https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/issue/feed วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2025-05-20T00:00:00+07:00 รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย journal.rcisnru@gmail.com Open Journal Systems <div class="card-text"><strong><img src="https://so16.tci-thaijo.org/public/site/images/journalrcisnru/jci-1c96cd7e856e73c1fce768506c8218f4.jpg" /></strong></div> <div class="card-text"><strong>วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร <br />Academic Journal of Curriculum and Instruction <br />Sakon Nakhon Rajabhat University</strong></div> <div class="card-text"> </div> <div class="card-text">วารสารฐาน TCI กลุ่ม 2 Thai Journal Citation Index (TCI) 2<br />ISSN : 2985-1963 (Print)<br />ISSN : 2985-1971 (Online)<br /><br /></div> <div class="card-text"><strong>วัตถุประสงค์</strong> <ul> <li>เพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการ งานวิจัย และบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ</li> <li>เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการให้นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สนใจได้เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสรรค์สร้างองค์ความรู้ทางด้านหลักสูตรและการสอนสู่สังคม</li> </ul> <p><strong>ขอบเขต</strong></p> <p>รับตีพิมพ์บทความทางการศึกษา การเรียนการสอน อาทิเช่น หลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction) วิจัยหลักสูตรและการสอน (Research of Curriculum and Instruction) การวัดและประเมินผลการศึกษา (Measurement and Evaluation) การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Research and Development) วิทยาศาสตรศึกษา (Science Education) การสอนวิทยาศาสตร์ (Teaching Science) การสอนคณิตศาสตร์ (Mathematics) การวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Educational Research and Development) การสอนภาษาอังกฤษ (Teaching English) การสอนสังคมศึกษา (Teaching Social Studies) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (Other)</p> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่: 3 ฉบับ/ปี</strong><br />ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน เผยแพร่ พฤษภาคม<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม เผยแพร่ กันยายน<br />ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม เผยแพร่ มกราคม</p> <p><strong>ประเภทของการ Peer Review</strong></p> <p>ผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และ ผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double-blind peer review)</p> <p><strong>ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</strong></p> <p>ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินบทความ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียม</strong><br />เปิดรับบทความทั้งจากบุคคลภายในและบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร <br />บุคคลภายใน ต้องชำระค่าขอตีพิมพ์ในวารสาร 2,500 บาท ต่อ 1 บทความ <br />บุคคลภายนอก ต้องชำระค่าขอตีพิมพ์ในวารสาร 3,000 บาท ต่อ 1 บทความ</p> </div> https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1235 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ปริซึม เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2025-01-13T09:51:27+07:00 นารีรัตน์ สมหวัง gungnareerat@gmail.com สมถวิล ขันเขตต์ nareerat.sg66@ubru.ac.th ปริญา ปริพุฒ nareerat.sg66@ubru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ปริซึม เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเลิงนกทา จำนวน 1 ห้องเรียน โดยการสุ่มแบบกลุ่มจากหน่วยสุ่ม 22 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test)<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) ขั้นกำหนดสถานการณ์และความเข้าใจในสถานการณ์ (2) ขั้นลงมือปฏิบัติและเรียนรู้แนวคิดสำคัญ (3) ขั้นสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้กับสถานการณ์อื่น (4) ขั้นสร้างและหาผลลัพธ์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และ (5) ขั้นนำเสนอและตรวจสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.75, S.D. = 0.43) ตามผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ<br />2. ผลการเปรียบเทียบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ พบว่า <br />2.1 การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />2.2 การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละด้าน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.35, S.D. = 0.79)</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1244 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เรื่อง นิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ 2025-03-03T13:40:26+07:00 ณัฐฐินันท์ หนูสาย natthinannusai2711@gmail.com สตรีขวัญ อัมภา natthinannusai2711@gmail.com เลิศพร อุดมพงษ์ natthinannusai2711@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เรื่อง นิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของนักเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 29 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน ซึ่งผลประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ เป็นปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.65-0.80 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.20-0.50 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub></p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.45/83.62 เป็นไปตามเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนทั้งหมด และ 3) โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบแฮร์บาร์ตร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.48, S.D. = 0.66)</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1095 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 2025-01-13T10:07:25+07:00 สุวัชราพร สวยอารมณ์ suwatcharaporn.sauy@rru.ac.th ฐิติพร ดิศวนนท์ suwatcharaporn.sauy@rru.ac.th ปฐมา สุขทวี suwatcharaporn.sauy@rru.ac.th พัทธ์รดา ยาประเสริฐ suwatcharaporn.sauy@rru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2567 ที่เข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 162 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.906 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.87, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.23, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของคณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 4.05, S.D. = 0.13) และปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 3.45, S.D. = 0.31) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่านักศึกษาให้ความสำคัญในเรื่องของหลักสูตร ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน นอกจากนี้นักศึกษายังให้ความสำคัญในเรื่องภาพลักษณ์ของคณะ เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในอดีตเป็นวิทยาลัยครูที่มีชื่อเสียงมานานในจังหวัดฉะเชิงเทรา</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1254 