ปัญญาบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด
  • ชิสา กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

ปัญญา, บารมี, ปัญญาบารมี, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

        บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ปัญญาบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญญาบารมีในบริบทของมรรคมีองค์ 8 มีลักษณะที่มุ่งเน้นความสมดุลของการดำรงชีวิตอย่างไม่สุดโต่งทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นทางสายกลางที่มุ่งไปสู่ความดับทุกข์ 2. ปัญญาบารมีในบริบทของภาวนา 4 มีลักษณะที่มุ่งเน้นไปทางปัญญาปฏิบัติในเชิงจริยศาสตร์ เป็นเรื่องของการฝึกฝนจนเกิดความเคยชินเป็นอุปนิสัยติดตัวหรือเกิดเป็นคุณธรรมประจำใจทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีความดับทุกข์เป็นเป้าหมาย 3. ปัญญาบารมีในบริบทของพละ 5 มีลักษณะที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของพลังแห่งความเข้าใจที่สร้างความมั่นคงจากภายใน เติมเต็มสิ่งที่ขาดพร่องอันเนื่องมาจากการครอบงำของกิเลส เป็นพลังบารมีที่ช่วยสะสางความเศร้าหมองมืดมนให้สว่างไสว ตื่นออกจากความหลงผิด รู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรม เกิดความเบิกบานอันเกิดจากการดำรงตนไปสู่ความดับทุกข์ เกิดการพัฒนาตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นใจที่ตรงต่อธรรม มีความเพียรพยายาม มีสติ มีความมุ่งมั่น มีปัญญาในการแก้ปัญหาและพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง

References

ชิสา กันยาวิริยะ. (2567). หลักภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารสถาบันพอดี, 1(3), 9-20.

ปราโมช น้อยวัฒน์. (2549). พุทธการกธรรมทีปนี. สมุทรปราการ : ชมรมกัลยาณธรรม.

พระครูปทุมภาวนาจารย์ วิ. และเสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์. (2562). หลักภาวนา 4 กับการพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์ของวัยรุ่นไทยในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(1), 129-142.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2559). การพัฒนาจิต. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค

พระปลัดสมควร อธิปุญฺโญ. (2560). ศึกษาวิเคราะห์ปัญญาบารมีในฐานะเป็นปัจจัยเข้าถึงคุณธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(2), 64-75.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2547). หลักแม่บทของการพัฒนาตน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_________. (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร, ป.ธ.9). (2545). มุนีนาถทีปนี. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

พระสมุห์บุญฤทธิ์ มหาปุญโญ (ศรีวิชัย). (2563). หลักธรรมพละ 5 (ศรัทธาพละ) กับการเกื้อหนุนการปฏิบัติพระกรรมฐาน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 167-175.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2505). พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา,

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุนทร ณ รังสี. (2552). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2552). คู่มือปัญญาในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีย์ มีผลกิจ. (2541). พระพุทธประวัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.

ปัญญาบารมี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/30/2024