การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสร้างสรรค์หมู่บ้านพอเพียง บ้านดงเค็ง หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ไชยา หอมอ่อน
พิมพ์พร ภูครองเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงานกลุ่มสร้างสรรค์หมู่บ้านพอเพียงดงเค็งหมู่ที่ 7 ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยประธาน กรรมการ สมาชิก ผู้นำชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มสร้างสรรค์หมู่บ้านพอเพียงดงเค็ง หมู่ที่ 7 จดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2563 กิจกรรมหลักในกลุ่มคือการทอผ้าไหม มีการบริหารจัดการภายในที่ดี และกลุ่มได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐเป็นอย่างดี กิจกรรมภายในกลุ่มมีตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม มีการนำวัสดุธรรมชาติต่างๆ มาใช้ในการย้อมสีผ้าไหม ศักยภาพที่มีผลต่อการดำเนิน มี 2 ส่วน ศักยภาพภายในเกี่ยวกับคน การบริหารจัดการทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในการผลิตส่งผลในด้านการผลิตของกลุ่ม ศักยภาพภายนอกเกี่ยวกับหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน โอกาสที่ได้รับเพื่อการพัฒนากลุ่มให้ดีขึ้น ปัญหา อุปสรรค คือ ปริมาณน้ำไม่พอเพียง และฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลให้การปลูกหม่อนที่ใช้เป็นอาหารของไหมไม่เพียงพอทำให้เลี้ยงไหมได้ปริมาณน้อยลง อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 ที่ส่งผลไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมพัฒนาชุมชน พ.ศ2560 – 2564. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564. จาก https://plan.cdd.go.th/wpcontent/uploads/sites/97/2017/05/yut60-64.pdf.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และ อุทิศ สังขรัตน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตทะเลสาบ. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 10(1), 97-122.

ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10 (2550 – 2554). กรุงเทพฯ: เดอะบุ๊คส์.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2563). ศักยภาพที่มีผลต่อศักยภาพขององค์กรส่งเสริมให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564. จาก http://www.ejobeasy.com.

อภิชาติ มหาราชเสนา. (2551) กระบวนการจัดการกลุ่มสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาบ้านธูปสมุนไพร ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business model generation: a handbook for visionaries, game changers, and challengers. England: John Wiley & Sons.