ศึกษาเชิงวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ของปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง
คำสำคัญ:
จริยศาสตร์, ปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง, คุณค่าทางจริยศาสตร์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เป็นบทความวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ของปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า 1) จริยศาสตร์ คือ ศาสตร์ว่าด้วยความประพฤติ ความประพฤติต่างจากพฤติกรรม พฤติกรรมเป็นการกระทำที่ไม่มีมโนธรรมนำทาง ส่วนความประพฤติเป็นการกระทำที่มีมโนธรรมนำทาง เกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมมีทั้งแบบตัดสินจากเจตนา ตัดสินจากผลการกระทำ 2) ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นปรัชญากระบวนทรรศน์ที่ 5 มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้วิจารณญาณเป็นวิธีการเข้าถึงความจริงในเชิงคุณค่าของคุณภาพชีวิต ใช้การสานเสวนาเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย 3) วิเคราะห์คุณค่าทางจริยศาสตร์ของปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) คุณค่าของการสร้างสรรค์ (2) คุณค่าของการปรับตัว (3) คุณค่าของการร่วมมือ (4) คุณค่าของการแสวงหาโดยธรรม คุณค่าทั้ง 4 ด้านนี้เป็นคุณค่าทางจริยศาสตร์ของปรัชญาหลังนวยุคสายกลางที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งโดยส่วนตนและส่วนรวม
References
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์, ดร. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2), 111-117.
พรชัย บุญปก และบุญร่วม คำเมืองแสน. (2565). เปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอิมมานูเอล คานท์ กับพุทธจริยาศาสตร์. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 20(1), 182-191.
พระครูกิตติโพธิสาร กิตติปญฺโญ. (2565). การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในประเพณีบุญซัมฮะของตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 167-180.
พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส และคณะ. (2565). ข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์กฎหมายสมรสเท่าเทียม. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 9(3), 233-247.
พระครูสิริประภัสสรคุณ ปภสฺสโร (ดงมีศรี) และคณะ. (2566). การปลูกฝังจิตอาสาและจิตสำนึกในองค์กรทางคุณธรรมจริยธรรมในสังคม. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 383-396.
พระอนุลักษ์ ฐิตวฑฺฒโน (สุขเรือง). (2566). แนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธจริยธรรม. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3), 195-206.
ภูดิส ศิสิตศิชศักดิ์. (2565). การศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของความรู้สึกในทฤษฎีจริยศาสตร์ของคาร์ล่า แบกโนลี. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 5(1), 14-24.
เมธา หริมเทพาธิป. (2563). การจูงใจตนเองในแนวทางหลังนวยุค. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 99-107.
________. (2561). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รมยสาร, 16(3), 63-76.
ศุภมา จิตต์เที่ยง และคณะ. (2566). แนวทางการนำหลักพุทธจริยธรรมมาใช้พัฒนาผู้นำทางการเมือง. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(6), 227-237.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.