การใช้กิจกรรมการเสริมสร้างด้านความพอประมาณในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสาลวัน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จิรายุ โพชี สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาสามารถ ฐานิสฺสโร สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเสริมสร้าง, ด้านความพอประมาณ, ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำศึกษา เรื่องการใช้กิจกรรมการเสริมสร้างด้านความพอประมาณในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวัดสาลวัน จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างด้านความพอประมาณในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกปีที่ 5 โรงเรียนวัดสาลวัน จังหวัดนครปฐม 2)  เพื่อเปรียบเทียบความพอประมาณในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ชั้นประถมศึกปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มเพื่อ เสริมสร้างความพอเพียง ชื่อกิจกรรมที่ 1. ความพอดีที่พอเพียง 2. คุณค่าของเงิน 3. ใช้เงินเท่าที่ จำเป็น 4. ใช้จ่ายอย่างมีคุณค่า แบบประเมินพฤติกรรม แบบสำรวจ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับความพอเพียงของนักเรียน ซึ่งเรียงลำดับจาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านมีค่ามาก อยู่ในข้อที่ว่า ฉันวางแผนการใช้เงิน เพื่อให้มีพอใช้กับตนเอง อยู่ในด้าน ความพอประมาณอยู่ในระดับมาก (=4.47) ด้านความมีเหตุผล พบว่าอยู่ในข้อที่ว่าฉันซื้อสินค้าเพราะประโยชน์และความจำเป็น มากกว่าซื้อเพราะถูกใจอยากได้ และข้อที่ว่าเมื่อฉันท้อแท้และเบื่อหน่ายในการเรียน ฉันให้กำลังใจ ตนเองได้ อยู่ในระดับมาก (=4.47) และด้านที่มีค่าน้อย พบว่า อยู่ในข้อที่ว่า เวลาเพื่อนยั่วโมโห ฉันตอบโต้เพื่อนทุกครั้งด้วย  คำพูดหรือการใช้กำลัง ซึ่งอยู่ในด้านความพอประมาณ
  2. การเปรียบเทียบความพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดกิจกรรม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพอเพียง โดยรวมก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มี ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2549). สรุปผลการพัฒนาประเทศไทยตลอดช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1-9 ที่ผ่านมา, มติชน, หน้า 12.

จารุวรรณ ขจรอนันต์.(2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของนักเรียนโรงเรียนสีดาวิทยา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ธนาภรณ์ ธิราพืช, วีระ วงศ์สรรค์, และธนาดล สมบูรณ์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตพิมานปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 217-232.

วีระ ปันทรัพย์. (2551). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

อารีย์ เชื้อเมืองพาน. (2550, มีนาคม-เมษายน). เศรษฐกิจพอเพียง : ทางรอดของเศรษฐกิจไทย. วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 8(2), 66.

ล้วน สายยศ. (2556). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.

เศรษฐกิจพอเพียง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2024