การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • คณารักษ์ ศรีสมบูรณ์ คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • คณิศา โชติจันทึก ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปริพัส ศรีสมบูรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • พุทธินันท์ นาคสุข คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน , แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน , บทเรียนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 และลงทะเบียนเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเรียนที่ 22 จำนวน 55 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent samples t-test

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสิทธิภาพ 83.90/82.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง มลพิษสิ่งแวดล้อม รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.57)

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning : การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง พ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์. (2565). ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom): การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคความปกติถัดไป (Next Normal). วารสารราชพฤกษ์, 20(2), 1-15.

ชูชีพ เขียวอุบล. (2566). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการวิเคราะห์แรง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 46(2), 19-36.

ธัญจิรา เฉลยทิศ. (2566). การพัฒนาโมชันกราฟิก เรื่อง ไวยากรณ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนและสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 8(1), 31-42.

พงษ์ลัดดา ปัญญาจิรวุฒิ และวันวิสาห์ ปัญญาจิรวุฒิ. (2566). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ร่วมสมัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(1), 204-221.

เบญจพร ตีระวัฒนานนท์, ดวงพร ธรรมะ และดำรัส อ่อนเฉวียง. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิก โดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(2), 16-30.

ปัทวรรณ ประทุมดี และกันยารัตน์ สอนสุภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่องการเคลื่อนที่ 2 มิติ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(2), 163-209.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์.

ยงยุทธ ขุนแสง และชุติมา ขุนแสง. (2565). การออกแบบบทเรียนออนไลน์บนเครือข่าย Google Classroom โดยใช้รูปแบบการสอนเชิงระบบ ADDIE Model ในระดับประถมศึกษา. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 5(2), 79-81.

วิเชษฐ์ นันทะศรี และอัจฉรา นันทะศร. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ตามแผนการสอนฐานสมรรถนะโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิงร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Journal of Information and Learning, 34(1), 98-110.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566

(ไตรมาส 4). เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2024/20240229135937_44161. pdf18 มิถุนายน 2567.

อชิตพล มีมุ้ย. (2564). การพัฒนาอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(2), 30-41.

อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์. (2565). ประสิทธิผลของการเรียนการสอนแบบหองเรียนกลับด้านผ่านการเรียนรู้ออนไลน์ในรายวิชา IST20 1003 ทักษะชีวิต ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 9(2), 23-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ศรีสมบูรณ์ ค., โชติจันทึก ค., ศรีสมบูรณ์ ป., & นาคสุข พ. (2024). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน รายวิชามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(47), 66–76. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/jci/article/view/1196