พุทธปรัชญาเถรวาทกับการพิจารณาปัญหาทางญาณวิทยาของวิกิพีเดีย

Main Article Content

เด่นพงษ์ แสนคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่าทีของพุทธปรัชญาเถรวาทกับการพิจารณาปัญหาทางญาณวิทยาของวิกิพีเดีย โดยเฉพาะปัญหาทางญาณวิทยาว่าด้วยคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน และข้อเสนอเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดียตามแนวทางของพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ คือ ศึกษาจากเอกสารและใช้วิธีการวิเคราะห์ วิพากษ์เชิงปรัชญา เพื่อค้นหาผลการวิจัย จากการวิจัยพบว่า พุทธปรัชญาเถรวาทมีท่าทีต่อปัญหาทางญาณวิทยาของวิกิพีเดียในลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ แม้พุทธปรัชญาเถรวาทจะยอมรับว่าวิกิพีเดียเป็นแหล่งที่มาของความรู้แหล่งหนึ่งตามแนวทางของการส่งผ่านคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน (Transmission of Testimony) แต่ท่าทีต่อการให้เหตุผลสนับสนุนคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน (Justification of testimony) ตามแนวทางของพุทธปรัชญาเถรวาทกลับไม่ครอบคลุม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพุทธปรัชญาเถรวาทยอมรับเฉพาะการให้เหตุผลสนับสนุนแบบลดทอนนิยม (Reductionism) เท่านั้น ในขณะที่การให้เหตุผลสนับสนุนคำบอกเล่าของประจักษ์พยานที่มาจากวิกิพีเดียควรเป็นไปตามแนวทางของปฏิเสธลดทอนนิยม (Anti-Reductionism) ด้วย ส่วนการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งานวิกิพีเดียเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความเชื่อที่จริงนั้น พุทธปรัชญามีท่าทีของการมีความรับผิดชอบเชิงญาณวิทยา (Epistemic Responsibilism) ของปัจเจกบุคคลเป็นสำคัญ งานวิจัยนี้ได้ข้อค้นพบที่ว่า การให้เหตุผลสนับสนุนคำบอกเล่าของประจักษ์พยานในกรณีของวิกิพีเดียควรเป็นไปในทั้ง 2 แนวทางคือ แนวทางลดทอนนิยมและปฏิเสธลดทอนนิยม และข้อค้นพบสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือว่า พุทธปรัชญาเถรวาทมีข้อจำกัดในการนำมาพิจารณาการให้เหตุผลสนับสนุนคำบอกเล่าของประจักษ์พยานซึ่งมีความไม่ครอบคลุม แต่สามารถให้ข้อเสนอแนะที่ดีได้ต่อการใช้งานวิกิพีเดียได้ตามแนวทางของการมีความรับผิดชอบเชิงญาณวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 12 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 13 สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมการศาสนา. (2514). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 20 สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

รามิล กาญจันดา. (2547). การวิเคราะห์หลักความเชื่อในกาลามสูตร, วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 11(2), 4-40.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2538). ความรู้ในทัศนะของพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 2(3), 42–52.

สมภาร พรมทา. (2539). มนุษย์กับการแสวงหาความรู้: ข้อเสนอจากพุทธปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติและบทบาทของความรู้. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 3(2), 5–28.

สมภาร พรมทา. (2560). พุทธปรัชญากับญาณวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อดิศร กรอบกระจก. (2558). การประเมินค่าทางญาณวิทยาของวิกิพีเดีย. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์. (2547). มโนทัศน์เรื่องเหตุการณ์อัศจรรย์ของเดวิด ฮูม. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Baehr, J. (2015). Cultivating good minds. A philosophical & practical guide to educating for intellectual virtues. Long Beach. Retrieved Desember 12, 2020, from http://intellectualvirtues.org/why-should-we-educate-for-intellectual-virtues-2-2/

Boudon, L., (2005). Humanities. London: Sage.

Burge, T. (1993). Content preservation. The Philosophical Review, 102(4), 457-488.

Carter, J. A., & Nickel, P. J. (2014). On Testimony and Transmission. Episteme, 11(2), 145-155.

Dummett, M. (1994). Testimony and memory. In Matilal, B. K., & Chakrabarti, A. (Eds.). Knowing from words: Western and Indian philosophical analysis of understanding and testimony (pp. 251-272). New York: Springer Science & Business Media.

Fallis, D. (2008). Toward an epistemology of Wikipedia. Journal of the American Society for Information science and Technology, 59(10), 1662-1674.

Fallis, D. (2009). Introduction: The epistemology of mass collaboration. Episteme, 6(1), 1-7.

Gelfert, A. (2014). A Critical Introduction to Testimony. London: Bloomsbury.

Graham, P. J. (2016). Testimonial Knowledge: A Unified Account. Philosophical Issues, 26(1), 172-186.

Gunn, S., (2011). Research Methods for History. Minnesota: University of Minnesota Press.

Hardwig, J. (1991). The Role of Trust in Knowledge. The Journal of Philosophy, 88(12), 693-708.

Heersmink, R. (2017). A Virtue Epistemology of The Internet: Search engines, Intellectual Virtues and Education. Social Epistemology, 32(1), 1-12.

Lackey, J. (2006a). Introduction. In Lackey, J. & Sosa, E. (Ed.). The Epistemology of Testimony. (pp. 1–24) Oxford: Clarendon Press.

Lackey, J. (2006b). Knowing from Testimony. Philosophy Compass, 1(5), 432-448.

Lackey, J. (2011). Testimony: Acquiring Knowledge from Others. In Goldman, A., & Whitcomb, D. (Ed.). Social Epistemology: Essential Readings. (pp. 71 – 91) Oxford University Press.

Lim, S. (2009). How and why do college students use Wikipedia?. Journal of the American Society for Information Science and Technology, 60(11), 2189-2202.

Ross, A. (1986). Why do we believe what we are told?. Ratio, XXVIII(1), 69-88.

Tollefsen, D. P. (2009). Wikipedia and the Epistemology of Testimony. Episteme, 6(1), 8-24.

Wray, K. B. (2009). The epistemic cultures of science and Wikipedia: A comparison. Episteme, 6(1), 38-51.

Zagzebski, L., & Depaul, M. (2003). Introduction. In DePaul, M. R., & Zagzebski, L. T. (Ed.). Intellectual virtue: Perspectives from ethics and epistemology (pp. 1-12). Oxford: Clarendon Press.