วิเคราะห์การสังคมสงเคราะห์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาในเชิงกรณีตัวอย่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการสังคมสงเคราะห์ตามแนวทางพระพุทธศาสนา และ (2) เพื่อวิเคราะห์การสังคมสงเคราะห์ตามแนวพระพุทธศาสนาในเชิงกรณีตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ได้ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนทั้งด้านวัตถุทานและธรรมทาน การสงเคราะห์ด้านวัตถุทานเพื่อเป็นปะโยชน์สุขแก่ประชาชนผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4 และให้ธรรมเป็นทานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักพุทธธรรมซึ่งสามารถนำไปแก้ปัญหาชีวิตประจำวันได้ลักษณะของการสงเคราะห์เน้นพลีกรรม 5 หลักการสงเคราะห์ถือหลักประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งและวิธีการสงเคราะห์ประกอบด้วยการให้สิ่งของการให้อภัยทานและให้วิทยาทาน ส่วนการสงเคราะห์ตามแนวพระพุทธศาสนาในเชิงกรณีตัวอย่าง สามารถสรุปได้ว่า พระครูสุตศาสนการ ให้การสงเคราะห์ประชาชนผู้ติดสุราและสิ่งเสพติดทุกประเภท ที่ผ่านกระบวนการบำบัดด้วยหลักไตรสิกขาคือให้ผู้ป่วยถือศีล ฝึกสมาธิและรู้จักใช้ปัญญาแก้ปัญหาชีวิต อีกทั้งยังใช้สมุนไพรบำบัดจิตบำบัด พระครูศีลวราภรณ์ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ เช่น ให้เข้าอาศัยในวัด จัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมให้เรียนจนจบปริญญาตรีมีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ และพระปพนพัชร์ จิรธมฺโม ให้การสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายและให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตาม 6 อ คือ กำหนดรู้อิริยาบถพื้นฐานทั่วไป กำหนดอารมณ์ กำหนดรู้อาหาร กำหนดรู้อาการ กำหนดรู้อริยสัจ 4 และกำหนดรู้อาทร จนถึงปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่มาข้องเกี่ยวกับชีวิตตน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จรินทร์ ยังสังข์. (2541). บทบาทพระสงฆ์ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พระกอบชัย เขมานนฺโท (แซ่อึ้ง). (2551). การศึกษาบทบาทพระครูศีลวราภรณ์ (เฉลิม ฐิติสีโล) ในการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาเยาวชนไทย. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระครูสุวรรณวรการ. (2553). การศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). ธรรมกับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม.
พระมหาไพฑูรย์ อุทัยคาม. (2546). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องทานตามหลักจริยศาสตร์กับความเข้าใจ เรื่องทานของชาวไทยพุทธ : ศึกษาเฉพาะกรณีในกรุงเทพมหานคร. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
พระวัชรินทร์ กตธมฺโม (วงศ์วรรณ). (2553). การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทาง ของพระปพนพัชร์ จิรธมฺโม (ภิบาลพักตร์นิธี) วัดคำปะมง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมัย บุษราคัม. (2551). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การแก้ปัญหาการดื่มสุราของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาชุมชน : ศึกษากรณีโครงการหมู่บ้านปลอดสุราของอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).