การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, อปริหานิยธรรม, มหาวิทยาลัยสงฆ์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2) การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 16 รูป/คน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ จำนวน 323 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ประกอบด้วยหลักการบริหารงานบุคคล 4 ด้าน ได้แก่ (1) การได้มาซึ่งบุคลากร (2) การบำรุงรักษาบุคลากร (3) การพัฒนาบุคลากร และ (4) การให้บุคลากรพ้นออกจากงาน 2) การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พบว่า ในภาพรวม บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรมของมหาวิทยาลัยสงฆ์ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบำรุงรักษาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ต่อมาคือ ด้านการได้มาซึ่งบุคลากร และด้านการให้บุคลากรพ้นจากงาน ตามลำดับ
References
กุลชลี พวงเพ็ชร์. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ปทุมธานี : ยูโอเพ่น.
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ทองดี ศรีตระการ. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามหลักอปริหานิยธรรม. วารสารปัญญาปณิธาน, 1(1), 1-16.
เนตรชนก วิภาตะศิลปิน. (2559). พุทธปรัชญาการศึกษากับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3(3), 157-168.
พระมหายุทธพิชัย สิริชโย และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 139-147.
สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันพอดี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.