การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • อนิรุจน์ มะโนธรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง,
  • ศิริมา เอมวงษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ธนวรกฤต โอฬารธนพร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • มัตติกา บุญมา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ธนัชชา แสนปัญญา โรงเรียนแม่พริกวิทยา จังหวัดลําปาง
  • ณัฐธิดา สายเครือมอย โรงเรียนแม่พริกวิทยา จังหวัดลําปาง

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง การสุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบกลุ่ม จำนวน 18 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนแม่พริกวิทยา อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ แบบประเมินการปฏิบัติและผลงาน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.00/81.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนาพร จันทร์ฤทธิ์. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(2), 15-27.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนมน ตั้งพิทักษ์ไกร, เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์ และสุชาวดี เกษมณี. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (การงานอาชีพ 1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(3), 158-167.

ณัฐวรรณ ลาสิทธิ์, อุษา ปราบหงษ์ และธนานันต์ กุลไพบุตร. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิก เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(43), 141-148.

ดาวรถา วีระพันธ์ และชญาภา บาลไธสง. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 52-63.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, บุณยวีร์ โชคประเสริฐสม, ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์, อาจารีย์ ประจวบเหมาะ และพรรณา พุนพิน. (2562). การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาทฤษฎีพฤติกรรมองค์การเปรียบเทียบไทย-ญี่ปุ่น ของนักศึกษาหลักสูตรการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, 6(2), 82-96.

วลิดา อุ่นเรือน. (2564). การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับผู้เรียน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(2), 124-136.

วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์. (2562). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: อยู่รอดแม้จุดยืนมนุษย์สั่นคลอน ในโลกดิจิทัลที่ไม่ย้อนกลับหลัง. เข้าถึงได้จาก https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/21st-centuryskills.html 30 มิถุนายน 2567.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม. เข้าถึงได้จาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการรวมพลังทำงาน/30 มิถุนายน 2567.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต. เข้าถึงได้จาก https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-4-สร้างหลักป/ 30 มิถุนายน 2567.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

David W. J., Roger T. J., & Karl A. S. (2014). Cooperative Learning: Improving University Instruction by Basing Practice on Validated Theory. Joural on Excellence in College Teching, 25(3&4), 85-117.

Marjan L., & Mozhgan L. (2012). Collaborative Learning: What Is It?. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 31, 491-495.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

มะโนธรรม อ., เอมวงษ์ ศ., โอฬารธนพร ธ., บุญมา ม., แสนปัญญา ธ., & สายเครือมอย ณ. (2024). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(47), 1–7. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/997