วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci <div class="card-text"><strong><img src="https://so16.tci-thaijo.org/public/site/images/journalrcisnru/banner.png" /></strong></div> <div class="card-text"><strong><br /></strong><img src="https://so16.tci-thaijo.org/public/site/images/journalrcisnru/icon-jci-259ecfad3ece4e84ef5ab4cfb5367edc.jpg" alt="" width="270" height="382" /><br /><br /></div> <div class="card-text"><strong>วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร <br />Academic Journal of Curriculum and Instruction <br />Sakon Nakhon Rajabhat University</strong><br />วารสารฐาน TCI กลุ่ม 2 Thai Journal Citation Index (TCI) 2<br />ISSN : 2985-1963 (Print)<br />ISSN : 2985-1971 (Online)<br /><br /></div> <div class="card-text"><strong>วัตถุประสงค์</strong> <ul> <li>เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ งานวิจัย และบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ</li> <li>เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสรรค์สร้างองค์ความรู้ทางด้านหลักสูตรและการสอนสู่สังคม</li> </ul> <p><strong>ขอบเขต</strong></p> <p>รับตีพิมพ์บทความทางการศึกษา การเรียนการสอน อาทิเช่น หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) วิจัยหลักสูตรและการสอน (Research of Curriculum and Instruction) การวัดและประเมินผลการศึกษา (Measurement and Evaluation) การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Research and Development) วิทยาศาสตรศึกษา (Science Education) การสอนวิทยาศาสตร์ (Teaching Science) การสอนคณิตศาสตร์ (Mathematics) การวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Educational Research and Development) การสอนภาษาอังกฤษ (Teaching English) การสอนสังคมศึกษา (Teaching Social Studies) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (Other)</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่: 3 ฉบับ/ปี</strong><br />ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน เผยแพร่ พฤษภาคม<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม เผยแพร่ กันยายน<br />ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม เผยแพร่ มกราคม</p> <p><strong>ประเภทของการ Peer Review</strong></p> <p>ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double-blind peer review)</p> <p><strong>ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</strong></p> <p>ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียม</strong><br />เปิดรับบทความทั้งจากบุคคลภายในและบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร <br />บุคคลภายใน ต้องชำระค่าขอตีพิมพ์ในวารสาร 2,500 บาท ต่อ 1 บทความ <br />บุคคลภายนอก ต้องชำระค่าขอตีพิมพ์ในวารสาร 3,000 บาท ต่อ 1 บทความ</p> </div> Sakon Nakhon Rajabhat University th-TH วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2985-1963 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/997 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง การสุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบกลุ่ม จำนวน 18 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนแม่พริกวิทยา อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ แบบประเมินการปฏิบัติและผลงาน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.00/81.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> อนิรุจน์ มะโนธรรม ศิริมา เอมวงษ์ ธนวรกฤต โอฬารธนพร มัตติกา บุญมา ธนัชชา แสนปัญญา ณัฐธิดา สายเครือมอย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 1 7 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1006 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสมบูนอุดมวิไล นะคอนไกสอนพรมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent Samples t–test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ เรื่อง แสงเชิงเรขาคณิต โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประสิทธิภาพ 78.59/77.16 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือ 75/75</li> <li>ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิผลร้อยละ 60.91 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> ปาลินยา กานอลาด ธนานันต์ กุลไพบุตร วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 8 20 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1055 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดให้ข้อมูลการท่องเที่ยว สำหรับนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น และ 2) สำรวจความพึงพอใจต่อการใช้เนื้อหาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นรายวิชาเอกเลือก จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เนื้อหาท้องถิ่น 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูด และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน</p> <p><br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. คะแนนทักษะการพูดให้ข้อมูลการท่องเที่ยวหลังเรียนโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการพูดหลังเรียนเท่ากับ 12.66 ( = 12.66, S.D. = 3.21) และค่าเฉลี่ยของคะแนนพูดก่อนเรียน 10.37 ( = 10.37, S.D. = 2.54) จากผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การใช้เนื้อหาท้องถิ่นสอดแทรกในกระบวนการเรียนรู้ สามารถพัฒนาทักษะการพูดให้ข้อมูลการท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาได้ <br />2. นักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมีความพึงพอใจต่อการใช้เนื้อหาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะการพูดให้ข้อมูลการท่องเที่ยวภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเฉลี่ยเป็น 4.55 ( = 4.55, S.D. = 0.12) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการนำเอาเนื้อหาสถานที่ท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว อาหาร เทศกาล ประเพณีในท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเฉลี่ยเป็น 4.79 ( = 4.79, S.D. = 0.41) กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้ผ่านการใช้เนื้อหาท้องถิ่นช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจถึงวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดสกลนคร และการใช้เนื้อหาท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น</p> นภาไล ตาสาโรจน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 21 29 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/996 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลมากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า</span></p> <ol> <li><span style="font-weight: 400;"> ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.23/77.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้</span></li> <li><span style="font-weight: 400;"> ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้</span></li> <li><span style="font-weight: 400;"> ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</span></li> <li><span style="font-weight: 400;"> เจตคติต่อวิชาเคมีของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</span></li> </ol> เพ็ดสะหวัน เลืองลิด สำราญ กำจัดภัย ปุณฑริกา น้อยนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 30 40 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1007 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 5) ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียน และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีค่าเท่ากับ 79.44/80.42 ตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้</li> <li>ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับร้อยละ 57.