คุณภาพชีวิตที่ดีของทหารตามหลักปรัชญากระบวนทรรศน์ 5

ผู้แต่ง

  • ปราโมท หม่อมศิลา วิทยาลัยการทัพบก

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ทหาร, กระบวนทรรศน์ 5

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาคุณภาพชีวิตที่ดีของทหารตามหลักปรัชญากระบวนทรรศน์ 5 ผลการศึกษาพบว่า กระบวนทรรศน์ 5 คือ ความเชื่อส่วนลึกในใจคน แบ่งออกเป็น 5 กระบวนทรรศน์ ได้แก่ 1) กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อว่าโลก จักรวาล ธรรมชาติไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ดังนั้น จึงเชื่อในเรื่องอำนาจลึกลับจากเบื้องบนว่าสามารถดลบันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปต่าง ๆ นานา 2) กระบวนทรรศน์ยุคโบราณ เชื่อว่า โลก จักรวาล และธรรมชาติ มีกฎเกณฑ์ตายตัวแน่นอน ดังนั้น จึงเชื่อเจ้าสำนักหรือเจ้าลัทธิที่รู้จักกฎธรรมชาติดีที่สุด 3) กระบวนทรรศน์ยุคกลาง เชื่อว่าโลกหน้ามีอยู่จริง และความสุขที่จีรังยั่งยืนอยู่ในโลกหน้าเท่านั้น 4) กระบวนทรรศน์นวยุค เชื่อในกฎวิทยาศาสตร์ว่าสามารถทำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงสากลที่ตรงกับความเป็นจริงได้ และปัญญาของมนุษย์สามารถถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งได้ตรงกัน 5) กระบวนทรรศน์หลังนวยุค เชื่อว่า มนุษย์คนหนึ่ง โดยทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงความเป็นจริงได้ทั้งหมด จึงควรใช้วิจารณญาณ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกัน คุณภาพชีวิตที่ดีของทหารตามหลักกระบวนทรรศน์ 5 จึงเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และจริยธรรมดูแล เพื่อให้ทหารมีความคิดและจินตนาการในเชิงสร้างสรรค์ด้วยตนเองไม่ใช่การออกนโยบายมาบังคับให้ทหารปฏิบัติตามแบบปรัชญานวยุค แต่เน้นการมีส่วนร่วม กระบวนการในการเสริมสร้างจิตสำนึก ซึ่งเป็นความสุขจากการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามสัญชาตญาณปัญญา หรือสุขแท้ตามความเป็นจริงด้วยการสร้างสรรค์ ร่วมมือ ปรับตัว และแสวงหา

References

กีรติ บุญเจือ. (2545ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

________. (2545ข). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

________. (2546ก). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสาม ย้อนอ่านปรัชญายุคกลางของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต.

________. (2546ข). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสี่ ย้อนอ่านปรัชญานวยุคของมนุษยชาติ ช่วงสร้างระบบเครือข่าย. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต.

________. (2546ค). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มห้า ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต.

________. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักวิชาการสากล. กรุงเทพฯ : เชน ปริ้นติ้ง.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2556). ลายแทงนักคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย.

เกษม จันทร์แก้ว. (2558). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปราโมทย์ หม่อมศิลา. (2561). คุณภาพชีวิตของทหารไทยตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 8(2), 259-266.

เมธา หริมเทพาธิป และ เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). พัฒนาอย่างพอเพียงด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อธรรมาภิบาล. ใน รวิช ตาแก้ว/ (บก.), ประเทศไทยกับธรรมาภิบาลด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (หน้า 207-27). กรุงเทพฯ : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์.

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). ญาณปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ใน รวิช ตาแก้ว/ (บก.), ประเทศไทยกับธรรมาภิบาลด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (หน้า 73-87). กรุงเทพฯ : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์.

Geene, B. The Fabric of The Cosmos. แปลโดย ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ. (2552). ถักทอจักรวาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.

Hawking, S. The Universe in A Nutshell. แปลโดย ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2544). จักรวาลในเปลือกนัท. กรุงเทพฯ : บริษัท พีดับบลิว พริ้นติ้ง จำกัด.

01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/29/2024