แนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะรอบอ่างห้วยหินเหิบ กรณีศึกษา บ้านหนองโจด ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

สุกัญญา อัตถาชน
พิมพ์พร ภูครองเพชร
นิรันดร คำนุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบ และเพื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกภาคสนาม และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบอ่าง ตัวแทนชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองโจด และผู้นำชุมชน จำนวน 57 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบ มีความเป็นมาในการใช้พื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดยชาวบ้านเข้าไปบุกเบิกถางป่าเพื่อทำการเกษตรเพาะปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ต่อมาได้เข้าไปถางป่าเพิ่มเพื่อจับจองพื้นที่มากขึ้นเต็มรอบอ่าง ต่อมากรมป่าไม้เข้ามาดำเนินการจัดการการใช้พื้นที่ และทำข้อตกลงร่วมกันกับชาวบ้าน อีกทั้งกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาสนับสนุนในเรื่องของการขุดลอกอ่าง และปรับหน้าดินเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับชาวบ้านที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ หลังขุดลอกอ่างและปรับหน้าดินได้มีการประชาคมร่วมกับชาวบ้าน เพื่อจัดสรรพื้นที่ร่วมกัน ส่วนแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบ พบว่า การใช้ประโยชน์พื้นที่รอบอ่างห้วยหินเหิบ มีผู้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่จำนวน 45 คน และมีการแบ่งพื้นที่คนละ 2 งาน เท่าๆ กัน ในการทำเกษตรกรรมซึ่งแต่ละแปลงมีการปลูกผักที่คล้ายกันหลายชนิด โดยเป็นการทำเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพรวมถึงสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว ซึ่งช่องทางการสร้างรายได้มีทั้งการขายในตลาด ขายในชุมชน ขายแบบฝากขาย ขายในแปลง และมีพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเข้ามารับซื้อเพื่อไปขายต่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลเกษตรเชิงรุก จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้น 10 มกราคม 2567. จาก https://www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/NE/mkm.pdf.

ชัชวาล สมจิตต์. (2559). การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักจัดการที่ดินของรัฐ.

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2557). คู่มือการพัฒนาที่ยั่งยืน. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วนิดา พรไพบูลย์. (2552). คำอธิบายที่ดิน ป่าไม้ เอกสารสิทธิในที่ดิน และการตรวจพิสูจน์สิทธิในที่ดิน. กรุงเทพฯ: อินเตอร์บุ๊คส์.

วรินทร นาสมใจ. (2556). แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะโคกหนองข่า อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. (การจัดการการเกษตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

สินาด ตรีวรรณไชย. (4 กรกฎาคม 2565). ทุนทางสังคม: ความหมายและความสำคัญ. สืบค้น 10 มกราคม 2567. จาก http://www.prachatai.com/journal/2005/01/2262/.