การใช้กระบวนการสานเสวนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ กรณีศึกษาโครงการวิจัยสานมิตรภาพพัฒนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัด ตามแนวถนนมิตรภาพและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย) ภายใต้เวทีวิจัยจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้กระบวนการสานเสวนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ และ (2) แนวทางพัฒนาการใช้กระบวนการสานเสวนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือผู้เข้าร่วมการสานเสวนา โครงการวิจัยสานมิตรภาพพัฒนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัด ตามแนวถนนมิตรภาพและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย) โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้คือแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสานเสวนาที่จัดขึ้น สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่จังหวัดหนองคายได้ เนื่องจากในกระบวนการสานเสวนาได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันจากหลากหลายภาคส่วน ทำให้ทุกภาคส่วนสามารถทำความเข้าใจปัญหาและวางแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษได้ อีกทั้งยังมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน 2) แนวทางพัฒนาการใช้กระบวนการสานเสวนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่พบว่า (1) จะต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่หลากหลายและครอบคลุมทุกภาคส่วน (2) เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์การจัดกระบวนการสานเสวนาเพื่อให้ทุกภาคส่วน สามารถรับรู้และเข้าถึงการจัดกระบวนการสานเสวนาได้มากยิ่งขึ้น (3) ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนในจังหวัดรับรู้และเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างทั่วถึง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปฏิมาภรณ์ ธรรมเดชะ, ยศวีร์ สายฟ้า และ ชาริณี ตรีวรัญญู. (2561). ผลของการพัฒนาและการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดพื้นที่เสรีสำหรับการสานเสวนาและการสืบสอบที่มีต่อมโนทัศน์ด้านความเป็นพลเมืองและความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางสังคมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(1), 70-86.
พลธรรม์ เศียรเมฆัน จันทร์คำ. (2565). การสานเสวนาในฐานะนวัตกรรมสันติภาพ: สถานภาพความรู้และ ข้อเสนอแนะ. Journal of Human Rights and Peace Studies, 8(2), 335–352.
ภิรดา ชัยรัตน์. (2565). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเชิงพื้นที่ชุมชนตรอกวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R169-R182.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ทิศทางการพัฒนาภาคในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). สืบค้น 25 กันยายน 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7301.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ. สืบค้น 25 กันยายน 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13552&filename=esdps.