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะ การเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2025-01-13T09:56:48+07:00 อรอุมา แจ่มจันทร์ 64h61440103@kru.ac.th พนิดา จารย์อุปการะ 64h61440103@kru.ac.th ราตรี แจ่มนิยม 64h61440103@kru.ac.th <p>บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในประเด็นต่อไปนี้ 3.1) เปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.2) ศึกษาความพึงพอใจที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 4) ประเมินและปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองกร่าง จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60–1.00 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน มีค่า IOCเท่ากับ 1.00 แบบฝึกทักษะสระเอีย สระเอือ และสระอัว มีค่า IOC เท่ากับ 0.80 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่า IOCตั้งแต่ 0.40–1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสะกัน(Dependent samples t-test)<br />ผลการวิจัย 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ รูปแบบ วิธีการ กรอบแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีประสิทธิภาพ 2) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 85.17/91.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อผสมร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่า 3.1) ทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเรียงลำดับความยากง่ายของคำ กิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม ส่งเสริมความกล้าแสดงออก ความมั่นใจ เตรียมพร้อมในการฝึกทักษะอย่างมีระบบสม่ำเสมอ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิผลมากขึ้น </p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1233 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2025-01-22T10:38:20+07:00 เลิศพร อุดมพงษ์ kasinee.nnot@gmail.com กฤติมา นวลเสน่ห์ kasinee.nnot@gmail.com เกศินี แตงเลี่ยน kasinee.nnot@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชา ช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD จำนวน 4 แผน ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีมาก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 ค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.43-0.78 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.25-0.75 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทางสถิติเปรียบเทียบกัน โดยใช้การทดสอบข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent)<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำสั่งพื้นฐานโปรแกรม AutoCAD ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี หลังเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05<br />2. ความพึงพอใจในการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี พบว่า ในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.58, S.D. = 0.34)</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1248 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธิดาแม่พระ กระบี่ 2025-01-13T10:03:29+07:00 กิจจา บานชื่น hhhhhhong2536@gmail.com ชนิสรา บัวแก้ว hhhhhhong2536@gmail.com ธนพล เมืองน้อย hhhhhhong2536@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธิดาแม่พระ กระบี่ จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เพลงประกอบการสอน แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำคล้องจอง โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.80/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเพลงประกอบการสอนร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" /> = 2.98, S.D. = 0.08)</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1216 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับคำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2025-01-23T14:05:26+07:00 สุพิชชา พิมพ์สาลี supitcha.ny@gmail.com พีชาณิกา เพชรสังข์ supitcha.ny@gmail.com ยุพิน ยืนยง supitcha.ny@gmail.com <p><span style="font-weight: 400;">การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดกับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ และ 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโตนดหลวง (สุขประสิทธิ์วิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ห้องเรียนละ 17 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิด จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 2) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.65-0.76 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.35-0.59 และค่าความเชื่อมั่น 0.76 3) แบบวัดพฤติกรรมการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.00 และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (</span><span style="font-weight: 400;">) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระกัน (Independent samples t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า</span></p> <ol> <li><span style="font-weight: 400;"> ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดสูงกว่านักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </span></li> <li><span style="font-weight: 400;"> พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดมีพฤติกรรมการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></li> <li><span style="font-weight: 400;"> พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับคำถามปลายเปิดมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถเขียนสรุปบทเรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยตนเอง</span></li> </ol> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1351 การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง 2025-01-31T13:19:02+07:00 ณรัช เจริญศิลป์ n.charoensilp@tnsu.ac.th ณภิญา เจริญศิลป์ n.charoensilp@tnsu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ และศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาพลศึกษา จำนวน 184 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ในช่วง 0.80-1.00 มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ<br />ผลการศึกษาพบว่า<br />1. สภาพที่เป็นจริงการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.61, S.D. = 0.58) สภาพที่คาดหวังการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98, S.D. = 0.66)<br />2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา เรียงลำดับความสำคัญ ได้ดังนี้ อันดับ 1 ด้านความรู้และสติปัญญา (PNImodified = 0.13) อันดับ 2 ด้านวาจาและการสื่อสาร (PNImodified = 0.12) อันดับ 3 ด้านความสนใจและพัฒนาตนเอง และด้านอารมณ์ (PNImodified = 0.10) และ อันดับ 5 ด้านการปรับตัว และด้านกายภาพ (PNImodified = 0.09)<br />3. แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพครูพลศึกษายุคใหม่ของนักศึกษาสาขาพลศึกษา มี 2 ด้าน คือ ด้านความรู้และสติปัญญา และด้านวาจาและการสื่อสาร</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1397 การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2025-03-03T15:55:56+07:00 อรปรียา พระสว่าง mint23422342@gmail.com พัทธนันท์ ชมภูนุช mint23422342@gmail.com ธนานันต์ กุลไพบุตร mint23422342@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนส่องดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 23 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ จำนวน 8 ชุด 2) คู่มือประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบทดสอบ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 85.87/80.