Journal of Spatial Development and Policy https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP <p> <strong> Journal of Spatial Development and Policy</strong> ISSN: 2985-220X (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ตั้งแต่ระดับองค์กร กลุ่ม หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ วารสารมุ่งเน้นส่งเสริมงานวิชาการที่มีลักษณะเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่างๆ แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ที่ผลักดันไปสู่การสร้างนโยบายของพื้นที่ โดยเปิดรับบทความทางด้านการพัฒนาพื้นที่ที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และงานทางด้านสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่และผลักดันสู่การสร้างกรอบนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีละ 6 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> Journal of Spatial Development and Policy มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน <br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<strong> </strong></p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong>เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ <strong>โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน<br /> 2) บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ<br /> 3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน<br /> 4) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</p> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ<br /></strong> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน<br /> 2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ<br /> 3) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์<br /> 4) เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</p> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:<br /></strong> ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</p> th-TH prasrisirorat@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประยูร แสงใส) ajsdp9900@gmail.com (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี) Tue, 22 Oct 2024 16:06:50 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำ กรณีศึกษาธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านดอนฆ้อ หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/969 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำ กรณีศึกษาธนาคารน้ำใต้ดิน บ้านดอนฆ้อ หมู่ที่ 2 ตำบลนาเรียง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจงคือ ผู้นำชุมชนและผู้ที่ใช้ประโยชน์จากธนาคารน้ำใต้ดินในปัจจุบัน รวมจำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ธนาคารน้ำใต้ดินถูกใช้เพื่อนำน้ำใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคในครัวเรือนและเพื่อการเกษตร และช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วม มีแนวทางการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำของธนาคารน้ำใต้ดินดังนี้ 1) “ตัดสินใจร่วม” โดยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เริ่มจากการร่วมคิดและร่วมประสานงานเพื่อทำธนาคารน้ำให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 2) “มีต้นทุนร่วม” ได้แก่ มีต้นทุนในด้านงบประมาณ ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรทางธรรมชาติที่ควบคู่กันไป ซึ่งใช้ต้นทุนที่มีอยู่ในการดูแลธนาคารน้ำใต้ดิน 3) “ข้อตกลงร่วม” เป็นการมีส่วนร่วมในการร่วมสร้างฉันทามติหรือข้อตกลงกับชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกความคิดเห็นและร่วมสร้างข้อตกลงกันในรูปแบบการตัดสินใจและสร้างข้อตกลงแบบประชาธิปไตย 4) “ประโยชน์ร่วม” เป็นการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านในชุมชนนำแนวคิดไปบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคในครัวเรือนและใช้เพื่อการเกษตร และ 5) “ประเมินร่วม” โดยมีการติดตามผลและประเมินผลตลอดการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งได้ผลผลตอบรับที่ดีเพราะได้ถึงประโยชน์อย่างชัดเจนจากการทำธนาคารน้ำใต้ดิน</p> สุมินตรา หมาดหลู, พัณณิตา สุภาพโรจน์, เดโช แขน้ำแก้ว, พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์, เชษฐา มุหะหมัด Copyright (c) 2024 Journal of Spatial Development and Policy https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/969 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลตำบลบ้านค้อ จังหวัดขอนแก่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1004 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลตำบลบ้านค้อ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น เขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านค้อ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้การเข้าถึงแหล่งข้อมูล อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้สาเหตุของปัญหา การรับรู้ข้อมูล การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรคในการป้องกัน การรับรู้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การรับรู้ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ผลกระทบด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก การรับรู้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การรับรู้มาตรการนโยบายของภาครัฐ วิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า มาตรการนโยบายภาครัฐ (Beta = 0.534) อายุ (Beta = -0.142) การรับรู้สาเหตุปัญหา (Beta = 0.128) การรับรู้ความเสี่ยง (Beta= 0.095) และการรับรู้ผลกระทบ (Beta = 0.229) โดยมีค่า R2=0.553 เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)</p> ชัยชนะ ศรีเพียชัย, เทิดพงศ์ หันจางสิทธิ์, ณิชาภัทร ไพศาล, วิภาลักษณ์ ฤทธิ์จะโป๊ะ, อภิรดี วงศ์ศิริ, มานะ นาคำ Copyright (c) 2024 Journal of Spatial Development and Policy