เกวียน : ยานพาหนะขนส่งยุคโบราณสู่ซากปรักหักพังในพิพิธภัณฑ์ยุคปัจจุบัน

Main Article Content

พระคมสัน เจริญวงค์
เอนก ใยอินทร์
กำพล ศรีโท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งทางบกในอดีตและปัจจุบัน โดยมีเกวียนเป็นพาหนะขนส่งและการเดินทางที่สำคัญในยุคโบราณสู่การเป็นซากปรักหักพังตั้งโชว์ภายในพิพิธภัณฑ์ในยุคปัจจุบัน เส้นทางการเดินทางที่สำคัญที่สุดในยุคโบราณ คือ “เส้นทางเกวียน” ใช้เป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางไปมาหาสู่ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน เกวียนเป็นพาหนะที่มีมูลค่า ราคาแพง มีความต้องการครอบครองเป็นเจ้าของสูงมาก เป็นเครื่องมือแสดงถึงความหรูหราและความมั่งคั่งทางสังคม เป็นพาหนะขนส่งสินค้าสำหรับการค้าการขายระหว่างเมืองต่อเมือง และมีความสำคัญต่อการเดินทางอพยพย้ายถิ่นฐานทำกิน เป็นที่สำหรับอยู่อาศัยหลับนอน พักผ่อน หลบแดด หลบฝน ฯลฯ ในยุคปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งทางบกจากรัฐบาลทำให้ถนนหนทางสำหรับการขนส่งและการเดินทางสะดวกสบายมากขึ้น มีเส้นทางหลักและเส้นทางรองเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ คนส่วนใหญ่ได้ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยหันไปใช้รถยนต์หรือรถบรรทุกเพื่อการขนส่งและการเดินทาง เกวียนและวัวเทียมเกวียนได้ค่อยๆ หมดความสำคัญกับการเป็นพาหนะสำหรับขนส่งและการเดินทาง วัวเทียมเกวียนถูกขายไปสู่โรงฆ่าสัตว์ เกวียนถูกขายเป็นของประดับตกแต่งบ้าน และตั้งโชว์ไว้ตามพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับคนในยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทางหลวง. (2560). ระบบหมายเลขทางหลวง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/dAmbl.

กรมทางหลวงชนบท. (2567). ความเป็นมาของกรมทางหลวงชนบท. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://drr.go.th/?page_id=15.

กัลยาณี ถนอมแก้ว. (2564). ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรม. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.gotoknow.org/posts/692266.

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2566). ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/X0V5j.

ชิลวี มาดดาลีนา ฮอลลิงกา. (2524). การจัดการชลประทานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชุตินันท์ ทองคำ. (2556). การค้าแบบกองเกวียน ณ เมืองนครราชสีมา. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.gotoknow.org/posts/551148.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2545). พ่อค้าวัวต่าง : ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ.2389-2503). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น.

เชียงใหม่นิวส์. (2562). “วัวล้อ” ขบวนเกวียนขนส่งสินค้าในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/895581#google_vignette.

ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์. (2560). เศรษฐกิจการเมืองของการตัดถนนในพระนคร สมัยรัชการที่ 1-5. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ติ๊ก แสนบุญ. (2566). “เกวียนอีสาน” ผสานวิถีชีวิตและภูมิปัญญาลีลาช่างจนมีลักษณะสวยงามกว่าเกวียนภาคอื่น. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_77435

ไทยรัฐออนไลน์. (2553). พระอัจฉริยะเรื่องน้ำของ ร.5. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/120841.

ธวัชชัย ทำทอง. (2564). ช่างทำเกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/5p8H0.

นักรบ มูลมานัส. (2561). กรุงเทพฯ ราตรี จุดเริ่มต้นการท่องราตรีของชาวกรุงรุ่นปู่ย่าตาทวดที่มาพร้อมการตัดถนน รถราง ไฟฟ้า และรถยนต์. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://readthecloud.co/notenation-4/.

