คุณลักษณะผู้บริหารในยุคดิจิทัลกับประสิทธิผลการบริหารวิชาการสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักบริหารงานเขตพื้นที่การศึกษา
คำสำคัญ:
คุณลักษณะผู้บริหารในยุคดิจิทัล, ประสิทธิผล, การบริหารวิชาการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะผู้บริหารในยุคดิจิทัล 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารในยุคดิจิทัลกับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรทางการศึกษา สำนักบริหารงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการคำนวณตามสูตรของ Krejcie และ Morgan (1970) โดยการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในลักษณะการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของผู้บริหารในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการเป็นพลเมืองดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบ รองลงมาคือด้านการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การมีวิสัยทัศน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการพัฒนาสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างมืออาชีพ 2) ประสิทธิผลของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ได้รับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการวางแผนงานด้านวิชาการ รองลงมาคือการนิเทศการศึกษา การจัดการเรียนการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารงานวิชาการได้อย่างเป็นระบบและตอบสนองต่อเป้าหมายของสถานศึกษา 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคดิจิทัลกับประสิทธิผลของการบริหารวิชาการ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุดคือการวางแผนงานด้านวิชาการ รองลงมาคือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศการศึกษา แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับยุคดิจิทัลจะสามารถขับเคลื่อนการบริหารวิชาการของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
ฐานะ บุญรอด และวสันต์ชัย กากแก้ว. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 1137-1150.
ธิษตยา ภิระบัน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. วิทยาลัยทองสุข : กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ทีคอม จังหวัดมหาสารคาม.
ประยงค์ ศรีโทมี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2556). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สาคร มหาหิงค์, บุญจักรวาล รอดบำเรอ และวิราภรณ์ ส่งแสง. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 1(4), 62-75.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หาญชัย เกียรติเฟื่องฟู, วิทยา จันทร์ศิลา และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). ความต้องการพัฒนาคุณลักษณะในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.trueplookpanya.com/education/content/52232 [15 มกราคม 2568].

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสถาบันพอดี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.