การปราบชฎิล 3 พี่น้อง : กรณีควบรวมกิจการทางพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเปรียบเทียบและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล คือ พระพุทธเจ้าทรงปราบชฎิล 3 พี่น้อง กับ กรณีการควบรวมกิจการของเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม 2 ยักษ์ใหญ่ คือ True และ Dtac ที่มีการรวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่และไม่แข่งขันกันเอง ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 กรณี ที่มีความคล้ายคลึงกันทำการเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น พฤติกรรมและรูปแบบการต่อรองข้อได้เปรียบ/เสียเปรียบ การเจรจาข้อตกลงร่วมกัน เป็นต้น จนนำไปสู่การยินยอมทำข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย สะท้อนภาพให้เห็นรูปแบบการควบรวมกิจการแบบนักบวชสมัยพุทธกาลและการควบรวมกิจการของนักธุรกิจสมัยใหม่ การนำเสนอเกี่ยวกับการควบรวมกิจการในพระพุทธศาสนาเป็นการตีความจากผู้เขียน โดยนำเอาเหตุการณ์ที่มีบันทึกไว้ในหนังสือพุทธประวัติมาสะท้อนผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นภาพสะท้อนของเหตุการณ์ที่แตกต่างออกไปจากการเรียนด้วยการท่องจำแบบดั้งเดิม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการศาสนา. (2546). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กรมการศาสนา. (2546). พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กัญญาภัทร สังขรชัฎ. (2561). กรณีศึกษาการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารสัญชาติญี่ปุ่นกับธนาคารสัญชาติไทย. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหวิทยาลัยมหิดล).
ไทยรัฐออนไลน์. (2566). ทรู คอร์ปอเรชั่น แถลงวิสัยทัศน์ใหม่ หลังควบรวมเสร็จสมบูรณ์. สืบค้น 17 กันยายน 2566. จาก https://www.thairath.co.th/money/business_marketing/corporates/2643990.
ธนาคารธหารไทยธนชาติ. (2564). ทีเอ็มบี และธนชาต สองธนาคารกับรากฐานที่แข็งแกร่ง รวมกันเป็นหนึ่ง. สืบค้น 17 กันยายน 2566. จาก https://www.ttbbank.com/th/about-us/history.
พงศธร เจียรประดิษฐ์. (2560). การศึกษาเหตุจูงใจในการควบรวมกิจการของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2554). คำวัด. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://www.komchadluek.net/amulet/93497
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์. (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
มติชนออนไลน์. (2566). ดุลยภาพ ดุลยพินิจ: พระพุทธเจ้าสอนชฎิล. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566. จาก https://www.matichon.co.th/article/news_4029071.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2549). พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิอุทยานธรรม. (2566). ชฎิล 3 พี่น้อง. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://uttayarndham.org/.
ยูทูบ (You Tube). (2566). พระพุทธเจ้า : โปรดชฎิล 3 พี่น้อง ผู้ถือลัทธิบูชาไฟ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก https://www.youtube.com/watch?v=E--FrAJ2x14&t=19s.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2564). พุทธวิธีในการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
หน่วยงานสารสนเทศมะเร็ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. (2566). ดวงตาเห็นธรรม. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566. จาก http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=120&typeID=22&form=9.
Arijit Mukherjee. (2023). Merger and product innovation under cross ownership and cooperative R&D. Economics Letters, 233, 1-3.
Brough, J. (1950). Thus have I heard. Bulletin of the School of Oriental and African Studies, 13(2), 416-426.
C.B. Varma. (2002). Bimbisara / बिम्बिसार. สืบค้น 11 ตุลาคม 2566. จาก https://ignca.gov.in/coilnet/jatak092.html.
N. Gregory Mankiw. (2002). Principles of Economics. (3rd ed.). Mason Ohio: Thomson Southwestern.