ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน (2) ระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนระดับมัธยมตอนปลายศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้คือกลุ่มเยาวชนที่กำลังศึกษาในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 385 คน โดยแบบสอบถามมีผลการวัดความเชื่อมั่น ค่าคะแนน 0.858 โดยมีสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้สถิติไคส์แสควร์ โดยการแสดงตารางไขว้ จากนั้นจะใช้ค่า Contingency Coefficient เป็นตัวชี้วัดระดับความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 51.2 ช่วงอายุ 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.7 โดยส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในช่วงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 36.1 ซึ่งมีเงินรายได้จากผู้ปกครองหรือจากการทำงานของนักเรียนมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3743.61 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 86.5 แต่ยังมีกลุ่มเยาวชนที่ยังมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุการใช้คือแค่อยากทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 51.0 และส่วนใหญ่เยาวชนซื้อบุหรี่ไฟฟ้ามาจาก ร้านค้าที่จัดจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 51.0 และระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน ระดับความรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับความรู้ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ระดับทัศนคติ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับ ปานกลาง ระดับการรับรู้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าภาพรวมในประเด็นต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก และความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ แต่มีเพียง 8 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ ได้แก่ รายได้ต่อเดือน การใช้บุหรี่ไฟฟ้า สาเหตุการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ความถี่การใช้บุหรี่ไฟฟ้า ช่องทางการซื้อบุหรี่ไฟฟ้า ความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ด้านผลกระทบ และทัศนคติด้านความเห็น และทั้งหมดนี้ความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2551). สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 6. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
จิราภรณ์ จำปาจันทร์, สิริวิมล ทะวงศ์นา, นิธิพร ยะคำสี, ภัทรินทร์ เมืองคง, นริศรา ขันตี, ณีรนุช วรไธสง, วิบูลย์สุข ตาลกุล, ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ และ อนุวัฒน์ สุรินราช. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(2) 631-644.
ชูชัย ศุภวงศ์, สุภกร บัวสาย และ นวลอนันต์ ตันติเกตุ. (2540). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
ณัฐพล รุ่งโรจน์สิทธิชัย. (2560). การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานพัฒนาสังคม. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนาคารโลก. (2566). คนไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า เอกสารประกอบการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่21. กรุงเทพฯ: ธนาคารโลก.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2558). บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์นวัตกรรมที่ต้องจับตา. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.trc.or.th/th/attachments/article/165/0018FS.pdf?fbclid=IwAR3Y6dYDh3mfTRtGvdR52UYfQ54JH1ThsCKZYnw2Egks4atl187-UanH59I.
ยสินทร มีกูล, อรนภา ล่ำปิยะ และ วุฒิฌาน ห้วยทราย. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 19(1), 76-88.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2562). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2566). แพทย์รามาฯ ห่วงเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่ม แนะรัฐบาลใหม่ เร่งให้ความรู้ ปราบปรามจริงจัง หวั่นซ้ำรอยอังกฤษพบเยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้าพุ่ง 3 เท่าจาก 8% เป็น 24% ในรอบ 5 ปี. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.thaihealth.or.th/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AF-%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9/.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2566). กลุ่มนโยบายและแผนข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาขอนแก่น. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก http://www.kksec.go.th/2566/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564[ฉบับอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.trc.or.th/th/attachments/article/618/สถิติบุหรี่%202564.pdf.
อมรินทร์ออนไลน์. (2566). โรคอีวารี่ ปอดอักเสบอาการ รุนแรง ภัยร้ายจากบุหรี่ไฟฟ้า. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.amarinbabyandkids.com/health/pneumonia-symptom/.
อารักษ์ มุ่งหมาย, สริญญา รอดพิพัฒน์ และ จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(3), 311-324.