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> มะไลสี สีแสงจัน ธนานันต์ กุลไพบุตร สำราญ กำจัดภัย Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 41 53 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1188 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดร้อยละ 75/75 2) หาประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น 4) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัล ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโพนทองประชาอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.39/89.66 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้</li> <li>กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิผลเท่ากับ 0.79 คิดเป็นร้อยละ 79 ผ่านเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> กฤษณี โฮมวงศ์ วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ ธนานันต์ กุลไพบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 54 65 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1196 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 และลงทะเบียนเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียนที่ 22 จำนวน 55 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent samples t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพ 83.90/82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดไว้</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.57)</li> </ol> คณารักษ์ ศรีสมบูรณ์ คณิศา โชติจันทึก ปริพัส ศรีสมบูรณ์ พุทธินันท์ นาคสุข Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 66 76 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1001 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับแนวคิดเมตาคอกนิชัน เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 4) เปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 75 5) เปรียบเทียบความสามารถด้านเมตาคอกนิชันของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 6) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) แบบวัดความสามารถด้านเมตาคอกนิชัน และ 5) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ชนิด Dependent samples t-test และชนิด One sample t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 78.61/79.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75</li> <li>ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเท่ากับร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ตั้งแต่ร้อยละ 50</li> <li>ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>ความสามารถด้านเมตาคอกนิชันของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> นิตยา ดอบุตร ธนานันต์ กุลไพบุตร ปุณฑริกา น้อยนนท์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 77 89 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1111 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา จํานวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TPACK Model แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) โดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ TPACK Model เรื่งศาสนาสากล อยู่ในระดับมาก(<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.44, S.D. = 0.61)</p> ฐิติมา บุตตะ โกสิทธิ์ คิดค้า อรนันต์ ศิริวงค์ วิมลสิริ จำนงค์นิจ ลลิตา มุงคุณ อดิเทพ เนินหงษ์ จีรวรรณ วงสุวรรณ์ นนทวรรณ แสนไพร Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 90 98 การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง Fun Sounds ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ ร่วมกับกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1154 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง Fun Sounds ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่มเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sammpling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้และแบบประเมินคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และ 3) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติที แบบ One-Sample t-test</p> <p> ผลการวิจัย ดังนี้</p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">1.การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ พบว่า<br /></span>1.1 มีขั้นตอนในการพัฒนา 7 ขั้นตามแนวทางของ Taba (1962) คือ 1) ศึกษาที่มาและความสำคัญของการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 2) กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ 3) คัดเลือกเนื้อหาเพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ 4) จัดระบบเนื้อหาการเรียนรู้ 5) ออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่ม 6) เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ 7) กำหนดแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้</p> <p>1.2 มีองค์ประกอบ คือ 1) ชื่อหน่วยการเรียนรู้ 2) มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด 3) สาระสำคัญ 4) สาระการเรียนรู้ 5) จุดประสงค์การเรียนรู้ 6) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 7) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8) ชิ้นงาน/ภาระงาน 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล 11) กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่ม 12) เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมงเรียน และ 13) บันทึกหลังการเรียนการสอน</p> <p>1.3 ผลการประเมินคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า มีคุณภาพดีมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.77, S.D. = 0.26)</p> กันต์ศุภณัช เกื้อกิ้ม อารี สาริปา กิตติศักดิ์ ใจอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 99 112 การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง งานบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิค 4MAT ร่วมกับเทคนิค LT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1190 <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ เรื่อง งานบำรุงรักษารถยนต์ด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิค 4MAT ร่วมกับเทคนิค LT สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างยนต์ ตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One-group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.50-0.70 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.40 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ E</span><span style="font-weight: 400;">1</span><span style="font-weight: 400;">/E</span><span style="font-weight: 400;">2</span><span style="font-weight: 400;"> และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) </span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเท่ากับ 92.87/89.33 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span></p> ธนากร ช่วยการ พนาสัณฑ์ ชูประพันธ์ เลิศพร อุดมพงษ์ ณรัณ ศรีวิหะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 113 122 การอ่านภาษาอังกฤษ: ความท้าทายใหม่ผ่านกลวิธีการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1023 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษในยุคดิจิทัล โดยมีจุดมุ่งหมายหลักสามประการ ได้แก่ (1) เปรียบเทียบกลวิธีการอ่านแบบดั้งเดิมกับกลวิธีการอ่านแบบดิจิทัล (2) ศึกษาข้อดีและความท้าทายของการใช้เทคโนโลยีในการอ่านภาษาอังกฤษ และ (3) เสนอแนวทางพัฒนาทักษะการอ่านให้มีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) การอ่านแบบดั้งเดิมส่งเสริมการใช้สมาธิและการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาได้ดีกว่า เนื่องจากผู้อ่านมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสื่อสิ่งพิมพ์ผ่านการจดบันทึก ขีดเน้น และทบทวนเนื้อหา ในขณะที่การอ่านแบบดิจิทัล แม้จะมีข้อดีด้านการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว แต่ผู้อ่านมักมีสมาธิสั้นลงและมีส่วนร่วมกับเนื้อหาน้อยกว่า เนื่องจากสิ่งเร้าและการรบกวนต่าง ๆ จากสื่อดิจิทัล (2) ข้อดีของการอ่านยุคดิจิทัลคือการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย แต่มีความท้าทายสำคัญ คือผลกระทบต่อสุขภาพตาจากการใช้หน้าจอเป็นเวลานาน และความเสี่ยงจากการได้รับข้อมูลมากเกินไปจนขาดการกลั่นกรองและวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ และ (3) แนวทางการพัฒนาทักษะการอ่านในยุคดิจิทัลควรเน้นการใช้กลยุทธ์การอ่านเชิงรุก เช่น การตั้งเป้าหมาย การวิเคราะห์เนื้อหาอย่างวิจารณญาณ และการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล พร้อมกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การจัดแสง การพักสายตา และการใช้เครื่องมือดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบเชิงลบในการอ่าน</p> พระนพดล ปันมะ พระมหามนตรี อธิการกันทร ธีรศักดิ์ แสนวังทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-31 2024-12-31 16 47 123 133