https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/issue/feed
วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์
2024-08-30T00:00:00+07:00
รองศาสตราจารย์สิทธิพันธ์ พุทธหุน
ramjournalpa@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ <br />มีกำหนดออกเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ </strong><br />วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวารสารทางวิชาการที่โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งในรูปของบทความวิจัย บทความทางวิชาการ บทความปริทรรศน์ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยและบุคคลทั่วไปทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาที่สัมพันธ์ เช่น สังคมวิทยา สังคมวิทยาการเมือง ปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมืองสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการศึกษา โดยบทความที่จะได้ตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาแบบ Double blinded จากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันจำนวน 3 คน และรูปแบบจะต้องเป็นไปตามที่วารสารกำหนด<br /><br /></p> <p><strong>ทั้งนี้ วารสารฉบับนี้ เป็นวารสารที่ผ่าน <a href="https://tci-thailand.org/?p=4801">การรับรองคุณภาพของ TCI</a> ประจำปี 2563 (จนถึง 31 ธันวาคม 2567) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI วารสารกลุ่มที่ 2</strong> </p>
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/601
กลยุทธ์การหาเสียงของพรรคการเมืองกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
2024-05-07T11:39:35+07:00
ปวีร์ เปาริก
dedelovecheangmai@hotmail.com
<p>ปัจจุบันรูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งต้องอาศัยกลยุทธ์และนโยบายที่มีคุณภาพและเข้าถึงประชาชนเพื่อช่วยให้พรรคการเมืองและนักการเมืองประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันนโยบายพรรคการเมืองที่นำเสนอต่อประชาชนจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย ดังนั้นโอกาสที่พรรคการเมืองและนักการเมืองจะประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง กลยุทธ์และนโยบายการหาเสียงจะต้องเข้าถึงและตรงใจประชาชนมากที่สุด พรรคการเมืองจะต้องศึกษากลยุทธ์ ทฤษฎีทางการเมืองต่างๆ รวมถึงการนำเทคโนโลยี สื่อออนไลน์หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ทันสมัย มาปรับใช้เพื่อช่วยในการหาเสียง ซึ่งรวมถึงการหาเสียงในรูปแบบท้องถิ่นนิยมของนักการเมืองบางพื้นที่ เช่น เป็นผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ความเป็นตระกูลนักการเมือง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการหาเสียง แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การหาเสียง รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของรูปแบบการหาเสียงของพรรคการเมือง โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พรรคการเมืองนำข้อมูลศึกษา วิเคราะห์ และปรับใช้กับนโยบายพรรคที่ตรงกับความต้องการของประชาชนทุกสาขาอาชีพอย่างแท้จริง และนโยบายจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีความทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย ซึ่งสุดท้ายแล้ว การได้มาซึ่งนโยบายที่ดีมีคุณภาพ นอกจากประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงแล้ว นโยบายเหล่านี้จะสามารถช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปในทิศทางที่เหมาะสมเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่มีคุณภาพก็อาจจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ และอาจได้รับโอกาสเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศได้ในที่สุด</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ปวีร์ เปาริก
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/597
การนำองค์กรของผู้บริหารต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
2024-05-03T12:31:28+07:00
เธียรรัตน์ ประยูรเวชช์
trp_pv@hotmail.com
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
theppasak.boo@stou.ac.th
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการนำองค์กรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (2) ประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (3) อิทธิพลการนำองค์กรของผู้บริหารต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารระดับสูงและกลุ่มผู้บริหารระดับ/คณะ/วิทยาลัยใช้การศึกษาจากประชากรทั้งหมดรวม 24 คน กลุ่มผู้บริหารระดับกองและเทียบเท่าจำนวน 66 คน มาจากกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน รวมทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการนำองค์กรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในภาพรวมเท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ระดับประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ในภาพรวมเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้แก่ ปัจจัยด้านพันธกิจและการดำเนินงาน และปัจจัยด้านการสร้างประโยชน์ให้สังคม</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 เธียรรัตน์ ประยูรเวชช์ , เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/539
บทบาทคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมือง
2024-04-23T11:11:03+07:00
ชานนท์ ดาหลาย
chanonkantang@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - 2566 (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและพรรคการเมือง (3) เพื่อศึกษาแนวทางของพรรคการเมืองต่อการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพนำ ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นักการเมือง นักวิชาการและผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วราชอาณาจักรโดยใช้แบบสอบถาม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกับนักการเมืองในลักษณะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ กล่าวคือ พรรคการเมืองได้คะแนนนิยมจากสังคมมุสลิม และสังคมมุสลิมได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายทางการเมือง และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอิทธิพลกับพรรคการเมือง แบบไม่เป็นทางการมากกว่าแบบเป็นทางการ โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อการติดต่อสื่อสารกัน สำหรับแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมืองควรใช้หลักการชูรอ (การปรึกษาหารือกัน) ในการมีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามให้กับพรรคการเมือง</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ชานนท์ ดาหลาย
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/589
กระบวนการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้บริบทการเมืองไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566
2024-05-23T13:27:38+07:00
กรัณยพร ปลั่งดี
karunyaporn@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง กระบวนการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้บริบทการเมืองไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา (1) ตัวตนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลและเศรษฐกิจไทย (2) ที่มาของหนี้และความพยายามฟื้นฟูกิจการก่อนเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ (3) แผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลจากเอกสาร และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสายการบินแห่งชาติของไทย มีการถือหุ้นของกระทรวงการคลังและการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ภายใต้โครงสร้างการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2562 นำโดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าสู่กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวมีภาระหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ส่งผลให้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 รัฐบาลจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เท่าที่ควร</p> <p>บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ปรับโครงสร้างหนี้ (2) ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างองค์กรและหน่วยงาน โดยศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะสามารถฟื้นฟูกิจการได้ ด้วยศักยภาพของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และนโยบายหลักของรัฐบาล นำโดยนายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรีที่กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและการยกเลิกวีซ่านักท่องเที่ยว และสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ธุรกิจสายการบินเริ่มกลับมามีแนวโน้นที่ดีขึ้น</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 กรัณยพร ปลั่งดี
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/604
การนำนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ
2024-05-25T11:51:13+07:00
ณัฐริณีย์ มีมาก
nattharineemeemark@gmail.com
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ 3) เพื่อศึกษาผลของการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research) โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนำนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลไปปฏิบัติมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วยการกำหนดนโยบายถูกกำหนดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การแปลงนโยบายเป็นโครงการ หรือกิจกรรมโดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลนโยบาย และการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำนโยบายลงไปปฏิบัติในพื้นที่</p> <p><strong> </strong>ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติมี 5 ด้านดังนี้ 1)วัตถุประสงค์ และมาตรฐานของนโยบาย 2) ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบาย 3) ลักษณะหน่วยงานที่นํานโยบายไปปฏิบัติ 4) ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ 5) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขทางสังคม และเงื่อนไขทางการเมือง ส่วนผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ มี 3 ด้านดังนี้ 1) ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย 2) ความมั่นคงทางจิตวิญญาณ และ 3) การยอมรับความมีตัวตนและวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ณัฐริณีย์ มีมาก
