Journal of Spatial Development and Policy
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP
<p> <strong> Journal of Spatial Development and Policy</strong> ISSN: 2985-220X (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ตั้งแต่ระดับองค์กร กลุ่ม หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ วารสารมุ่งเน้นส่งเสริมงานวิชาการที่มีลักษณะเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่างๆ แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ที่ผลักดันไปสู่การสร้างนโยบายของพื้นที่ โดยเปิดรับบทความทางด้านการพัฒนาพื้นที่ที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และงานทางด้านสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่และผลักดันสู่การสร้างกรอบนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีละ 6 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> Journal of Spatial Development and Policy มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน <br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<strong> </strong></p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยผู้เขียนจะต้อง กรอก <strong>“<a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a>”</strong> และชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน<br /> 2) บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ<br /> 3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน<br /> 4) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</p> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ<br /></strong> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน<br /> 2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ<br /> 3) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์<br /> 4) เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</p> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:</strong></p> <ol> <li>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์, ค่าใช้จ่ายฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</li> <li>เตรียมต้นฉบับบทความ</li> </ol> <p> - เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1RAg-tLgpmV1ta0SYgHyq3U93TTW8l_jP/edit?tab=t.0">คลิก </a> <br /> - เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/1RvQ-XVZGWwjGMUBzVuZXdMo10Dzf4PtM/edit?tab=t.0">คลิก</a><br /> - เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ <a href="https://docs.google.com/document/d/1atjbiNeyyeOlakSUohQxSEkRJyPTUSwN/edit?tab=t.0">คลิก</a></p> <ol start="3"> <li>ส่งบทความต้นฉบับในระบบวารสาร <a href="https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP">https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP</a></li> <li>กรอก “แบบขอส่งบทความตีพิมพ์” จาก <a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">คลิก</a></li> <li>ส่งสำเนาเอกสารในระบบ Google forms ที่ <a href="https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit">https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit</a></li> </ol> <p> 6. สมัครเข้า line กลุ่มวารสาร เพื่อติดต่อประสานงาน ที่ <a href="https://line.me/R/ti/g/6qtUwxnrQk">https://line.me/R/ti/g/6qtUwxnrQk</a></p>
ปัญญาพัฒน์ (Panyapat)
th-TH
Journal of Spatial Development and Policy
2985-220X
-
พลิกสมการความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน: เส้นทางใหม่สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1762
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของเทคโนโลยีทางการเงินที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย โดยอธิบายผ่านกรอบแนวคิดของทฤษฎีการเจริญเติบโตจากภายใน และเส้นโค้งคูซเนตส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีทางการเงินเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้มีรายได้น้อย ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และแรงงานนอกระบบ ทั้งนี้ เทคโนโลยีทางการเงินยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ลดต้นทุนในการทำธุรกรรม และส่งเสริมนวัตกรรมในระบบการเงิน อย่างไรก็ตาม การขยายบทบาทของ เทคโนโลยีทางการเงินยังเผชิญความท้าทายหลายด้าน เช่น ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบ ความมั่นคงทางไซเบอร์ และความเหลื่อมล้ำด้านทักษะดิจิทัล บทความนี้จึงเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินอย่างยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ความเสมอภาคและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น</p>
กอบกาญจน์ ปั้นพงษ์
จินต์จุฑา ผาสุข
จินตนา อินทจักร์
ณัฐกานต์ ชูสด
พลอยชมภู สารโภคา
รินรดา เลือดไทยณรงค์
สรัลชนา เคยอาษา
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
123
134
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์ออมทรัพย์กลุ่มข้าราชการ
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1808
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของสหกรณ์ออมทรัพย์ กลุ่มข้าราชการ โดยปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของทุนสหกรณ์ (ROE) อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของสหกรณ์ (DER) และอัตราการจ่ายเงินปันผลปีที่ผ่านมา (HDPR) โดยใช้ข้อมูลรายปีของสหกรณ์ออมทรัพย์กลุ่มข้าราชการจำนวน 26 สหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2557-2566 รวมระยะเวลา 10 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์สมการถดถอยด้วยวิธี Panel Data Regression ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DER) มีอิทธิพลเชิงลบต่ออัตราการจ่ายเงินปันผล (DPR) และอัตราการจ่ายเงินปันผลปีที่ผ่านมา (HDPR) มีอิทธิพลเชิงบวกกับอัตราการจ่ายเงินปันผล (DPR) ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.01 ส่วนอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (ROE) อัตรากำไรสุทธิ (NPM) และอัตราส่วนทุนหมุนเวียน (CR) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
สุทธิรักษ์ แซ่ขวย
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
1
14
-
แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ไมโคร กลาส (ประเทศไทย) จำกัด
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1681
