แนวทางการพัฒนาการจัดการภัยแล้งของครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่น : กรณีศึกษาบ้านเหล่าเกวียนหัก ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กัญญาณัฐ จตุเทน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสาเหตุของภัยแล้งในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่น (2) เพื่อศึกษาการจัดการและปัญหาการจัดการภัยแล้งของครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่น และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการภัยแล้งของครัวเรือนเกษตรกรในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ คัดเลือกจากครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร 10 ครัวเรือน วิเคราะข้อมูลโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุของภัยแล้งในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่นเกิดจากทั้งทางธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การเกิดปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงและฝนตกน้อยกว่าปกติในพื้นที่เป็นประจำทุกปี และการกลายเป็นเมืองในพื้นที่ชานเมืองขอนแก่นซึ่งเป็นการกระทำของมนุษย์ ส่วนการจัดการภัยแล้งของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเหล่าเกวียนหักมีอยู่ 3 วิธี คือ 1) การขุดบ่อน้ำตื้น-บ่อน้ำลึก 2) การปรับปรุงสภาพพื้นที่ดินโดยการขุดลอกหน้าดิน และ 3) การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ในพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง ปัญหาที่พบคือมีข้อจัดกัดในเรื่องงบประมาณของครัวเรือนเอง และจากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการภัยแล้งของครัวเรือนเกษตรกรบ้านเหล่าเกวียนหัก พบว่า มีแนวทางพัฒนาอยู่ 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ปลูกพืชทดแทนคือเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ปลูกพืชผักที่หลากหลาย 2) การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ หนองน้ำสาธารณะในหมู่บ้านส่วนใหญ่มักตื้นเขินจากน้ำที่ไหลลงชะล้างพาดินลงไป ตกตะกอนทับถมทุกปี ทำให้เก็บน้ำได้ไม่มากและมีน้ำไม่เพียงพอใช้ฤดูแล้ง ดังนั้นการขุดลอกจึงเป็นวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำให้สามารถสูบขึ้นไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของครัวเรือนเกษตรกรได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. สืบค้น 24 ธันวาคม 2565. จาก http://www.climate.tmd.go.th.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2564). สถิติปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย. สืบค้น 24 ธันวาคม 2565. จาก https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=55.

เกรียงศักดิ์ โชควรกุล. (2563). แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาวะภัยแล้งแบบบรูณาการของชุมชนบ้านนาฝาย ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์, 22(2), 127-148.

จีรนันท์ ยายะวงษ์ และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). แนวทางการบริหารจัดการปัญหาลัยแล้ง ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดงอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. Journal of Modern Learning Development มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 6(2), 86-99.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง และ วีระยุทธ โพธิ์ถาวร. (2558). โครงการศึกษาศักยภาพของคนเมืองในการรับมือกับภัยพิบัติ: กรณีศึกษาชุมชนคลองหวะ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารกรณีศึกษา: งานวิจัยในไทยด้านการรับมือของเมืองของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, 1(1), 1-2.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง, พรเพ็ญ โสมาบุตร และ กฤษดา ปัจจ่าเนย์. (2564). โครงการการศึกษาความเปราะบาง ความเสี่ยง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อน้ำท่วมและภัยแล้งของชุมชนชานเมือง. ขอนแก่น: กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พหล ศักดิ์คะทัศน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ และ กังสดาล กนกหงษ์. (2564). การจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในภาวะภัยแล้งของเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 39(3), 169-179.

วรัชยา เชื้อจันทึก และ พัชรินทร์ วิทยาเอนกนันท์. (2561). การพัฒนาแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงของภาคการเกษตรบนพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภารกิจการปกครองระดับท้องถิ่น: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 10(1), 75-94.

วิเชียร เกิดสุข, พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์ และ กฤติภาส วิชาโคตร. (2555). โครงการการปรับตัวของเกษตรกรชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริศักดิ์ หอมรื่น. (2555). ยุทธศาสตร์แนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งขององค์การบริหารส่วนตำบลซับสนุ่น อำเภอม่วงเหล็ก จังหวัดสระบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).