https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1004 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/970 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิธีการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจงคือ ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า รวมจำนวน 8 คน มีเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทำสปาปลาตอดเท้าคือ การเตรียมพื้นที่ให้กว้างขวาง มีความปลอดภัยและไม่มีสารเคมี พื้นที่ที่ปลาสามารถอาศัยอยู่ได้ตามธรรมชาติ เช่น ปลาแงะ โดยนำเท้าลงไปแช่ในน้ำแล้วรอฝูงปลาว่ายเข้ามาเพื่อที่จะมาตอดเท้า สภาพปัญหาในการทำสปาปลาตอดเท้าคือ ปัญหาในการส่งเสริมอาชีพเนื่องจากมีการแข่งขันในการค้าขายภายในพื้นที่จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการให้อาหารปลาจำนวนมากจึงทำให้น้ำเน่าเสียและปัญหาในการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและขาดการพัฒนาสถานที่อย่างต่อเนื่อง แนวทางส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า โดยการส่งเสริมอาชีพและเน้นให้คนในชุมชนเข้ามาขายสินค้ามากขึ้น จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมรายได้และสร้างอาชีพ พร้อมทั้งการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม ดูแลและรักษาความสะอาด รวมทั้งการส่งเสริมการบริหารการจัดการโดยการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการดูแลและปรับปรุงสถานที่เพื่อการท่องเที่ยว</p> อรนุช ช่อเส้ง, สุภาวิดา ตรีรัตน์, เดโช แขน้ำแก้ว, เมธิรา ไกรนที, เขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ Copyright (c) 2024 Journal of Spatial Development and Policy https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/970 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 แผนที่ภาพนูนสำหรับผู้พิการทางการเห็นในการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1012 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) ด้วยแผนที่ภาพนูนให้ผู้พิการทางการเห็นภายในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 15 คน เลือกแบบเจาะจงโดยต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อการศึกษาสำหรับผู้พิการทางการเห็น ได้แก่ (1) ผู้บริหาร ครู และครูฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) (2) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด และ (3) ผู้พิการทางการเห็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการประเมินการใช้งานแผนที่ภาพนูนสำหรับผู้พิการทางการเห็นจำนวน 10 ท่าน วิเคราะห์และสรุปผลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ผลสถิติจากแบบประเมินการใช้งานแผนที่ภาพนูนในเชิงปริมาณ (quantitative analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดมีการจัดการเรียนการสอนและมีการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) ที่เหมาะสม ผู้บริหารจึงต้องการพัฒนาสื่อเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเดินทางของผู้พิการทางการเห็น 2) ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) พบว่า สื่อควรมีคุณสมบัติและประเภทของแผนที่ภาพนูนที่มีความเหมาะสมโดยจะอยู่ในรูปแบบสื่อเทอร์โมฟอร์ม 3) ผลพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&amp;M) ด้วยแผนที่ภาพนูน พบว่า ผู้พิการทางการเห็นสามารถทำความเข้าใจการใช้งานแผนที่ได้ดีมากขึ้นในการทดสอบครั้งที่ 2</p> บุญญาพร ลับไธสง Copyright (c) 2024 Journal of Spatial Development and Policy https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1012 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1022 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน (2) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนระดับมัธยมตอนปลายศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้คือกลุ่มเยาวชนที่กำลังศึกษาในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 คน โดยแบบสอบถามมีผลการวัดความเชื่อมั่น ค่าคะแนน 0.858 โดยมีสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้สถิติไคส์แสควร์ โดยการแสดงตารางไขว้ จากนั้นจะใช้ค่า Contingency Coefficient เป็นตัวชี้วัดระดับความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.2 ช่วงอายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.7 โดยส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 36.1 ซึ่งมีเงินรายได้จากผู้ปกครองหรือจากการทำงานของนักเรียนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3743.61 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 86.5 แต่ยังมีกลุ่มเยาวชนที่ยังมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุการใช้คือแค่อยากทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 51.0 และส่วนใหญ่เยาวชนซื้อบุหรี่ไฟฟ้ามาจาก ร้านค้าที่จัดจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 51.0 และระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน ระดับความรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความรู้ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ระดับทัศนคติ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับการรับรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าภาพรวมในประเด็นต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ แต่มีเพียง 8 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ ได้แก่ รายได้ต่อเดือน การใช้บุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ความถี่การใช้บุหรี่ไฟฟ้า ช่องทางการซื้อบุหรี่ไฟฟ้า ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้านผลกระทบ และทัศนคติด้านความเห็น และทั้งหมดนี้ความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ</p> ชัยชนะ ศรีเพียชัย, ภัทรพร วีระนาคินทร์ Copyright (c) 2024 Journal of Spatial Development and Policy https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1022 Tue, 22 Oct 2024 00:00:00 +0700