การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

วันวิสา นวนไทย
ศรีรัฐ โกวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ช่องทางการรับรู้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองสาม จำนวน 398 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไค-สแควร์ Cramer’s V t-test, One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง โดยประชาชนมีแนวโน้มเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เช่น งานประเพณีมากกว่าการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่น ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะที่ช่องทางการรับรู้ เช่น การรับข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์สูงกับการมีส่วนร่วม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มช่องทางการสื่อสารและการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับบทบาทของตนในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นอาจเป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

Article Details

How to Cite
นวนไทย ว., & โกวงศ์ ศ. (2025). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. Journal of Spatial Development and Policy, 3(2), 69–82. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1447
บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

จุติพร มาเพิ่มผล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง ควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ฐิติรัตน์ บำรุงวงศ์. (2555). การรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของกรมทางหลวงชนบท. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ทอสี เขียวสุทธิ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์เยาวชนบางนา. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การรับรู้ของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุขในชุมชนบางไผ่ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ปวริศ เมตตา. (2560). ความรู้และพฤติกรรมในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของข้าราชการกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

ปิยะรัตน์ รุกขชาติ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พรหมมา แป้นทอง. (2559). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. นครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

รักยิ้ม เฮงหลี. (2552). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).

ลัดดาวรรณ นนปะติ และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2), 289-305.

สำนักบริหารการทะเบียน องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม. (2564). ข้อมูลประชาชนในตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2564. ปทุมธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF.

สุภัทรไชย์ ภาภักดี, พระครูสุตวรธรรมกิจ, สยามพร พันธไชย และ พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 57-70.

อัญชลี ศรีสมุทร์. (2552). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคติดอินเทอร์เน็ตของเด็กวัยรุ่น. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Arnstein, S. R. (1969). A ladder of citizen participation. Journal of the American Institute of planners, 35(4), 216-224.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Pateman, C. (1970). Participation and Democratic Theory. Cambridge: Cambridge University Press.

Stavenhagen, R. (1991). Human rights, democracy and development in Latin America. Economic and Industrial Democracy, 12(1), 31-41.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.