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/751
ทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2024-06-22T15:25:42+07:00
จักรภพ ศรมณี
jackrapop@yahoo.com
สิทธิพันธ์ พุทธหุน
sittipan28@gmail.com
เฉลิมพล ศรีหงษ์
chalermpol9944@gmail.com
เดช อุณหะจิรังรักษ์
dej2498@yahoo.com
<p>บทความวิจัยเรื่อง “ทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง”<strong> </strong>โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยคำถามทั้งแบบปลายปิดและแบบปลายเปิดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำนวน 50 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในโครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 16 <strong> </strong>โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ สาขาวิชาที่จบในระดับปริญญาตรี อายุ อายุงาน ภูมิลำเนากับทัศนคติทางการเมือง และเพื่อศึกษาทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาในภาพรวม ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างอายุของกลุ่มตัวอย่างกับทัศนคติทางการเมือง แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างอายุงาน เพศ สาขาวิชาที่จบในระดับปริญญาตรี และภูมิลำเนากับทัศนคติทางการเมือง เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่ามีทัศนคติทางการเมืองในภาพรวมคือ เป็นกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย = 3.31 แต่ถ้าพิจารณาแยกตามตัวชี้วัดเป็นรายตัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติทางการเมืองที่เป็นกลางใน 4 เรื่อง ได้แก่ แนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่มีคะแนนเฉลี่ย = 3.22 ค่านิยมเรื่องหลักแห่งความเท่าเทียมกันที่มีคะแนนเฉลี่ย = 2.94 ค่านิยมเรื่องหลักเหตุผลนิยมที่มีคะแนนเฉลี่ย = 3.26 และค่านิยมเรื่องหลักสากลนิยมที่มีคะแนนเฉลี่ย = 3.00 ส่วนค่านิยมเรื่องหลักมนุษยนิยมนั้นมีคะแนนเฉลี่ย = 4.09 กลุ่มตัวอย่างจึงมีทัศนคติทางการเมืองเป็นเสรีนิยม </p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 จักรภพ ศรมณี, สิทธิพันธ์ พุทธหุน, เฉลิมพล ศรีหงษ์, เดช อุณหะจิรังรักษ์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/801
พลังความมหาศาล: การนำใช้ปรัชญาสุนทรียศาสตร์เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์
2024-06-28T11:50:43+07:00
สิริยา จิตพิมลมาศ
siriyaj@gmail.com
กมล เผ่าสวัสดิ์
Kamol.ph@chula.ac.th
เกษม เพ็ญภินันท์
monsieurkasem@yahoo.com
<p><em>พลังความมหาศาล</em> เป็นศิลปะวิดีทัศน์จัดวางที่นำมโนทัศน์ความงามอันหาที่เปรียบมิได้ของอิมมานูเอล ค้านท์ มาสร้างประสบการณ์เชิงสุนทรียศาสตร์ผ่านวัตถุศิลปะ โดยนำเสนอปรากฏการณ์ธรรมชาติผ่านหน้าจอ Cycloramic ขนาด 14 x 5 เมตร ด้วยเทคนิค Video Projection วิดีทัศน์เป็นภาพซูมช้า ๆ เข้าสู่ใจกลางพายุสายฟ้าที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ เพื่อสู่ความอนันตภาพ โดยมีความน่าสะพรึงกลัวของสายฟ้า พลังพสุธากัมปนาท และบรรยากาศเสียงสายลมพายุ ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการเผชิญหน้ากับพายุบนยอดอาคารสูงระฟ้า ประสบการณ์เหล่านี้ได้เผยออกให้เห็นความไร้ขอบเขตและความกว้างใหญ่ไพศาล ในขณะที่ความรู้สึกน่าสะพรึงกลัวถูกปกคลุมด้วยพลังอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากความประหวั่นพรั่นพรึงและความวิตกกังวลต่อพลังการทำลายล้างอันมหาศาล สภาวการณ์ที่ความงามอันหาที่เปรียบมิได้ที่ปรากฏขึ้นนี้ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์เชิงเสมือนจริงและประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ขึ้น ในขณะที่ความรู้สึกรื่นรมย์ต่อสภาวการณ์ดังกล่าวก็ปรากฏให้เห็นในงานศิลปะ และจินตนาการที่เป็นอิสระไร้ขอบเขต บทความวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์กระบวนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสร้างความกระจ่างให้กับชุดประสบการณ์ซับไลม์ 2. การทบทวนปรัชญาสุนทรียศาสตร์ซับไลม์และกรณีศึกษาศิลปกรรมร่วมสมัย 3. การวิเคราะห์ประสบการณ์ผ่านระบบปรัชญาสุนทรียศาสร์ซับไลม์ของค้านท์ 4. การนำสร้างมโนทัศน์ของการสร้างสรรค์วัตถุเชิงสุนทรียะ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการวิจัยที่นำใช้ปรัชญาสุนทรียศาสตร์เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์มีสัมฤทธิผล โดยสามารถสร้างความกระจ่างชัดให้กับประสบการณ์อัตวิสัย ผ่านระบบสุนทรียศาสตร์ซับไลม์พลวัตและคณิตศาสตร์ของอิมมานูเอล ค้านท์ เกิดเป็นการวิเคราะห์ประสบการณ์อย่างเป็นระบบและสามารถนำสร้างมโนทัศน์ในการสร้างสรรค์งานได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยการกระตุ้นเร้าจินตนาชุดความรู้สึกอัตวิสัยเกี่ยวกับความซับไลม์ให้กับผู้รับชม</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สิริยา จิตพิมลมาศ, กมล เผ่าสวัสดิ์, เกษม เพ็ญภินันท์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/552
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน : กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
