สังคมผู้สูงอายุกับวิถีพุทธ: การเดินทางแห่งปัญญาและความเมตตา

Main Article Content

จิรายุ สุวรรณะ
สุริยา เดชเกิด
เตือนใจ ขุนทอง
ธงชัย ใจสบาย
พระอัษฏาวุธ ถ้วยครบ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
เดโช แขน้ำแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “สังคมผู้สูงอายุกับวิถีพุทธ: การเดินทางแห่งปัญญาและความเมตตา” ผู้สูงอายุเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคม การจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งด้านปัจจัยเงินทอง หรือการพาไปยังสถานที่ต่างๆ รวมไปถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และมีความรู้สึกว่าตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยผู้สูงอายุเองก็ต้องตระหนักในเรื่องของการปรับตัว การใช้จ่าย การรู้เท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การที่จะมีความสุขในวัยที่มากขึ้น ผู้สูงอายุต้องทำการศึกษาและเรียนรู้เข้าใจในวิถีพระพุทธศาสนา โดยประยุกต์หลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาและวิถีปฏิบัติธรรมในชีวิต เช่น การไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เกิดความสมดุลทั้งสุขภาพกายใจ อารมณ์ และสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในวัยชราที่มีความปรารถนาให้ตนพ้นจากความทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจนั้น ในความเป็นจริงยิ่งอายุมากขึ้นความทุกข์ต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย เพราะความทรุดโทรมของร่างกาย การป่วยกายโดยไม่ป่วยใจย่อมเป็นเป้าหมายในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น ทุกภาคส่วนควรส่งเสริมกิจกรรมหรือการเสริมสร้างโรงเรียนสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชุมชนต้องร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมสุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุให้มีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธิดารัตน์ นวลเดช. (2561). การเปรียบเทียบความสุขของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุกับผู้สูงอายุในชุมชน เขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 7(1), 150-178.

บรรลุ ศิริพานิช. (2548). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.

ปณิสญา อธิจิตตา. (2564). โรงเรียนผู้สูงอายุกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. CRRU Journal of Communication, 4(3), 39-68.

ประคอง อินทรสมบัติ. (2539). การประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2(3), 44-57.

ประนอม โอทกานนท์ และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาศรี อนาวัน. (2553). ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารเบี้ยยังชีพในองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ฆนรส อภิญญาลังกร, กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ และ นิมัสตูรา แว. (2561). บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 300-310.

พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). พุทธธรรมบำบัด. กรุงเทพฯ: กองแพทย์ทางเลือก กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตตติโย (ปุณขันธ์), พระปลัดสมชาย ปโยโค (ดำเนิน), พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู), แม่ชีกุลภรณ์ แก้ววิลัย, โยตะ ชัยวรมันกุล และ ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(1), 83-96.

รัถยานภิศ พละศึก และ เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 135-150.

วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, กล้า สมตระกูล และ ปรารภ แก้วเศษ. (2557). การดูแลผู้สูงอายุวิถีพุทธ. สืบค้น 13 ตุลาคม 2566. จาก https://www.gotoknow.org/posts/566127.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. สืบค้น 13 ตุลาคม 2566. จาก https://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf.

สุรกุล เจนอบรม. (2534). วิทยาการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dupuis, K., Kousaie, S., Wittich, W., & Spadafora, P. (2007). Aging Research Across Disciplines: A Student-Mentor Partnership Using the United Nation Principles for Older Person. Educational Gerontology, 33(4), 273-292.

Hanvighurst, R.J., & Albrecht, R. (1953). Older People. New York: Long-mans.

Phalasuek, R. & Thanomchayathawatch, B. (2017). A Family Model for Older People Care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 135-150.

Thai Health Promotion Foundation. (2012). Pattern and family structure. Retrieved 13 October 2023. from http://www.thaihealth.or.th/Content/2043.