ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท
คำสำคัญ:
ปฏิจจสมุปบาท, ทางสายกลางบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ เป็นบทความที่มุ่งศึกษาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบว่า ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาทคืออะไร ผลการศึกษาพบว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะบรรลุได้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะพิเศษของปฏิจจสมุปบาท แม้ว่าบุคคลในระดับสาวกจะสามารถมีญาณหยั่งรู้เข้าถึงธรรมข้อนี้ แต่ก็เข้าถึงในระดับหนึ่ง ไม่ลึกเท่าระดับของพระพุทธเจ้า และจากผลการวิเคราะห์ “ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท” สรุปได้ว่า ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง โดยย่อ ได้แก่ การหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ 2 ประการ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ โดยขยาย ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ 62 ประการ 2) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสถานที่และเวลา ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในภพ (31 ภพภูมิ) ประการหนึ่ง และความยึดมั่นถือมั่นในสังขารที่ ปรุงแต่งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ประการหนึ่ง และ 3) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
References
การศาสนา, กรม. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2556). บทความพิเศษ ปฏิจจสมุปบาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20(1), 75-98.
เทพพร มังธานี. (2564). อิทัปปัจจยตาทางจริยศาสตร์. วารสารปณิธาน, 17(1), 119-142.
ธนสิทธิ์ ฉัตรสุวรรณ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องภพในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(1), 1-11.
ธเนศ เกษศิลป์. (2561). วิถีทางสายกลาง เพื่อความอยู่ร่วมกันของสังคมและลดการเบียดเบียนธรรมชาติแบบบูรณาการ. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 82-91.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.
พระสาทิพย์ อนาลโย, พระปลัดสมชาย ปโยโค และพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 225-236.
พุทธทาสภิกขุ. (2540). ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพสุขภาพใจ.
________. (2548). ธรรมะในฐานะวิทยาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2506). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
________. (2539). ปปญฺจสูทนี มชฺฌิมปณฺณาสกอฏฺกถาปาลิ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). ลีนตฺถปฺปกาสนี มหาวคฺคฏีกา. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). วิสุทฺธิมคฺคปาลิ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). สมฺโมหวิโนทนีอฏ̣กถาปาลิ. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). ธมฺมปทฏ̣กถาปาลิ. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.