พฤติกรรมการเดินทางและความเต็มใจที่จะจ่ายของรถโดยสารสาธารณะ: กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

Main Article Content

ชนิสรา สาริชีวิน
ญาณิศา แหยมเกิด
ถนอมขวัญ อินทร์ศิริ
ธนภัทร บุญเนาว์
พัชรี ปรีเปรมโมทย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทาง (2) เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายของการเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในการเดินทางของรถโดยสารสาธารณะ ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จากมหาวิทยาลัยไปสถานีขนส่งจังหวัดจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่เดินทางโดยใช้รถส่วนตัว รองลงมา ได้แก่ อาศัยรถเพื่อนหรือคนรู้จัก รถรับจ้างส่วนบุคคล และจ้างเพื่อนหรือคนรู้จัก ตามลำดับ ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่มีความถี่ของการเดินทางอยู่ที่ 1 ครั้ง/ เดือน และมักจะเดินทางในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ – อาทิตย์) ค่าใช้จ่ายของนิสิตในการเดินทางเฉลี่ยเท่ากับ 154 บาท/ครั้ง ในขณะที่ราคาที่ยินดีจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 117.50 บาท/ครั้ง ซึ่งต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของการเดินทางในปัจจุบัน ปัญหาหลักและข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ไม่มีรถขนส่งสาธารณะ รองลงมา ได้แก่ การที่ไม่มีพาร์ทเนอร์ผู้ขับขี่ (Driver) กดรับในแอปพลิเคชั่นแกรปคาร์ (Grab Car) ค่าบริการไม่เหมาะสมกับระยะทาง และสภาพอากาศไม่อำนวยต่อการเดินทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยาภรณ์ เทพาศักดิ์. (2553). ปัจจัยภายในผู้เดินทางที่มีผลต่อการเลือกใช้รถขนส่งสาธารณะ กรณีศึกษาเทศบาลขอนแก่น. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

กองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). สถิตินิสิต. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/home.asp.

ฐาปกรณ์ นาคปานเอี่ยม. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะสำหรับเดินทางมามหาวิทยาลัยรามคำแหงของนักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-8/6114154017.pdf.

นภดล แสงแข, สิทธิชัย ศรีเจริญประมง, นันทภัค บุรขจรกุล, ภานิตา โพธิ์แก้ว และ กรรณิกา สุขสมัย. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริการรถโดยสาธารณะ จังหวัดจันทบุรี (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วรรณิภา คุดสีลา. (2559). ทางเลือกสาธารณะว่าด้วยการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(3), 369-396.

ศุภกร สุทธิพันธ์. (2557). การพัฒนาแบบจำลองรูปแบบการเดินทางระหว่างรถส่วนบุคคลกับรถโดยสารประจำทางในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อนุภาค เสาร์เสาวภาคย์, ชูเกียรติ ชัยบุญศรี และ วรวรรณ บุญเสนอ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การใช้บริการรถสาธารณะ (สี่ล้อแดง) กรณีศึกษา: กลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ, 28(1), 17-31.

Zhou, J. (2012). Sustainable commute in a car-dominant city: Factors affecting alternative mode choices among university students. Transportation research part A: policy and practice, 46(7), 1013-1029.