ภาวะผู้นำผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • ไรหนับ หมัดสะอิ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, สถานศึกษา, ดิจิทัลดิสรัปชัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.911 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือ ด้านผู้นำแบบประชาธิปไตย รองลงมา คือ ด้านผู้นำแบบเสรีนิยม และอันดับสุดท้ายคือ ด้านผู้นำแบบเผด็จการ ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านหลักสูตรและการสอน รองลงมา คือ ด้านทรัพยากรบุคคล และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่ายทางการศึกษา ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของบุคลากรทางการศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ : วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์-ดร.จักรกฤษณ์-โพด.pdf.

ชีวิน อ่อนละออ และคณะ. (2563) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(1), 108-119.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยทองสุข. โรงพิมพ์ทีคอม.

พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม. (2557). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 1(1), 89-102.

ปะราลี อร่ามดวง. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความไว้วางใจ. ดุษฎีนิพนธ์ตามหลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐนันท์ รถทอง และมลรักษ์ เลิศวิลัย. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 223-234.

รัตนบงกช นิพัฒน์ศิริผล. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพะเยา.

วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารจัดการ สถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวอิชาการบริหารการศึกษา : วิทยาลัยทองสุข

สิทธิศักดิ์ มนต์ฤทธานุภาพ (2565). เรื่องลักษณะภาวะผู้นำต่อความมีจิตอาสาในการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : วิทยาลัยทองสุข

สุทธิชา สมุทวนิช. (2563). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการจัดการการศึกษาและนวัตกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3(3), 85-99.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49–60.

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

หมัดสะอิ ไ., & กำหอม ใ. (2025). ภาวะผู้นำผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน ของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารสถาบันพอดี, 2(6), 1–13. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1615