https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/issue/feed
Journal of Spatial Development and Policy
2025-02-18T20:25:13+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประยูร แสงใส
prasrisirorat@gmail.com
Open Journal Systems
<p> <strong> Journal of Spatial Development and Policy</strong> ISSN: 2985-220X (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ตั้งแต่ระดับองค์กร กลุ่ม หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด ภูมิภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ วารสารมุ่งเน้นส่งเสริมงานวิชาการที่มีลักษณะเป็นการสร้างองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่างๆ แบบบูรณาการข้ามศาสตร์ที่ผลักดันไปสู่การสร้างนโยบายของพื้นที่ โดยเปิดรับบทความทางด้านการพัฒนาพื้นที่ที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และงานทางด้านสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่และผลักดันสู่การสร้างกรอบนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ ปีละ 6 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่<br /> 3) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เป็นบทความในลักษณะวิจารณ์หรืออธิบายเหตุผลสนับสนุนในประเด็นที่เห็นด้วย และ มีความเห็นแตกต่างในมุมมองวิชาการ</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> Journal of Spatial Development and Policy มีกำหนดวงรอบการเผยแพร่ปีละ 6 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์<br />- ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน <br />- ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม<br />- ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม<strong> </strong></p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยผู้เขียนจะต้อง กรอก <strong>“<a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">แบบขอส่งบทความตีพิมพ์</a>”</strong> และชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ<br /></strong> บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) โดยมีขั้นตอนดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน<br /> 2) บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ<br /> 3) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 3 ท่าน<br /> 4) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</p> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ<br /></strong> 1) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 3 ท่าน<br /> 2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ<br /> 3) ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์<br /> 4) เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</p> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:</strong></p> <ol> <li>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์, ค่าใช้จ่ายฯลฯ) ID Line: ben_lowz โทร. 080-2241454 (นางสาวศิโรรัตน์ ประศรี), 081-6015934 (ผศ. ดร.ประยูร แสงใส)</li> <li>เตรียมต้นฉบับบทความ</li> </ol> <p> - เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1RAg-tLgpmV1ta0SYgHyq3U93TTW8l_jP/edit?tab=t.0">คลิก </a> <br /> - เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/1RvQ-XVZGWwjGMUBzVuZXdMo10Dzf4PtM/edit?tab=t.0">คลิก</a><br /> - เทมเพลตบทวิจารณ์หนังสือ <a href="https://docs.google.com/document/d/1atjbiNeyyeOlakSUohQxSEkRJyPTUSwN/edit?tab=t.0">คลิก</a></p> <ol start="3"> <li>ส่งบทความต้นฉบับในระบบวารสาร <a href="https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP">https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP</a></li> <li>กรอก “แบบขอส่งบทความตีพิมพ์” จาก <a href="https://drive.google.com/file/d/13hbKlIcvn6FU_oGAUdjACl0ZMWoudxC_/view?usp=drive_link">คลิก</a></li> <li>ส่งสำเนาเอกสารในระบบ Google forms ที่ <a href="https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit">https://docs.google.com/forms/d/1JFZ6xgC46Gyck7j79RwPpVKy7lU9fKl-gRz5TBrZ7WE/edit</a></li> </ol> <p> 6. สมัครเข้า line กลุ่มวารสาร เพื่อติดต่อประสานงาน ที่ <a href="https://line.me/R/ti/g/6qtUwxnrQk">https://line.me/R/ti/g/6qtUwxnrQk</a></p>
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1189
สวัสดิการแรงงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน
2024-11-18T17:47:41+07:00
จาตุรนต์ พุ่มเพชร
chathuron.aon@gmail.com
อิสระพงศ์ เพ็งผาย
profthut@gmail.com
ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์
profthut@gmail.com
<p>การจัดสวัสดิการแรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่มีความจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของมนุษย์ การทำงานเพื่อความปรารถนาที่จะให้งานของตนเองก้าวหน้า มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อองค์กร ต่อสังคม และครอบครัวโดยส่วนรวม บุคคลที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลานั้นจะมีความพร้อมต่อการแข่งขัน และจะเป็นบุคคลที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หน่วยงานหรือองค์กรที่มีบุคลากรเหล่านี้ก็จะมีความเจริญก้าวหน้าไปด้วย และการทำงานในองค์กรภาคราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน ต่างก็ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จในการทำงาน หรือเทคนิคการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนการทำงานอย่างไรให้มีความสุข องค์กรทั้งหลายต่างก็มีความคิดเห็นตรงกันว่า องค์กรจะมีความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้นั้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งอยู่ที่ผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพและสามารถทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนคุณภาพชีวิตในการทำงาน อาจกล่าวได้ว่า งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน หากงานดีชีวิตก็จะดีตาม หากขาดงานก็คือขาดชีวิต งานจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสุข กำลังใจ ความหวังและพลังในการทำงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพได้ เมื่อองค์การมีประสิทธิภาพ องค์การก็จะอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้า และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาองค์การ</p>
2025-02-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1354
การบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษา ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.)
2025-01-21T17:24:20+07:00
อรพรรณ เฉลิมสุข
cha.orapan@gmail.com
พิมพ์พร โสววัฒนกุล
fecoppso@ku.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (ชสอ.) (2) วิเคราะห์การบริหารจัดการองค์กรด้านเทคโนโลยีของ ชสอ. และ (3) วิเคราะห์รูปแบบของเทคโนโลยีที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของ ชสอ. การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้เกี่ยวข้อง 20 คน และนำมาวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลต่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีของ ชสอ. ได้แก่ เทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัย เทคโนโลยีระบบธุรกิจอัจฉริยะ เทคโนโลยีการทำงานระยะไกล และเทคโนโลยีการสื่อสาร 2) ในการบริหารจัดการองค์กรภายใต้แนวคิด McKinsey 7S Framework ของ ชสอ. ควรมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรมทักษะเทคโนโลยี สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี กำหนดโครงสร้างและระบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมทั้งความรู้และเข้าใจเทคโนโลยีเพื่อตัดสินใจของผู้นำองค์กร และ 3) รูปแบบเทคโนโลยีที่ควรพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีที่ปกป้องข้อมูลทางการเงิน (2) เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (3) เทคโนโลยีที่ช่วยให้บุคลากรทำงานยืดหยุ่น และ (4) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดี เพื่อให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในอนาคต ผลการการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์ ส่งผลให้เกิดความทันสมัยและความคล่องตัว ลดความเสี่ยงเพิ่มความปลอดภัยในกระบวนการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีให้คณะกรรมการสามารถตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-02-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1376
การจัดการภาวะวิกฤตของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ไวรัสโควิด-19
2025-01-25T12:07:07+07:00
เทพประทาน อินทฉาย
theppratan789@gmail.com
ภุชงค์ เสนานุช
p.senanuch@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และผลกระทบต่อสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษากระบวนการจัดการภาวะวิกฤตในช่วงการแพร่ระบาด และ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการภาวะวิกฤตของสถานคุ้มครองฯ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับการสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความตามบริบท ผลการศึกษาพบว่า 1) การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถานคุ้มครองฯ หลายด้าน ได้แก่ ภาระงานของบุคลากรที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น และผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้บริการจากมาตรการกักตัว 2) กระบวนการจัดการภาวะวิกฤตสามารถแบ่งออกเป็นสามระยะหลัก ได้แก่ ระยะเตรียมความพร้อม ซึ่งมีการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) แต่ยังขาดการเตรียมการสำหรับโรคระบาด ระยะจัดการระหว่างวิกฤต ซึ่งมีการปรับรูปแบบการทำงานและยกระดับมาตรการควบคุมโรค และระยะประเมินผลหลังวิกฤต ซึ่งยังขาดการถอดบทเรียนอย่างเป็นระบบ 3) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ การขาดทรัพยากรสนับสนุน การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่ไม่ราบรื่น และผลกระทบทางจิตใจต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาแนวทางจัดการภาวะวิกฤตเชิงรุกในสถานคุ้มครองฯ โดยควรปรับปรุงแผน BCP ให้ครอบคลุมโรคระบาด เสริมทรัพยากรบุคลากรและอุปกรณ์จำเป็น และพัฒนากลไกการประสานงานให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ควรมีการถอดบทเรียนเพื่อนำไปปรับใช้ในแผนปฏิบัติการรับมือวิกฤตในอนาคตอย่างเป็นระบบ มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้สถานคุ้มครองฯ รับมือวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อบุคลากรและผู้ใช้บริการ</p>
2025-02-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1365
คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
2025-01-17T14:29:15+07:00
ธราดล ชุมพล
puangpanot.s@gmail.com
โชคชัย ไพเราะ
puangpanot.s@gmail.com
ปวงปณต สอบขุนทด
puangpanot.s@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และ (2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณลักษณะความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จำแนกตาม อาชีพของครอบครัว ชั้นปีการศึกษา และคณะที่กำลังศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตในคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ คณะเทคโนโลยีทางทะเล และคณะอัญมณี จำนวน 295 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) นิสิตมีระดับความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 3.79 โดยด้านแรงบันดาลใจในการประกอบธุรกิจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 รองลงมาคือ ด้านความใฝ่ใจในการเรียนรู้ ด้านความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน ด้านความสามารถทางนวัตกรรม และด้านความกล้าเสี่ยง ด้วยค่าเฉลี่ย 3.84 3.79 3.75 และ 3.71 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยประชากรศาสตร์จำแนกตามอาชีพของครอบครัว และชั้นปีการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของคณะที่ศึกษาที่แตกต่างกันมีคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพไม่แตกต่างกัน</p>
2025-02-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1362
Factors Influencing the Decision-Making Processes of Chinese Graduate Students to Study in Thailand: A Grounded Theory Approach
2025-01-21T17:24:03+07:00
Zhiyuan Zheng
zhengzhiyuan@kkumail.com
Homhuan Buarabha
hom.h@outlook.com
Arunee Sriruksa
arunsr@kku.ac.th
Sikarnmanee Syers
sikarnmanee.sy@rmuti.ac.th
<p>This study investigates the motivations and decision-making processes of Chinese graduate students in selecting Thailand as their study destination, utilizing a grounded theory approach. Data were collected through in-depth interviews with 40 master's and doctoral students from Khon Kaen University and Chiang Mai University. The analysis revealed two primary categories of motivations: internal and external. Internal motivations include study impressions, individual experiences, career status, and future aspirations, reflecting personal growth and career development needs. External motivations encompass study abroad observations, environmental factors, policy frameworks, and social influences, highlighting the role of external conditions in shaping decisions. Findings indicate that external motivations, particularly the study abroad environment and policy support, play a dominant role in influencing students' decisions, while internal motivations focus on personal development goals. This research provides insights into the multifaceted nature of study abroad decisions and contributes to understanding the dynamics of international talent mobility. The findings also offer practical implications for policymakers and educational institutions in improving support for international students.</p>
2025-02-18T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 Journal of Spatial Development and Policy