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ กรณีศึกษา บริษัท เอจีซี ไมโคร กลาส (ประเทศไทย) จำกัด (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กรณีศึกษา และ (3) ศึกษาปัจจัยแรงงจูงใจ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานสายการผลิตในแผนกการผลิตส่วนหน้าของบริษัท เอจีซี ไมโคร กลาส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 472 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่า F-TEST (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุงานในบริษัท ตำแหน่ง รายได้ และส่วนงานของพนักงานต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ ได้แก่ ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน และวิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
รัฐพงศ์ วงศ์เศรษฐี
นลินฉัตร์ ธราสิริวีรภัทร
ฟ้าวิกร อินลวง
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
15
30
-
การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตพืชฤดูแล้งเพื่อการค้าของเกษตรกรในตำบลโพนบก อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1460
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร รวมถึงวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในการปลูกพืชฤดูแล้งในตำบลโพนบก อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกร 36 ครัวเรือน ที่เพาะปลูกพืชอายุสั้นหรือพืชที่ใช้น้ำน้อยบนพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไปในหมู่ที่ 1 ตำบลโพนบก ในปี พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามและการคัดเลือกแบบเจาะจงในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41–50 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนที่ทำเกษตรเฉลี่ย 2 คน มีประสบการณ์ทำเกษตร 11–20 ปี และมีแหล่งน้ำสะอาดใช้ตลอดทั้งปี โดยใช้น้ำจากบ่อน้ำส่วนตัว และไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หนี้สินของครัวเรือนอยู่ระหว่าง 10,000–50,000 บาท และมีพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งเฉลี่ย 11–15 ไร่ โดยถือครองในรูปแบบ ส.ป.ก. 4-01 พืชฤดูแล้งที่นิยมปลูก ได้แก่ ผักกวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยจำหน่ายในตลาดนัดสินค้าเกษตร ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่า คะน้าให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด โดยมีกำไรสุทธิ 7,788.77 บาทต่อไร่ (ROI 30.19%, ต้นทุน 25,799.19 บาทต่อไร่) รองลงมาคือ ถั่วฝักยาว (กำไรสุทธิ 8,137 บาท/ไร่, ROI 22.7%, ต้นทุน 35,852.73 บาท/ไร่) และผักกวางตุ้ง (กำไรสุทธิ 3,480.16 บาท/ไร่, ROI 19.35%, ต้นทุน 17,989.84 บาท/ไร่) ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขาดทุน 1,268.24 บาท/ไร่ (ROI -14.68%, ต้นทุน 8,638.68 บาท/ไร่) สรุปได้ว่า การเลือกชนิดพืชมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญ โดยแนะนำให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชที่ให้ ผลตอบแทนสูง เลือกจากพืชที่ปลูกมีผลอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) หรือ เลือกพืชที่ให้ “ผลตอบแทนสูง” และ “ต้นทุนเหมาะสม” โดยแนะนำให้เกษตรกรเลือกปลูกผักคะน้า ถั่วฝักยาว หรือผักกวางตุ้ง แทนข้าว เช่น คะน้า ถั่วฝักยาว หรือผักกวางตุ้ง และหลีกเลี่ยงพืชที่ให้ผลตอบแทนต่ำ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการปลูกถั่วฝักยาวและคะน้ามีต้นทุน แรงงานค่อนข้างสูง เกษตรกรจำเป็นต้องมีเงินทุนสำหรับการเพาะปลูกพืชหน้าแล้ง ทั้งนี้ควรส่งเสริมการพัฒนาช่องทางการตลาดและการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนในการเกษตรฤดูแล้ง</p>
อรพรรณ ปู่ห้วยพระ
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์
ศานิต เก้าเอี้ยน
สรวัฒน์ วิศาลาภรณ์
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
31
46
-
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1705
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค และ (2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน คือ การใช้วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบ Enter (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชัน ในภาพรวม อยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสินค้า รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านราคา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านบุคคล อยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านราคา และด้านบุคคล ตามลำดับ</p>
นิรันดร์ กาอินต๊ะ
นลินฉัตร์ ธราสิริวีรภัทร
ฟ้าวิกร อินลวง
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
47
60
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่: กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1849
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด (2) เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ตามผลการวิเคราะห์ปัจจัย กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด การวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในลูกค้าบริษัทขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ พนักงานบริษัท ABC จำกัด และบริษัทซัพพลายเออร์ รวมจำนวน 11 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีเงื่อนไขที่มีตำแหน่งงานระดับ หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่อายุงานไม่น้อยกว่า 5-7 ปี เครื่องมือที่ใช้คือการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ผลการศึกษาในการเปรียบเทียบเกณฑ์ในการตัดสินใจต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดในการตัดสินใจ คือ ด้านการดำเนินงาน รองลงมา คือ ด้านเวลา ด้านต้นทุน และปัจจัยที่มีผลน้อยที่สุดในการตัดสินใจ คือด้านความน่าเชื่อถือ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ตามผลการวิเคราะห์ปัจจัย ของ บริษัท ABC จำกัด โดยการนำเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการขนส่งในการลดต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ระบบ ETA/ETD มาใช้ (Estimated Time of Arrival/Departure) ใช้ระบบ GPS Tracking หรือ IoT ติดตามเรือแบบเรียลไทม์ และ ใช้ระบบจัดเส้นทางอัตโนมัติ (Route Optimization Software) คำนวณเวลาและลดระยะทาง เพื่อลดจำนวนรอบวิ่งเปล่า ที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดต้นทุน และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
ชลิดา สุวรรณประทีป
เมธารวิชญ์ ฤทธิ์กล้า
ศิริศักดิ์ ธรฤทธิ์
เปรมทัต มาพระลับ
ทักษ์ดนัย ขยิ่ม
ปิยาภรณ์ รัตโนภาส
ปริมประภา นามตาแสง
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
61
74
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1884
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานในด้านการเงินและการบัญชีในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกเป็น นักวิชาการเงินและบัญชี และเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี รวม 172 คน เก็บตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการปฏิบัติงานระบบ E-LAAS ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยระบบ E-LAAS และด้านสภาพแวดล้อมการทำงานส่งผลต่อกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความรู้ความสามารถในการใช้สารสนเทศและด้านความพร้อมของอุปกรณ์ไม่ส่งผลต่อกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-LAAS)</p>
ฐิตินันท์ สุโคมุต
สุนทรีย์ ตั้งศรีวงศ์
กนกพร สุรณัฐกุล
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
75
88
-
ปัจจัยสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1602
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน (2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน และ (3) อิทธิพลของปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีบังเอิญ จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน โดยรวมมีอิทธิพลอยู่ในระดับสูงมาก (r<sub>xy</sub>=.941) ผลการวิเคราะห์วิธีการถดถอยพหุคูณคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 88.50 และผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยการสนับสนุนทางสังคม พบว่า มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
วิไลรัตน์ บรรจงเลิศ
สุนิตดา เทศนิยม
ธีรพล กาญจนากาศ
สมคิด ดวงจักร์
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
89
100
-
ซอฟต์พาวเวอร์มวยไทย : การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐโดยใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1588
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) มุมมอง ข้อคิดเห็น และความต้องการซอฟต์พาวเวอร์และการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐโดยใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรมมวยไทย และ (2) แนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของมวยไทยสู่ความเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร Group ONE หัวหน้าค่ายมวย ผู้จัดการค่ายมวย ผู้จัดการรายการชกมวย นักมวยไทย นักมวยชาวต่างชาติ ตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม และตัวแทน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมจำนวน 11 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อสรุป ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการศึกษาพบว่า 1) มวยไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรมไทย เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทรงคุณค่าในฐานะที่เป็นศิลปะป้องกัน เสริมสร้างความสมบูรณ์ทางสมรรถภาพร่างกาย เป็นกิจกรรมที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน ตลอดจนปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา และมวยไทยเป็นกีฬาประจำชาติไทย 2) แนวทางและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรมของมวยไทยสู่ความเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ยั่งยืนนั้น ภาครัฐควรให้สนับสนุนงบประมาณสำหรับค่ายมวยขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล ให้นักกีฬามวยไทยมีโอกาสพัฒนาศักยภาพ ในด้านการฝึกสอนและจัดการบริหาร การจัดงานระดับโลกที่เน้นโชว์วัฒนธรรมมวยไทย พร้อมทั้งเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาชมและศึกษามวยไทย สร้างรายได้ให้ประเทศ อันจะนำไปสู่ความเป็นซอฟต์พาวเวอร์มวยไทยที่ยั่งยืน</p>
ชินพรรธน์ อธิชัยวรานนท์
ธีรพล กาญจนากาศ
ณฐนนท ทวีสิน
เกียรติยศ ระวะนาวิก
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
101
110
-
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1692
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ (2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวบนฐานทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ (3) ยกระดับทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ และ (4) เสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 60 คน และผู้ตอบแบบสอบถามเป็นตัวแทนชาติพันธุ์ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวจาก 3 ชุมชน ๆ ละ 20 คน รวมทั้งหมด 60 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ มี 2 อย่าง ได้แก่ (1) ทุนวัฒนธรรมที่จับต้องได้ ประกอบด้วยศิลปกรรมที่ติดมากับที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ และเครื่องมือประกอบอาชีพ เห็นได้ชัดคืองานด้านหัตถกรรมและเครื่องแต่งกาย (2) ทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ประกอบด้วยค่านิยม ความเชื่อ ภาษา จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวบนฐานทุนวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างแรงบันดาลใจแก่นักท่องเที่ยว มีการนำรูปแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกันเกิดเป็นลวดลายใหม่ ๆ แล้วแปรรูปเป็นเสื้อผ้า ทำให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น 3) ผลการยกระดับทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มุ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีอาชีพ ผ่านกิจกรรมดังนี้ (1) ให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยว (2) ระดมความคิดด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว (3) ให้กลุ่มชาติพันธุ์กำหนดเส้นทางการท่องเที่ยว 4) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ มีดังนี้ (1) ส่งเสริมด้านบริหารจัดการ (2) ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยว (3) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (4) การประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการตลาด (5) สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว และ (6) นำผลิตภัณฑ์ชนเผ่าสู่แหล่งท่องเที่ยว</p>
ปัญญา กันภัย
พระมหาธนกร กิตฺติปญฺโญ
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-12
2025-06-12
3 3
111
122