การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยความสำเร็จการดูแลสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จการดูแลสุขภาพกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความสำเร็จการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการเป็นสมาชิกกลุ่ม ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จการดูแลสุขภาพกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (rxy=.491) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยความสำเร็จการดูแลสุขภาพมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า มีความสอดคล้องที่ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). การดูแลผู้สูงอายุ. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/741.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ผู้สูงอายุในระดับพื้นที่.สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.dop.go.th/th.
เกษม เที่ยงรอด. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(6), 252-264.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). อยู่อย่างไรให้เป็นสุขในวัยสูงอายุ. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06162014-1444.
งามเนตร เอี่ยมนาคะ. (2564). มาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในสถานพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 124.132.
เจษฎา นกน้อย. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 94-105.
เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่. (2566). สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ. สมุทรปราการ: สำนักปลัดเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.
บรรลุ ศิริพานิช. (2542). คู่มือเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2552). ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทยูเนี่ยนครีเอชั่น จำกัด.
ภัทรพร ธนาคุณ และ บัวทอง สว่างโสภากุล. (2563). ความหวัง ความยืดหยุ่น ทักษะทางสังคม และความสำเร็จของการเป็นผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง จังหวัดนนทบุรี. Journal of Social Sciences and Humanities Research in Asia, 26(3), 205-228.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ศตพร เพียรวิมังสา. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในหมู่บ้านดอนเซ่ง ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 3144-3156.
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดฉบับทบทวน 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565). สมุทรปราการ: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ. (2566). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดปราการ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://samutprakan.m-society.go.th/wp-content/uploads/2023/10/รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสมุทรปราก.pdf.
สำนักปลัดเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่. (2566). รายงานประจำปี 2566. สมุทรปราการ: เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.
สุภาภรณ์ ทันธอัถต์, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และ ศุภชัย ปิติกุลตัง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(1), S5-S13.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
WHO. (2022). Ageing and health. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-andhealth.