การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ , การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD , วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MATบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ตรวจสอบประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผลมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 5) ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียน และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีค่าเท่ากับ 79.44/80.42 ตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
- ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับร้อยละ 57.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2559). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เวียงจันทร์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.
ขวัญชนก สุนทรสุข. (2561). รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์. สมุทรปราการ: โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว.
จารุวรรณ ปะกิคา. (2561). พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชันและคุณลักษณะความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD.วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิพวรรณ ศิลปวัฒนาพร. (2559). การศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
นันทิกานต์ บุญลี. (2564). ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นันทิยา พรมทา. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ร่วมกับเทคนิคการใช้คําถามตามแนวคิดของบลูม เรื่องทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิรันดร เพชรคำ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง “ลำดับและอนุกรม” ตามคอนสตรัคติวิสต์ด้วยเทคนิค STAD สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุตรญรัตน์ วันโส. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภูษิต สุวรรณราช. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต. (2566). บทสรุปผลการเรียนประจำปีการศึกษา 2566 ของนักเรียนโรงเรียน มัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต. สะหวันนะเขต: โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต
วิการณ์ แก้วมะ. (2558). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิไลลักษณ์ ลังกา. (2562). กระบวนการบ่มเพาะคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครูครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภาวดี หัดที. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ แบบ 4MAT เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
McCarthy, B. (1997). A Tale of Four learners: 4 MAT's Learning Styles. Educational Leadership, 54(3), 46–51.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning : theory, research and practice. Massachusetts: Needham Hieghts.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.