2024-05-07T11:35:07+07:00
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ
p.wirayut@gmail.com
ศรีสกุล โกมลโรจน์
seesakun.k@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไร้แผ่นดิน กรณีศึกษา หมู่ที่สอง ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ใช้แนวทางในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นประชากรในหมู่บ้านไร้แผ่นดินและองค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน จำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและรวบรวมข้อมูลเจากเอกสารต่างๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) สาเหตุของปัญหาขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ สาเหตุจากปัจจัยภายในชุมชน และสาเหตุจากปัจจัยภายนอกชุมชน นอกจากนี้ยังพบอุปสรรคในการจัดการขยะจากของภาครัฐอีกด้วยในเรื่องของงบประมาณ การขาดความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง รวมถึงราคาการรับซื้อขยะพลาสติกที่ค่อนข้างต่ำส่งผลให้ชาวบ้านขาดความกระตือรือร้นในการแยกขยะมูลฝอย (2) แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า เกิดจากการรวมพลังเพื่อพัฒนาชุมชนเป็นสำคัญ และควรเพิ่มการให้ความรู้ในด้านการจัดการขยะตามลำดับขั้น เพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะจากต้นทางจนถึงปลายทาง อีกทั้งควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการตรวจสอบและประเมินผลด้านการทำงาน และควรร่วมดำเนินการจัดการขยะตามแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และประชาชนเพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยในหมู่บ้านไร้แผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ, ศรีสกุล โกมลโรจน์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/540
แนวคิดและอุดมการณ์ที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของพรรคการเมืองไทย ระหว่างปี 2544-2566
2024-04-26T11:44:24+07:00
ประสพโชค บุญมี
thaigovernment1970@gmail.com
ณัฐพงศ์ บุญเหลือ
nboonunp@gmail.com
เกรียงชัย ปึงประวัติ
kriangchai@ru.ac.th
นิพนธ์ โซะเฮง
musa1234@yahoo.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและอุดมการณ์ของพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย (3) จัดทำเสนอแนะสำหรับพรรคการเมืองที่เหมาะสมกับบริบทสังคมการเมืองไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและข้อมูลแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า (1) อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยนับจากปี 2543 เป็นต้นมาแบ่งกลุ่มพรรคการเมืองที่มีแนวอุดมการณ์ได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย แนวเสรีนิยมใหม่ แนวสังคมนิยมประชาธิปไตย แนวอนุรักษ์นิยม ทั้งนี้ประเภทหลังแบ่งย่อยได้เป็น อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพ อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์ อนุรักษ์นิยมแนวอำนาจนิยม และอนุรักษ์นิยมขวาใหม่ (2) อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยนับจากปี 2543 มีลักษณะที่เด่นชัดมากขึ้นเป็นผลจากการการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 ที่มีเป้าหมายให้เกิดการปฏิรูปการเมืองด้วยแนวทางการส่งเสริมให้เกิดระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพทางการเมืองและแก้ปัญหาการเมืองอ่อนแอจากระบบรัฐบาลผสมหลายพรรค มีผลทำให้พรรคการเมืองมีการปรับตัวครั้งใหญ่ด้วยการนำเสนอนโยบายและภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองที่มีความเด่นชัดทั้งในด้านแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง ในขณะที่บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และ 2560 มีผลทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ (3) อุดมการณ์ทางการเมืองแนวเสรีนิยมใหม่ ปรากฏผ่านนโยบาย พฤติกรรมทางการเมือง และการบริหารประเทศของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งปี 2544 เป็นต้นมา มีผลต่อความสำเร็จทั้งทางตรงและทางอ้อมในการเลือกตั้ง และแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยมีผลความสำเร็จในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี 2562 และ 2566 ในขณะที่อุดมการณ์แนวอนุรักษ์นิยมขวาใหม่มีผลต่อความสำเร็จทางการเมืองในการเลือกตั้งปี 2562 ข้อค้นพบของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากพรรคการเมืองต้องการประสบความสำเร็จทางการเมืองจำเป็นต้องนำเสนอแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความเด่นชัดและต้องสอดคล้องความต้องการของประชาชนต้องปรากฏผ่านนโยบายพรรค พฤติกรรมทางการเมืองของพรรคและนักการเมืองที่เป็นทั้งผู้บริหารและสมาชิกของพรรค</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ประสพโชค บุญมี, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ, เกรียงชัย ปึงประวัติ, นิพนธ์ โซะเฮง
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/870
การจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
2024-07-11T12:23:11+07:00
ปพนวิช เข็มพิลา
6514832033@rumail.ru.ac.th
ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์
