การเข้าปริวาสกรรมในสังคมไทยอีสานจากอดีตสู่ปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการเข้าปริวาสกรรมในสังคมไทยอีสานจากอดีตสู่ปัจจุบัน การเข้าปริวาสกรรมในอดีตเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อชำระล้างมลทิน ปลดเปลื้องอาบัติหนักที่มีโทษมากคือ อาบัติสังฆาทิเสสโดยตรง ภิกษุผู้อยู่ปริวาสกรรมเองก็จะหลีกเร้นจากการคลุกคลีด้วยหมู่คณะไปอยู่แต่เพียงรูปเดียวในที่สงบสงัดเพื่อผลในการปลดเปลื้องตนเองจากอาบัติ มีการลงโทษแก่ภิกษุผู้เข้าปริวาสกรรมแล้วประพฤติตนออกนอกกรอบแห่งพระธรรมวินัยข้อวัตรปฏิบัติอย่างชัดเจน และไม่มีการจัดพิธีกรรมอื่นๆ เช่น การบวชชีพราหมณ์ พุทธาภิเษกและการสะเดาะเคราะห์ เป็นต้น ของการเข้าปริวาสกรรมในอดีตของสังคมไทยอีสาน ซึ่งแตกต่างจากการเข้าปริวาสกรรมในปัจจุบันอย่างชัดเจน เพราะปัจจุบันจะเป็นลักษณะรูปแบบของบุญประเพณีทำกันเป็นหมู่คณะ มีจุดมุ่งหมายมากกว่าหนึ่งอย่างคือ ทั้งต้องการปลดเปลื้องอาบัติที่มีโทษมากและต้องการจะอบรมให้ความรู้ในข้อวัตรปฏิบัติพระธรรมวินัย และพระกรรมฐานแก่พระภิกษุสงฆ์และประชาชนผู้สนใจ มีการประชาสัมพันธ์ให้พระภิกษุสงฆ์รวมทั้งประชาชนให้มาเข้าร่วมในบุญเข้าปริวาสกรรมนี้ให้มากที่สุด เพื่อผลคือจะได้เป็นกำลังในการจรรโลงและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ไม่มีบทลงโทษใด เป็นความประนีประนอม อะลุ่มอล่วยระหว่างกัน มีการจัดพิธีกรรมอื่น เช่น พิธีบวชชีพราหมณ์ พุทธาภิเษกและพิธีกรรมการสะเดาะเคราะห์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้จุดมุ่งหมายในการเข้าปริวาสกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) และ ระวี ภาวิไล. (2532). พุทธบริษัทกับพระธรรมวินัย. กรุงเทพฯ: ปัญญา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระภานุพงศ์ อนุตฺตโร (โคตรศรีกุล). (2555). ศึกษาการอยู่ปริวาสกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาวัดสระพังทอง จังหวัดนครพนม. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาไพทูล อตฺถวํโส (วงศ์อามาตย์). (2545). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การประพฤติวุฏฐานวิธีในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาวิจิตร ธีรญาโณ. (2556). การศึกษาการเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาสม สิริปุญฺโญ. (2539). ปริวาสทำไม? ทำไมปริวาส?. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
พระมหาสมชัย รตนญาโณ. (2542). ปริวาสกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2517). วินัยมุข เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมพร พิมรัตน์. (2540). ประเพณีบุญเข้าปริวาสกรรมอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
หลวงปู่จันทา ถาวโร. (2555). พระวินัย 227 เทศน์ภาคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศิลปะสยามบรรจุภัณฑ์ และการพิมพ์จำกัด.