป. 5 กอ.รมน. และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เมธา หริมเทพาธิป. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-77.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2535). พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
Best, S. and Kellner, D. (1999). Postmodern Theory. New York : The Guilford Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.