supatra.rs.303@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการจัดการความรู้ที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครมีกระบวนการที่มุ่งเน้นการจัดการความรู้ให้เป็นระบบเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานจริง เป็นการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในองค์การจากบุคคลสู่บุคคล เพื่อให้เกิดประโยชน์และสามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครมีกระบวนการในการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน คือ 1.การบ่งชี้ความรู้ 2.การสร้างและแสวงหาความรู้ 3.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4.การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5.การเข้าถึงความรู้ 6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7.การเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้บุคลากรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยง่าย และนำองค์ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความรู้ของสำนักงบประมาณกรุงเทพฯ คือ 1.ปัญหาจากความหลากหลายของบุคลากร ทำให้การจัดการความรู้ที่เหมาะสมแต่ละบุคคลในองค์การเป็นไปได้ยาก 2.ปัญหาการจัดเก็บและการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ภายในองค์การอย่างละเอียดในภาพรวม 3.ปัญหาการถ่ายทอดความรู้ที่ยังขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในงานที่อยู่ในตัวบุคคล 4.ปัญหาปริมาณงานและระยะเวลาการปฏิบัติที่จำกัด 5.ปัญหาการสื่อสารและการบริหารจัดการด้านการจัดการความรู้ และ 6.ปัญหาวัฒนธรรมขององค์การ</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ปพนวิช เข็มพิลา, ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/872
ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม
2024-07-11T12:31:12+07:00
ปนัดดา โตกำ
6514832006@rumail.ru.ac.th
ณัฐพงศ์ บุญเหลือ
nboonunp@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของอากาศยาน สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 24 คน และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่งงาน และอัตราเงินเดือนของบุคลากรไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (3) ปัจจัยลักษณะงานที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (4) ปัจจัยประสบการณ์ในงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์การของบุคลากรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ปนัดดา โตกำ, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/873
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร
2024-07-11T12:16:57+07:00
ภัคจิรา วิสิทธิ์
6514832052@rumail.ru.ac.th
ศิริลักษม์ ตันตยกุล
chenyulan@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานอัยการสูงสุด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เป็นการสัมภาษณ์ แบบเป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ประกอบด้วยรูปแบบด้านองค์การ มีการแบ่งงานตามโครงสร้างโดยแบ่งกลุ่มงานออกเป็นทั้งหมด จำนวน 8 กลุ่มงาน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและชัดเจน รูปแบบด้านบุคคล การให้บุคลากรเข้ารับการฝึกอบรม การสร้างแรงจูงใจ การหมุนเวียนงาน การติดต่อสื่อสารกัน เพื่อให้บุคลากรได้มีความรู้ที่กว้างขึ้น รูปแบบด้านเทคโนโลยี มีการนำระบบสารสนเทศเทคโนโลยี และอุปกรณ์เครื่องใช้ เข้ามาร่วมกับการทำงาน 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้แก่ ขาดการส่งเสริมและการสนับสนุนของผู้บริหาร บุคลากรขาดทักษะความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ขาดระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน 3) แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้แก่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการทั้งการสนับสนุน กำกับดูแลการปฏิบัติงาน มีการวางแผนการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร การมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของบุคลากร มีการส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน</p> <p> </p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ภัคจิรา วิสิทธิ์, ศิริลักษม์ ตันตยกุล
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/871
การตัดสินใจเข้ามาทำงานในเขตจังหวัดราชบุรีของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา
2024-07-11T12:18:55+07:00
วรรณวดี เดือนเพ็ญ
6514832015@rumail.ru.ac.th
รัฐศิรินทร์ วังกานนท์
ratthasirin@gmail.com
