การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน, ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้, รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TPACK MODEL, ศาสนาสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ TPACK Model เรื่อง ศาสนาสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา จํานวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ TPACK Model แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) โดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ TPACK Model เรื่งศาสนาสากล อยู่ในระดับมาก(= 4.44, S.D. = 0.61)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เข้าถึงได้จากhttps://www.ipst.ac.th/wp-content/uploads/2021/04/IndicatorMath2560.pdf 14 สิงหาคม 2567.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2561). มุมมองอาจารย์ 'มศว' ต่อปฏิรูปสอนพุทธใน ร.ร. สพฐ. มีสติศึกษาเป็นฐาน. เข้าถึงได้จากhttps://www.banmuang.co.th/news/education/ 15 สิงหาคม 2567.
จันทมณี สระทองหน และจรินทร อุ่มไกร. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบ TPACK MODEL โดยการใช้การสอนแบบเสมือนจริง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลกำแพงแสน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ,
(2), 42-47.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม (2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. วารสารภาษาปริทัศน์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(33), 15-20.
ธัชไท กีรติพงศ์ไพบูลย์. (2565). พลิกโฉมประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13. เข้าถึงได้จาก https://theactive.net/read/new-development-plan/ 14 กันยายน 2567.
ธัญญาเรศ หมื่นไกร, กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ และภาสชัย แถบกําปัง. (2564). ประกอบเกมการสอน: การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนพิธีของศาสนาสากล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนโยธินบูรณะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นัติเทพ การิเทพ. (2558). กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของอาจารย์เกียรติ เอกศิลปะ. มหาสารคาม: วิทยาลัยตุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรชัย อินทร์ฉาย. (2565). สมรรถนะสำคัญของครูในยุค VUCA. ใน การประชุมวิชาการโรงเรียนคุณภาพ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. ประจำปี 2565. วันที่ 14 กันยายน 2565. กรุงเทพฯ:
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). เข้าถึงได้จาก https://www.ipst.ac.th/news/32885/20220914-vuca-smt.html 14 สิงหาคม 2567.
พรทิพย์ สายแวว. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องโน้ตดนตรีสากล ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ไพศาล วรคำ. (2558). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
ลิลลา อดุลยศาสน์ และสุภา ยธิกุล. (2560). การพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 “สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน ในยุค Thailand 4.0”. วันที่ 18 ตุลาคม 2560 (หน้า 1549-1561). ยะลา: มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.
ลิลลา อดุลยศาสน์. (2561). ผลของการพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 115-128.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566–2570 (ฉบับปรับปรุงตามผลการรับฟังความเห็นจากประชาชน) สำนักนายกรัฐมนตรี. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdb.go.th 14 กันยายน 2567.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2008). Introducing TPCK, citing in AACTE Committee on Innovation and Technology, eds. Handbook of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPCK) for Educators. Routledge, New York:Washington, DC.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.