การบริหารธุรกิจ 5 กระบวนทรรศน์
คำสำคัญ:
กระบวนทรรศน์, การบริหารธุรกิจ, ธุรกิจบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งตีความการบริหารธุรกิจ 5 กระบวนทรรศน์ ประกอบด้วย กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ กระบวนทรรศน์ยุคโบราณ กระบวนทรรศน์ยุคกลาง กระบวนทรรศน์นวยุค และกระบวนทรรศน์หลังนวยุค ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารธุรกิจแบบกระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ เป็นการทำธุรกิจที่เน้นการเอาตัวรอดเฉพาะตน สำหรับผู้ที่มีครอบครัวก็จะคิดธุรกิจเพียงเพื่อให้ครอบครัวตนเองอยู่รอดเท่านั้น 2) การบริหารธุรกิจแบบกระบวนทรรศน์ยุคโบราณ เป็นการทำธุรกิจที่เน้นความอยู่รอดขององค์กร โดยเน้นให้องค์กรมีกฎระเบียบที่ตายตัวและชัดเจน เกณฑ์ตัดสินความจริง เกณฑ์วัดและประเมินผลพฤติกรรมหรือความประพฤติต่าง ๆ การทำธุรกิจในยุคโบราณจำเป็นต้องสัจจะ มีความจริงใจในการทำธรุกิจ 3) การบริหารธุรกิจแบบกระบวนทรรศน์ยุคกลาง เป็นการทำธุรกิจเพื่อความคงอยู่ของพระศาสนา เป็นธุรกิจศาสนา แม้แต่ธนาคารก็จะเป็นธนาคารเชิงศาสนา ผลกำไรทั้งหมดหรือเกือบจะทั้งหมดจะถูกนำไปส่งเสริม สนับสนุนงานของศาสนาให้เกิดการต่อยอด ให้เกิดการเผยแผ่ศาสนาให้กว้างขึ้น 4) การบริหารธุรกิจแบบกระบวนทรรศน์นวยุค ไม่ได้คำนึงถึงคุณงามความดีหรือคุณธรรมอะไรที่จะเป็นเสบียงบุญไปสู่โลกหน้า เพราะไม่เชื่อว่าโลกหน้ามีอยู่จริง เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วางมาตรการป้องปรามคู่แข่งทางธุรกิจด้วยคติพจน์ “แม้นหวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคให้รอบคอบ ไม่ประมาท มีเงินแล้วก็ต้องมีพรรคมีพวก มีเครือข่ายเสริมอำนาจ เกียรติยศ และใช้สิ่งเหล่านี้เสริมความมั่นคงให้แก่ตนและพวกพ้อง 5) กระบวนทรรศน์หลังนวยุค เน้นธุรกิจบนสัญชาตญาณปัญญา คือ การสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา ก่อให้เกิดนวัตตกรรมทางธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ เกิดการแบ่งปัน เน้นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเน้นการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคแบบมีส่วนร่วม เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน
References
กีรติ บุญเจือ. (2512). ปรัชญาเบื้องต้นและตรรกวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ผดุงวิทยา.
จักรพงษ์ ทิพสูงเนิน รวิช ตาแก้ว และกีรติ บุญเจือ. (2566). วิธีการสร้างความสุขตามหลักพุทธปรัชญา. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 6(1) : 74-84.
พนมพร เฉลิมวรรณ์. (2559). คุณลักษณะผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สืบค้นจาก http://mdc.library.mju.ac.th/research/2561/panomporn_ chalermwan_2559/fulltext.p df
สุดารัตน์ น้อยแรม และกีรติ บุญเจือ. (2561). พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับประโยชน์นิยม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. รมยสาร. 16(3). (กันยายน - ธันวาคม).
Bentham, J. (1984). The Principle of Moral and Legislation. New York : Hafner Publishing.
Best, S. and Kellner, D. (1999). Postmodern Theory. New York : The Guilford Press.
Vatsyayan, K. (1986). Made easy ethics. New Delhi: Kedar Nath Ram Nath.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.