ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการออมเพื่อวัยสูงอายุของประชากรวัยทำงาน ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

สุเทพ คำเมฆ
กฤติมา อินทะกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการออมเพื่อวัยสูงอายุของประชากรวัยทำงาน โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ เป็นประชากรวัยทำงาน อายุระหว่าง 30-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 398 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วยการด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม (Binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการออมเพื่อวัยสูงอายุ ได้แก่ สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพเสริม ความยากจน การมีหนี้สิน เป็นปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการออมเพื่อวัยสูงอายุของประชากรวัยทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณึงนิจ พลคำมาก. (2565). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเพื่อวางแผนก่อนวัยเกษียณอายุของเจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน).

ชลธิชา อัศวนิรันดร. (2552). การออมเพื่อความมั่นคงยามสูงวัย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

เนษพร นาคสีเหลือง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

บุษยวรรณ กุลยวน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมก่อนวัยเกษียณของประชาชนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2561). ประชากรไทยในอนาคต. สืบค้น 4 มีนาคม 2566. จาก www.ipsr.mahidol.ac.th.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 11(1), 3061-3074.

ศาตธัช เลขะวณิช. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินใช้ในยามเกษียณอายุของข้าราชการกรมสรรพากร (สำนักงานใหญ่). (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2562). หนี้ครัวเรือนของประเทศไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2562. สืบค้น 4 มีนาคม 2566. จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=46430.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การออมภาคครัวเรือนของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2561. สืบค้น 4 มีนาคม 2566. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages

สุพัตรา สมวงศ์. (2559). ศึกษาการออมเพื่อวัยเกษียณของลูกค้าธนาคารทหารไทยจํากัด (มหาชน) จังหวัดพะเยา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

อนพัทย์ หนองคู และ พรวรรณ นันทแพศย์. (2559). การวิเคราะห์รูปแบบการออมสำหรับวัยสูงอายุในประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(1), 145-153.

อนพัทย์ หนองคู และพรวรรณ นันทแพศย์. (2559). การวิเคราะห์รูปแบบการออมสำหรับวัยสูงอายุในประเทศไทย และต่างประเทศ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 145-153.

อภิชญา จิ๋วพัฒนกุล, วรางคณา อดิศรประเสริฐ และ ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(6), 178-194.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.