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานในเขตจังหวัดราชบุรีของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และเสนอแนะแนวทางการวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านแรงงานต่างด้าวของเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงแรงงานในส่วนภูมิภาค ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานในจังหวัดราชบุรีเป็นอันดับแรก ได้แก่ สภาพแวดล้อมด้านสังคม รองลงมา คือ สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมด้านวัฒนธรรม ส่วนสภาพแวดล้อมที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานในเขตจังหวัดราชบุรี ของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา คือ สภาพแวดล้อมด้านภูมิศาสตร์ และข้อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านแรงงานต่างด้าวของเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงแรงงานในส่วนภูมิภาค คือ ควรมีการจ้างล่ามหรือเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านภาษาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานให้แก่แรงงานเมียนมาโดยตรง การนำเสนอข่าวสารประชาสัมพันธ์ผ่านการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ภาษาเมียนมา เพื่อเพิ่มการรับรู้ข่าวสารการจ้างงานของแรงงานเมียนมา สิทธิหน้าที่ของแรงงานเมียนมา ความรู้เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนต้องได้รับจากระบบประกันสังคม เมื่อเจ็บป่วยหรือ ประสบอันตราย</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วรรณวดี เดือนเพ็ญ, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/878
การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนงานตรวจราชการ
2024-07-11T12:12:40+07:00
จารุนันต์ เชาวนวาที
6514832009@rumail.ru.ac.th
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี
took249216@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนงานตรวจราชการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนงานตรวจราชการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเอกสารและการวิจัยสนามด้วยการสัมภาษณ์ โดยเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่สนับสนุบผู้ตรวจราชการกระทรวงจะมีลักษณะงานที่ต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานระดับพื้นที่ เพื่อร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวง ซึ่งเมื่อนำเทคโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัญหาและอุปสรรคในการการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนงานตรวจราชการ ได้แก่ 1) เครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มล้าสมัย 2) ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล 3) ปัญหาด้านบุคลากรที่ยังขาดความรู้ ทักษะ และความชำนาญในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และ 4) ปัญหาในเรื่องของความแตกต่างกันในช่วงอายุของเจ้าหน้าที่กองตรวจราชการ สำหรับแนวทางในการพัฒนาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการสนับสนุนงานตรวจราชการ ได้แก่ 1) ควรมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการอบรมเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน 2) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน 3) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับปฏิบัติงาน และ 4) มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่หน่วยงานเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ทดแทนเครื่องเดิมที่เก่าและล้าสมัย</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 จารุนันต์ เชาวนวาที, วงพักตร์ ภู่พันธุ์ศรี
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/869
การพัฒนาสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ในสังกัดสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
2024-07-11T12:26:24+07:00
สุชัญญา สุพร
6514832049@rumail.ru.ac.th
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล
narweena2497@gmail.com
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลัก ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการในสังกัดสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้วิธีวิจัยเอกสาร และวิจัยสนามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หรือแบบเป็นทางการ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีประสบการณ์ในด้านการพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กรุงเทพมหานครได้กำหนด ให้มีสมรรถนะหลักของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญมาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งรูปแบบและวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลัก คือ 1) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส 2) ด้านการบริการที่ดี มีความพร้อมและเต็มใจให้บริการประชาชน 3) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ แสดงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย 4) ด้านการทำงานเป็นทีม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 5) ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ มีการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยพบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาสมรรถนะหลัก ดังนี้ 1) ขาดจิตสาธารณะ ที่จะรักษาสมบัติส่วนรวม 2) ใช้เวลาในการให้บริการนานเกินไป 3) ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) ยึดความคิดตัวเองเป็นหลัก 5) ยึดติดกับการทำงานแบบเดิม ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาสมรรถนะหลัก ดังนี้ 1) ควรมุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสาธารณะ 2) ควรให้คำแนะนําและคอยติดตามเรื่องให้แก่ ผู้มารับบริการ 3) ควรเพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) ควรรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในทีม 5) ควรจัดฝึกอบรมหรือจัดให้มีทุนสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อ</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 สุชัญญา สุพร, วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/813
