การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 9 : ทำให้ง่าย

ผู้แต่ง

  • ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ มูลนิธินพเฉลิมโรจน์

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้, หลักการทรงงานข้อที่ 9, ทำให้ง่าย

บทคัดย่อ

              บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 9 คือ “ทำให้ง่าย” ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ ผลการศึกษาพบว่าหลักการนี้เน้นการแก้ไขปัญหาโดยการทำให้กระบวนการและแนวทางการดำเนินงานเป็นไปอย่างเรียบง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การทำให้ง่ายไม่เพียงช่วยลดความซับซ้อนของปัญหา แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายระดับ ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับประเทศชาติ องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ 5 องค์ประกอบสู่การทำให้ง่าย ประกอบด้วย 1) ใช้ปัญญาเชิงระบบ 2) เชื่อมโยงกับธรรมชาติ 3) ผสานความรู้ท้องถิ่น 4) สื่อสารให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย และ 5) พึ่งพาตนเองได้ และบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

กรมชลประทาน. (2567). รายงานประจำปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.rid.go.th. [1 กันยายน 2567]

กีรติ บุญเจือ และคณะ.(2558). ลักษณะหลังนวยุคในทฤษฎีความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กีรติ บุญเจือ. (2560). ชุดปรัชญาสวนสุนันทา อรรถปริวรรตในปรัชญา ศาสนาและจริยศาสตร์ (ช่วงพหุนิยม). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เครือข่ายข้อมูลหญ้าแฝกประเทศไทยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2567). หญ้าแฝกคืออะไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://thvn.rdpb.go.th/index.php. [1 กันยายน 2567]

จอมพล พิมพิรุด. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บสารฝนหลวง กรณีศึกษา ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จักรกฤษณ์ แสงแก้ว และคณะ. (2558). การบูรณาการข้อมูลสารสนเทศระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาแบบจำลองพยากรณ์อากาศและโอกาสความสำเร็จ ในการปฏิบัติการฝนหลวง กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 13(1), 43-63.

ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์. (2565). องค์รวม : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(2), 222-230.

_________. (2567ก). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 1 : ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ. วารสารสถาบันพอดี, 1(1), 38-53.

_________. (2567ข). การประยุกต์ใช้หลักการทรงงานข้อที่ 4 : ทำตามลำดับขั้น. วารสารสถาบันพอดี, 1(4), 33-44.

มลธิดา อุบลรัตน์. (2565). การพัฒนาพื้นที่แก้มลิง. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 255-265.

เมธา หริมเทพาธิป และคณะ. (2566). ปัจจัยพลังอำนาจของชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพุทธมัคค์, 8(1), 42-53.

เมธา หริมเทพาธิป และรวิช ตาแก้ว. (2566). สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารพุทธมัคค์, 8(1), 54-65.

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การศึกษาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคนิยมสายกลาง : วิเคราะห์จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลเดช. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 4(1), 120-132.

วิรุจ กิจนันทวีวัฒน์. (2556). ครูธุรกิจศึกษากับการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(46), 25-39.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.

อาณัฏ ศิริพิชญ์ตระกูล และยุวดี พรธาราพงศ์. (2565). การจัดการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกสู่สากลตามแนวพระราชดำริ. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 21-31.

แผนภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/30/2024