พฤติกรรมการออมของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

Main Article Content

เกรียงไกร สุประดิษฐ์
ณัฐวรรณ มัจฉาเกื้อ
กนกลักษณ์ สารนารถ
วิลรดา ปาทาน
พัชรี ปรีเปรมโมทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของนิสิตคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่.แบบสอบถามแบบปลายปิด ประชากรของการศึกษานี้ คือ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างอ้างอิงตามสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 316 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีรายรับรวมต่อเดือนโดยที่ไม่รวมค่าที่พักจากครอบครัวต่ำกว่า 7,500 บาท/เดือน โดยมีค่าใช้จ่ายตามจำนวนของรายรับ ซึ่งส่งผลให้นิสิตส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม และมีเงินออมต่ำกว่า 500 บาท/เดือน ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่า นิสิตส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการวางแผนการออม สำหรับนิสิตกลุ่มที่มีการออมมักจะออมในรูปแบบของการเก็บเงินไว้กับตนเอง และฝากธนาคาร ซึ่งผู้ที่มีอิทธิพลต่อการออมมากที่สุด คือ ตนเอง รองลงมาได้แก่ บิดา/มารดา เพื่อน และคนรัก ตามลำดับ ส่วนในกรณีของนิสิตที่ไม่มีการออม มีสาเหตุหลัก คือ การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รองลงมา คือ มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย และมีภาระหนี้สิน ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป้าหมายของการออมเงิน พบว่า นิสิตออมเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เช่น ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินใช้ในกรณีที่ครอบครัวมีปัญหาหรือขัดสนทางการเงิน และใช้ในกรณีของการเจ็บป่วย รองลงมา คือ ออมเงินเพื่อการจับจ่ายใช้สอย และเพื่อการเก็งกำไร ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติการ สุขบาง. (2558). การแบ่งกลุ่มพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และอิทธิพล ที่มีผลกระทบต่อการออมและการใช้จ่ายเงิน. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). สถิตินิสิต. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/home.asp.

ดวงกมล สุวรรณล้วน. (2562). ความสนใจและความตระหนักรู้ในการวางแผนการออมเงินกับพฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

พิมพ์จันทร์ ชวดจะโป๊ะ, ทับทิม พิมพ์สาลี, พัชริดา โสมาศรี และ อทิยา สุทธิพงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออมของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/pdf/20211019092529.pdf.

วัลลพ ล้อมตะคุ, สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์ และ สิริเกียรติ รัชชุศานติ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเงินออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(51), 192-204.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการติดตามระดับความรู้ และการเข้าถึงบริการทางการเงินของครัวเรือน พ.ศ. 2565. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20231115075919_49757.pdf.

Yamane, T. (1973). Statistics An Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.