กลยุทธ์การตลาดธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาระดับกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดดรธานี (2) ศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จากผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี ประชากร คือ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 177 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 121 คนเพื่อแจกแบบสอบถาม โดยได้มาจากสูตรการคำนวณตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะสถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การตลาดธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอุดรธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามหรือระหว่างกลยุทธ์การตลาดกับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์กัน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณิการ์ ศรีไชยโยรักษ์, ณัฐการต์ รุ่งเรือง และ ปรีชญา อุดมผล. (2566). รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษา โรงแรมโรงแรมพรรณราย จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 15-30.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิติด้านการท่องเที่ยว. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=497.
ไทยรัฐออนไลน์. (2561). การจัดงานโมโตจีพี. สืบค้น 19 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.thairath.co.th/content/1392880.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.
บุหลันฉาย สมรรถนเรศวร, ชยุตม์ วะนา และ สุรพงษ์ วัชรจิต. (2562). กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันของโรงแรมและที่พักขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(3), 584-598.
ปรีชา วรารัตน์ไชย. (2562). กลยุทธ์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจเครื่องดื่ม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 322-332.
วรชาติ ดุลยเสถียร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย. Veridian E-Journal (มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(2), 2057-2070.
วริศรา วาริชวัฒนะ และ กุลเชษฐ์ มงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกที่พักแรมในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ของนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 107-118.
วีรพงศ์ ชูวงษ์วาลย์. (2560). พฤติกรรมและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวและเลือกที่พักของกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ศจีนาฏ เรืองกุน, ศุภธิดา หัสดิน และ พบกานต์ อาวัชนาการ. (2564). ศักยภาพของโครงการ “เราด้วยด้วยกัน” จากมุมมองของนักท่องเที่ยวไทยและผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 75-90.
ศศิกานต์ แป้นประสิทธิ์, จิณห์จุฑา จรัสอภิรัตกุล, เดชกรณ์ โกศลสุรเสนีย์, สุชานาถ ภู่วพงษ์ศิริ และ ทัชชกร สัมมะสุต. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของ ผู้บริโภคร้าน มองช้างคาเฟ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(2), 324-338.
ศุภกฤต ปิติพัฒน์. (2561). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความเป็นเมืองน่าอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 78-90.
สิริทิพย์ ฉลอง. (2560). ธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน.
สุปราณี ลาบบุญเรือง, เสาวลักษณ์ จิตติมงคล และ ยุพาภรณ์ ชัยเสนา. (2564). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการ ดำเนินธุรกิจโรงแรมโดยรวมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 170-183.
Krejcie, R, v. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Porter, M.E. (2005). The Competitive Advantage Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.