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้</li> <li>ความสามารถในการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังกราฟิกอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.86, S.D. = 0.32)</li> </ol> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1335 ผลการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม ที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย และคุณลักษณะผู้เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2025-02-07T11:51:41+07:00 กนกกาญจน์ โทแก้ว minttk1822@gmail.com สิรินาถ จงกลกลาง minttk1822@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม ก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 5) ศึกษาคุณลักษณะผู้เรียนรู้ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 ห้องเรียนพิเศษโครงการภาษาอังกฤษ (EP) โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จํานวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการอ่านภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาไทย และแบบสังเกตคุณลักษณะผู้เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการเขียนภาษาไทยจากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) คุณลักษณะผู้เรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับเกม อยู่ในระดับมาก</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1370 การศึกษาผลการพัฒนาความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 2025-03-03T16:08:06+07:00 ปิยภัทร พลับพลา piyapatr31@gmail.com ภัทราพรรณ วรรณประเสริฐ piyapatr31@gmail.com <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก ระหว่างก่อนและหลังการอบรม และ 2) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44-0.72 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.66 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และ 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.82-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Paired samples t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหลานรัก อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{X}" alt="equation" />= 4.88, S.D. = 0.56)</li> </ol> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1151 The ค่านิยม 8H ของการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ 2025-01-14T17:56:04+07:00 สุนันทา สถาพรวลัยรัตน์ sunanta.lee@g.swu.ac.th กิตติชัย สุธาสิโนบล sunanta.lee@g.swu.ac.th <p>ค่านิยม 8H ประกอบด้วย ความรักแท้ (Heart) ความดีงาม (Holy) ความซื่อสัตย์ (Honest) ความเคารพในเกียรติศักดิ์ศรี (Honor) ความสุภาพ (Humble) ความเป็นพี่น้องและเป็นหนึ่งเดียวกัน (Home) ความหวัง (Hope) และความเมตตากรุณา (Hospitality) ถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลและสังคม โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่สังคมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม ค่านิยมเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม สถานศึกษามีบทบาทชัดเจนในการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ โดยมุ่งเน้นการบ่มเพาะลักษณะนิสัยที่ดี การปลูกฝังจิตสำนึกทางสังคม และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ</p> <p> การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งทักษะการปรับตัว ทักษะชีวิต และคุณลักษณะที่สำคัญ เช่น คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และพร้อมเผชิญกับความท้าทายของโลกยุคใหม่ ดังนั้น การนำค่านิยม 8H มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งทางวิชาการและคุณธรรม</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1255 การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนอย่างไร ในยุค Digital Transformation 2025-02-07T11:56:24+07:00 ชนิดาภา พึ่งหลวง chanidapha.pang@gmail.com กิตติชัย สุธาสิโนบล chanidapha@g.swu.ac.th <p>ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ รวมถึงการศึกษา ทำให้การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในอดีตจะเป็นการเรียนแบบท่องจำตัวอักษรและจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ มีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ในการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรมของจีนผ่านการใช้เทคนิคที่เหมาะสม องค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนรู้ภาษาจีน ประกอบไปด้วยจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรและเนื้อหา วิธีการจัดการเรียนรู้ที่รวมไปถึงผู้สอน ผู้เรียน สื่อการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ผู้สอนควรใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายโดยการใช้สื่อการเรียนรู้ การสื่อสารออนไลน์ การใช้เครื่องมือการเรียนรู้ที่เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการเรียน และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องมีความยืดหยุ่น เข้าถึงได้ง่าย มีแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากขึ้น และในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนควรมีทั้งการประเมินผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ควรมีความหลากหลายและแม่นยำ เพื่อช่วยให้รู้ถึงความก้าวหน้าของผู้เรียน ทำให้สามารถพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมควรมีความน่าสนใจเพื่อให้ผู้เรียนสนุกสนานไปกับการเรียนภาษาจีนผ่านการใช้เทคโนโลยี เช่น กิจกรรมการเล่นเกมภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้แอปพลิเคชันการศึกษาที่เกี่ยวกับภาษาจีน กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน กิจกรรมการอ่านและการฟังภาษาจีนออนไลน์ และกิจกรรมการทดสอบภาษาจีนออนไลน์ ซึ่งสามารถพัฒนาทักษะภาษาจีนได้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนผ่านการใช้เครื่องมือและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนสามารถฝึกฝนภาษาจีนได้อย่างมีความสุข</p> <p> การจัดการเรียนรู้ภาษาจีนในยุค Digital Transformation เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านการใช้สื่อ แพลตฟอร์มออนไลน์ และแอปพลิเคชันการเรียนภาษาจีน ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาตามความต้องการ สามารถฝึกฝนทักษะได้ในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้เทคโนโลยีดิจิทัลยังช่วยพัฒนาทักษะทางการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และยังสามารถใช้ในการประเมินผลและการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาจีนของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ภาษาจีนในยุค Digital Transformation ควรนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้การเรียนรู้มีความยืดหยุ่น เข้าถึงได้ง่าย และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและโลกในยุคดิจิทัล</p> 2025-05-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร