แนวทางการส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิธีการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยววังปลาแงะ ชุมชนพรหมโลก หมู่ที่ 1 ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจงคือ ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยวและพ่อค้าแม่ค้า รวมจำนวน 8 คน มีเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วิธีการทำสปาปลาตอดเท้าคือ การเตรียมพื้นที่ให้กว้างขวาง มีความปลอดภัยและไม่มีสารเคมี พื้นที่ที่ปลาสามารถอาศัยอยู่ได้ตามธรรมชาติ เช่น ปลาแงะ โดยนำเท้าลงไปแช่ในน้ำแล้วรอฝูงปลาว่ายเข้ามาเพื่อที่จะมาตอดเท้า สภาพปัญหาในการทำสปาปลาตอดเท้าคือ ปัญหาในการส่งเสริมอาชีพเนื่องจากมีการแข่งขันในการค้าขายภายในพื้นที่จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการให้อาหารปลาจำนวนมากจึงทำให้น้ำเน่าเสียและปัญหาในการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและขาดการพัฒนาสถานที่อย่างต่อเนื่อง แนวทางส่งเสริมการทำสปาปลาตอดเท้า โดยการส่งเสริมอาชีพและเน้นให้คนในชุมชนเข้ามาขายสินค้ามากขึ้น จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมรายได้และสร้างอาชีพ พร้อมทั้งการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม ดูแลและรักษาความสะอาด รวมทั้งการส่งเสริมการบริหารการจัดการโดยการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอในการดูแลและปรับปรุงสถานที่เพื่อการท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กำจร ตติยกวี. (2558). งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(1) 1-4.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). อุปสรรคในการสร้างอาชีพให้กับชุมชน. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566. จาก http://www.kriengsak.com/barriers-building-local-careers.
จิรกฤต เสมอเพื่อน. (2557). การบริหารจัดการของงองค์การบริหารส่วนตำบลกมลาต่อธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(16), 55-66.
ธาตรี มหันตรัตน์ และ จันทร์แรม เรือนแป้น. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกรูปแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(3), 31-38
วิชชุตา มาชู และ กนกอร แซ่ลิ้ม.(2560). กรอบมาตรฐานรีสอร์ทสปาบนความรับผิดชอบทางสังคม กรณีศึกษา โรงแรมอนันตรา สิเกา รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 34–48.
ศุภรางศุ์ จันทนวัลย และ รัชฏา ฟองธนกิจ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจสปาของผู้ใช้บริการในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 190-204.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). สปาปลาจะใช้บริการต้องระวัง. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.thaihealth.or.th/สปาปลา-จะใช้บริการต้อง/.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก. (2561). อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดตลาดประชารัฐของดีจังหวัดพิษณุโลกส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่ตามนโยบายรัฐบาล. สืบค้น 23 กรกฎาคม 2566. จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/WNECO6101190010026.
อมร ทรงพุฒิ. (2559). การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนของเยาวชนในอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(2), 79-80.
อรนุช ชุ่มจิตร. (2553). กลยุทธ์ทางการตลาดและการดำเนินการธุรกิจสปาปลาในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, สุธีรา เอี่ยมสุภาษิต, นัยนา อภิวัฒนพร, สุธาสินี สุโขวัฒนกิจ และ งามเนตร เอี่ยมนาคะ. (2556). เอกสารความรู้ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
Liu, L., Zhou, Y., & Sun, X. (2023). The Impact of the Wellness Tourism Experience on Tourist Well-Being: The Mediating Role of Tourist Satisfaction. Sustainability, 15(3), 1872.