The pre- and post-COVID-19 empirical analysis of stocks returns, inflation and output in Thailand
2024-07-02T13:15:03+07:00
Saranyaa Niemchai
saranyaa.niemchai@gmail.com
Nonthaporn Seehapan
nonthaporns@gmail.com
Kajakorn Chomaitong
kajakorn.c@rumail.ru.ac.th
Pao Jampangoen
dr.pao@rumail.ru.ac.th
Nattawut Hantrakul
hnattawut@hotmail.com
<p>This research aims to examine the relationship between stock returns, inflation, and output in Thailand, investigate the inverse relationship between Thailand’s real output and inflation, and analyze the positive relationship between Thailand's stock returns and real output. The research investigates the Fisher Hypothesis puzzle and revisits Fama's Hypothesis, exploring the dynamics between these macroeconomic variables and stock returns in an emerging market context. Utilizing data sourced from CEIC spanning from January 2015 to December 2023, encompassing both pre- and post-COVID-19 periods, the study employs least squares regression and ARMA maximum likelihood estimation techniques for analysis. Inflation generally increases the prices of goods and services, resulting in higher production costs, which can lower output. However, stock prices often reflect firms’ performance or output growth. The findings reveal a significant negative relationship between output growth and inflation in Thailand. Additionally, the study finds no significant relationship between real stock returns and output growth; instead, real stock returns are primarily influenced by their past values. Consequently, shareholders do not necessarily benefit from economic growth alone and should diversify their investment strategies beyond countries with high growth rates. These insights provide valuable guidance for investors navigating economic uncertainties and optimizing investment decisions in emerging markets.</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 Saranyaa Niemchai, Nonthaporn Seehapan, Kajakorn Chomaitong, Pao Jampangoen, Nattawut Hantrakul
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/914
รูปแบบการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับ การพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พ.ศ. 2561-2566
2024-08-16T10:36:50+07:00
ชาตรี ทิพยเจือจุน
chatreetippayajeujun@gmail.com
สุรพล ราชภัณฑารักษ์
ra_suraphol@ru.ac.th
พัด ลวางกูร
padlavankura@gmail.com
จักรี ไชยพินิจ
ckcpn@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้เป็นผลมาจากการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการน้ำและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคตะวันออกของประเทศไทย ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561-2566 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทย ตลอดจนเพื่อสร้างข้อเสนอแนะการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561–2566 ผลการศึกษาพบว่า การจัดการน้ำและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคตะวันออกของประเทศไทย ประเทศไทยได้ยอมรับหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ นำไปสู่การปฏิรูประบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมมากขึ้นตามหลักการของหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ ปัญหาของการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศไทย มี 2 ลักษณะ ทั้งปัญหาเชิงพื้นที่ และปัญหาเชิงการบริหารจัดการ ตลอดจนการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยเพื่อรองรับการพัฒนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ทั้งเชิงนโยบายและเชิงพื้นที่ พ.ศ. 2561–2566 กล่าวคือ 1) การบริหารจัดการน้ำเชิงนโยบาย เป็นการบริหารโครงการศึกษาการจัดทำแผนหลักการพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเพื่อให้ได้แนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำหลัก 4 ลุ่มน้ำ 2) การบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ภาครัฐให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชน ผู้ประกอบการ และเกษตรกรว่าพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกจะมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ รัฐบาลไทยจะต้องวางแผนรับมือปัญหาขาดแคลนน้ำ และปริมาณน้ำยังมีเพียงพอสำหรับความต้องการของประชากร</p>
2024-08-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 ชาตรี ทิพยเจือจุน