การพัฒนาภาวะผู้นำด้วยทานบารมี
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ทานบารมีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทานบารมีในบริบทของพุทธปรัชญาเถรวาท 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทานบารมีกับคุณลักษณะของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 3) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ทานบารมีในการพัฒนาภาวะผู้นำในระดับบุคคล ชุมชน และองค์กร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดพุทธปรัชญาเถรวาทและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมเป็นกรอบการวิจัย ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทานบารมีเป็นหลักธรรมสำคัญที่เน้นการลดอัตตา เสริมเมตตา และมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณ โดยปรากฏอย่างเด่นชัดในพระไตรปิฎก เช่น เวสสันดรชาดก 2) ทานบารมีมีความสัมพันธ์โดยตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม เช่น ความเสียสละ ความเมตตา ความรับผิดชอบ และการปลูกฝังเจตจำนงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 3) การประยุกต์ใช้ทานบารมีสามารถส่งเสริมภาวะผู้นำได้ทั้งในระดับบุคคล (ผ่านการฝึกฝนคุณธรรมภายใน) ระดับชุมชน (ผ่านกิจกรรมจิตอาสา) และระดับองค์กร (ผ่านนโยบายเอื้อเฟื้อเพื่อสังคม) องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ คือ "D-A-N-A Leadership Model" ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดใหม่ที่เสนอการพัฒนาภาวะผู้นำจากภายในผ่านหลักทานบารมี สามารถประยุกต์ใช้กับการอบรมผู้นำในระดับต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงจริยธรรม
References
ชวัลวิทย์ อรณุปราการ, นวลวรรณ พลูวสุพลฉัตร และสรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2564). การใช้บารมี 10 ในการพัฒนาตนเองและสังคม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(2), 1–15.
พระมหาพงศ์ศิริ ปญฺญาวชิโร. (2564). วิเคราะห์ทานบารมีในคัมภีร์อรรถกถาชาดก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 63–73.
รัฐพงค์ ทองแปง, พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม และทรงศักดิ์ พรมดี. (2564). ศึกษาวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบำบารมีีของพระเวสสันดรในเวสสันดรชาดก. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 175-187.
พุทธชญานันท์ จันทร์โสม. (2557). ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการบำเพ็ญบารมีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. (2566). รายงานการฝึกอบรมภาวะผู้นำในภาคราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
เอกชัย อุไรสินธ์. (2564). แนวปฏิบัติตามปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Avolio, B. J., & Hannah, S. T. (2008). Developmental readiness: Accelerating leader development. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 60(4), 331–347.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Goleman, D., Boyatzis, R., & McKee, A. (2002). Primal leadership: Realizing the power of emotional intelligence. Boston, MA: Harvard Business School Press.
Greenleaf, R. K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. Mahwah, NJ: Paulist Press.
Greenleaf, R. K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. Mahwah, NJ: Paulist Press.
Harvard Business Publishing. (2024). 2024 Global Leadership Development Study. Boston, MA: Harvard Business Publishing. https://www.harvardbusiness.org/leadership-learning-insights/2024-global-leadership-development-study/
Kanungo, R. N., & Mendonca, M. (1996). Ethical dimensions of leadership. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Moldoveanu, M., & Narayandas, D. (2019). The future of leadership development. Boston, MA: Harvard Business Review. https://www.researchgate.net/publication/33148 0385_The_Future_of_Leadership_Development

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.