พุทธวิธีสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพและปัญหาการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี (2) พุทธวิธีสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานด้านพุทธศาสนา จำนวน 3 รูป/คน นักการเมืองท้องถิ่น จำนวน 6 คน นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานด้านรัฐศาสตร์ จำนวน 3 รูป/คน ผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพและปัญหาการสื่อสารทางการเมือง พบว่า (1) ด้านผู้ส่งสาร นักการเมืองท้องถิ่นที่ขาดความจริงใจและซื่อสัตย์ในคำพูด (2) ด้านสารหรือข้อมูล การกระจายข้อมูลข่าวสารที่ไม่ทั่วถึงและไม่รวดเร็ว ขาดการกลั่นกรองข้อมูล (3) ด้านช่องทางนำสารหรือข้อมูล ประชาชนบางส่วนขาดความพร้อมในการรับข้อมูลข่าวสารในหลายๆ ด้าน และ (4) ด้านผู้รับสาร ประชาชนบางส่วนขาดการไตร่ตรองข้อเท็จจริง 2) พุทธวิธีสื่อสารทางการเมือง ตามหลักวจีสุจริต 4 พบว่า นักการเมืองท้องถิ่นควรพูด สัจจวาจา (พูดจริง) อปิสุณาวาจา (พูดไม่ส่อเสียด) สัณหวาจา (พูดอ่อนหวาน) สัมผัปปลาปะ (เว้นการพูดเพ้อเจ้อ) ในการสื่อสารกับประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี). (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย). (2565). การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พิบูลย์ เพียรพานิชกุล. (2565). การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
มนัสนันท์ ศิวะพรพัฒนา. (2564). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไป ของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
วัฒนา นนทชิต. (2558). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 3(1), 37-45.
สุรพล พรมกุล. (2566). การสื่อสารทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(3), 1-18.
สุรพล พรมกุล. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2540-2560. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
องค์การบริหารส่วนตำบลรุ่งระวี. (2567). นโยบายผู้บริหาร. สืบค้นจาก https://rungravee.go.th/14-uncategorised/structure/45-personnel-2.html.
Berlo, D.K. (1960). The Process of Communication: Introduction to Theory and Practice. San Francisco: Rinehart Press.