แนวทางการต่อยอดภูมิปัญญาฮูปแต้มวัดไชยศรีในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ศิวกร โคตรทา
ภัทรพร วีระนาคินทร์
กิตติธัช สุวรรณเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทด้านเศรษฐกิจ และบทบาทของฮูปแต้มที่มีต่อเศรษฐกิจของชุมชนสาวะถี และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นลวดลายฮูปแต้มวัดไชยศรี ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการท่องเที่ยวภายในชุมชนสาวะถี จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณาเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบบเศรษฐกิจของชุมชนสาวะถี แบ่งเป็น 2 ยุค ยุคแรกยุคสาวะถีพัฒนา ช่วงปี พ.ศ. 2424 ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ต่อมาเป็นยุคของกระแสโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2530 การเข้ามาตั้งโรงงานแหอวนทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนเลิกประกอบอาชีพเกษตรกรรม 2) ฮูปแต้มที่สิมวัดไชยศรีมีบทบาทอย่างมากต่อชุมชน ด้วยการถูกนำไปประกอบสร้างและการผลิตซ้ำผ่านกระบวนการคิดการออกแบบ จึงทำให้กลายมาเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน สร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนได้ การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการต่อยอดภูมิปัญญา ได้แก่ 1) การลดการยึดติด และการปรับรูปแบบ เพื่อลดการแช่แข็งวัฒนธรรม 2) การเปิดพื้นที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทและในการพัฒนาผ่านการขับเคลื่อนหรือการมีส่วนร่วมของ “บวร” บ้าน วัด และโรงเรียน มาเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในชุมชน และ 3) การประยุกต์ศาสตร์และศิลป์ บูรณาการให้เข้ากับด้านอื่นๆ โดยการนำฮูปแต้มเป็นสื่อกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติมา อังกุรวัชรพันธุ์ และ กิ่งกนก เสาวภาวงศ์. (2561). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวบนฐาน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(20), 29-42.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย นานาชาติ, 13(2), 25-46.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. ขอนแก่น: ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไวพจน์ ดวงจันทร์, จุฑามาส ทองบัวร่วง และ ภูมิพัฒน์ ชมภูวิเศษ. (2558). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า จากการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของที่ระลึก : กรณีศึกษาแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(2), 1-7.

สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล. (2564). หิมพานต์มาร์ชเมลโล่ โมเดลแก๊งสัตว์เฝ้าโบสถ์วัดไทยที่อยากคืนกำไรให้วัดและชุมชน. สืบค้น 10 เมษายน 2566. จาก https://adaymagazine.com/himmapan-marshmallow/.

อรรคพล เชิดชูศิลป์. (2557). ศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ศิลปะดิจิตอล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 1(2), 152-167.

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 90-100.

Moustakas, C. (1994). Phenomenological research methods. New York: Sage publications.