พุทธจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คำสำคัญ:
พทธจริยศาสตร์, ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง, คุณภาพชีวิต, พัฒนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพุทธจริยศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 3) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลการวิจัยพบว่า 1. พุทธจริยศาสตร์มีอยู่ 3 ขั้น คือ พุทธจริยศาสตร์ขั้นต้น ได้แก่ เบญจศีล-เบญจธรรม พุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบท 10 พุทธจริยศาสตร์ขั้นสูง ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 2. คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นคุณภาพชีวิตที่เน้นประโยชน์สุขในปัจจุบัน ส่งเสริมความสร้างสรรค์หรือการมีเจตนาเป็นกุศลกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขส่วนรวม เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ตนเองและสังคมให้มากที่สุด 3. วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า พุทธจริยศาสตร์ขั้นต้น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในด้านการสร้างสรรค์และปรับตัวเพื่อให้เกิดมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานคือเอาใจเขามาใส่ใจเรา ละเว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีเมตตาธรรม อยู่ร่วมกันอย่างสันติ พุทธจริยศาสตร์ขั้นกลาง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในด้านการปรับตัว ปรับพื้นฐานทางจิตใจและสติปัญญา เพื่อป้องกันความชั่ว 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ พุทธจริยศาสตร์ขั้นสูง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางในด้านการร่วมมือเพื่อสร้างนิเวศน์ภาวนาร่วมกัน และด้านการแสวงหาโมกข์ธรรมภายในตนอย่างลึกซึ้ง เพื่อดับทุกข์ภายในใจอย่างยั่งยืน
References
ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). การคิดนวัตกรรมด้วยหลักการทรงงานตามหลักปรัชญาหลังนวยุค. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(2), 111-117.
บุญวัฒน์ บุญทะวงศ์. (2565). นางหาบ: พุทธจริยศาสตร์จิตอาสา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(61), 1-6.
พระครูกิตติโพธิสาร กิตติปัญโญ และคณะ. (2565). การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในประเพณีบุญซำฮะของตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 167-160.
พระครูสิริประภัสสรคุณ ปภสฺสโร (ดงมีศรี), สมเดช นามเกตุ และ บุญส่ง สินธุ์นอก. (2566). การปลูกฝังจิตอาสาและจิตสำนึกในองค์กรทางคุณธรรมจริยธรรมในสังคม. Journal of Modern Learning Development, 8(7), 383-396.
พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณ และคณะ. (2566). พุทธจริยศาสตร์กับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 608-619.
พระมหายิ่งสันต์ ภทฺราภิสิทฺธิ(กมลสาร), พระมหาสากล สุภรเมธี และพระใบฎีกานรินทร์ สีลเตโช. (2565). การศึกษาวิเคราะห์วิบากกรรมของเปรตตามหลักพุทธจริยศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 11(2), 713-723.
พิชัย สุขวุ่น. (2558). กระบวนทรรศน์หลังนวยุคในปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ, การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 33-61.
ศุภมา จิตต์เที่ยง และ ธวัชชัย ผลสะอาด. (2566). แนวทางการนำหลักพุทธจริยธรรมมาใช้พัฒนาผู้นำทางการเมือง. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(6), 227-237.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.