ผู้จัดการออนไลน์. (2556). เด็กหนีตายอลหม่าน “วัวเทียมเกวียน” พุ่งเข้าหากลุ่มคนขณะนั่งชมการแข่งขัน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://mgronline.com/local/detail/9560000020023.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). พระปิยมหาราชกับการขุดคลอง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://mgronline.com/daily/detail/9630000108315.

พระโพธิวงศาจารย์ (ติสโส อ้วน). (2469). ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ : ว่าด้วยยานพาหนะทางก (เกวียน). สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/pJYQO.

พาฝัน หน่อแก้ว. (2563). “กบฏผีบุญ” วาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยรัฐไทยและเมื่อเพิ่มคำว่ากบฏมาด้วย นั่นหมายความว่าสามารถฆ่าได้. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://themomentum.co/feature-pheeboon/.

พิชชา ทองขลิบ. (2564). เกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=200.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 33 คลองขุดในประเทศไทย. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=33&chap=3&page=t33-3-infodetail03.html.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 36 คำเรียกเกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/fiYvb.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 36 โครงสร้างและส่วนประกอบของเกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=36&chap=3&page=t36-3-infodetail04.html.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2516). สารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 36 ประโยชน์ใช้สอยของเกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=36&chap=3&page=t36-3-infodetail06.html.

เมธินี จิรวัฒนา. (2567). ถนนเจริญกรุง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/0VaYx.

เรืองศักดิ์ ละทัยนิล. (2546). ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับควาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โรม บุญนาค. (2566). สมัยไม่มีถนนไม่มีรถ เสนาบดีขี่ม้านั่งเกวียนไปตรวจราชการ แต่ก็หาที่ตั้งศาลากลางได้ทั่วประเทศ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000042983.

วิภา จิรภาไพศาล. (2564). รัชการที่ 5 ทรงอนุญาตขุด “คลองรังสิต” ในทุ่งหลวงเหนือกรุงเทพฯ ที่มีโขลงช้างและไข้ป่า. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/730ob.

วิโรฒ ศรีสุโร. (2556). พิพิธภัณฑ์เกวียนอาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://nm.sut.ac.th/koratdata/?m=detail&data_id=1619.

ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชา เศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง. (2552). สถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://shorturl.asia/84gcG.

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. (2534). คำให้การขุดหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สมชาย นิลอาธิ. (2554). เกวียน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://saranukromthai.or.th/Ebook/BOOK36/pdf/book36_3.pdf.

สันติ ภัยหลบลี้. (2566). สืบเส้นทางเกวียนโบราณ จากศาสตร์ ภูมินาม-ภูมิสารสนเทศ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.mitrearth.org/24-70-toponymy-kwean/.

สำลี รักสุทธี. (2551). ผญา (ฉบับมีคำแปลเป็นภาษากลาง) : ปรัชญาการดำเนินชีวิตอันล้ำค่าของชาวอีสาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

อาทิพร ผาจันดา. (2564). 100 ปี ถนนเจริญกรุงกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2411-2511). (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Candace Osmond. (2024). All Roads Lead to Rome-Origin & Meaning. Retrieved 17 March 2024. from https://grammarist.com/proverb/all-roads-lead-to-rome/.

Dailymail. (2019). Now THAT'S a donkey ride! Mule is hoisted up and sent speeding through the air after car crashes into its cart in India. Retrieved 21 March 2024. from https://shorturl.asia/QCO6f.

Jahnavi Kakuturu and Alper Toker. (2022). Do all roads lead to Rome. European Journal of Cardio-Thoracic Surgery, 62(1), 338.

Paul Steele. (2022). The Guernsey Wagon Ruts of the Oregon Trail. Retrieved 15 March 2024. from https://www.baldhiker.com/the-guernsey-wagon-ruts-of-the-oregon-trail/.

The Telegraph India. (2022). Car hits horse carriage on Red Road, woman and two daughters from Odisha injured. Retrieved 21 March 2024. ดrom https://shorturl.asia/dcn7k.