ความต้องการของผู้สูงอายุด้านขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สวัสดิการด้านขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น (2) ปัญหาการใช้บริการขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น และ (3) ความต้องการในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุที่ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะของภาคเอกชนไม่มีการจัดให้มีสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับการควบคุมราคาการใช้บริการรถขนส่งสาธารณะโดยภาครัฐ จึงทำให้ราคาค่าโดยสารของรถขนส่งสาธารณะมีราคาถูก และไม่ได้รับการสนับสนุนจากการสร้างสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับการใช้บริการสำหรับผู้สูงอายุ ปัญหาการใช้บริการขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า การใช้บริการรถขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในปัจจุบันนั้น ไม่มีบริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้บริการของผู้สูงอายุ เช่น ความไม่ชัดเจนของสัญลักษณ์ของรถขนส่งสาธารณะ ความปลอดภัย และการให้บริการของรถขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดการใช้บริการที่ค่อนข้างยาก และเกิดความสับสนจากการใช้บริการ ส่วนความต้องการในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ต้องมีการพัฒนาด้านเส้นทางการให้บริการรถขนส่งสาธารณะและจำนวนการให้บริการที่เพิ่มขึ้น การให้บริการที่ตรงต่อเวลา การเพิ่มสวัสดิการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนารถขนส่งสาธารณะให้เป็นรถปรับอากาศ และสัญลักษณ์ของรถขนส่งสาธารณะให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
กวิน วันวิเวก และ ธนพรรณ ธานี. (2551). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 8(4), 128-143.
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 38
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
รชยา พรมวงศ์ และ ปัทมพร วงศ์วิริยะ. (2563). ความท้าทายของการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางผู้สูงอายุในเมืองขอนแก่น. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ศิลปศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (น. 435-449). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2562). ขอนแก่นโมเดล. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ เกศปกรณ์ แสงเงิน. (2561). แนวทางการพัฒนาบริการขนส่งสำหรับผู้สูงอายุในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(1), 3032-3047.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1),73-82.