แผนที่ภาพนูนสำหรับผู้พิการทางการเห็นในการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด ขอนแก่น

Main Article Content

บุญญาพร ลับไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) ด้วยแผนที่ภาพนูนให้ผู้พิการทางการเห็นภายในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 15 คน เลือกแบบเจาะจงโดยต้องเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อการศึกษาสำหรับผู้พิการทางการเห็น ได้แก่ (1) ผู้บริหาร ครู และครูฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) (2) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคนตาบอด และ (3) ผู้พิการทางการเห็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการประเมินการใช้งานแผนที่ภาพนูนสำหรับผู้พิการทางการเห็นจำนวน 10 ท่าน วิเคราะห์และสรุปผลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์ผลสถิติจากแบบประเมินการใช้งานแผนที่ภาพนูนในเชิงปริมาณ (quantitative analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดมีการจัดการเรียนการสอนและมีการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) ที่เหมาะสม ผู้บริหารจึงต้องการพัฒนาสื่อเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเดินทางของผู้พิการทางการเห็น 2) ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) พบว่า สื่อควรมีคุณสมบัติและประเภทของแผนที่ภาพนูนที่มีความเหมาะสมโดยจะอยู่ในรูปแบบสื่อเทอร์โมฟอร์ม 3) ผลพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (O&M) ด้วยแผนที่ภาพนูน พบว่า ผู้พิการทางการเห็นสามารถทำความเข้าใจการใช้งานแผนที่ได้ดีมากขึ้นในการทดสอบครั้งที่ 2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2566). สถานการณ์คนพิการ 30 กันยายน 2566. สืบค้น 19 มีนาคม 2567. จาก https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation.

ธีรอาภา บุญจันทร์, เสาวภา พรสิริพงษ์ และ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2555). การจําลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสําาหรับคนตาบอด. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 32(1), 107-114.

นิธิวดี ทองป้อง และ สัญชัย วันติเวส. (2565). ผลการใช้งานแผนที่นูนต่ำ นำทางคนตาบอดในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Journal of Architecture/Planning Research and Studies, 19(1), 83-98.

พลากร พันธุ์มณี. (2564). การสร้างสื่อเสริมประกอบการสอนที่มีรูปทรงนูนในวิชาสังคมศึกษา สำหรับผู้พิการทางสายตา กรณีศึกษาโรงเรียนสอนคนตาบอดธรรมสากล หาดใหญ่ (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ภาณุ อุทัยศรี, แววพลอย ศรีมณี, ณัฐพล เพชรนาค และ สันติชัย นำพลสัก. (2563). แผนที่ 3 มิติ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (น. SGI14-1- SGI14-10). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภาวินี ลาโยธี และ น้อมจิตต์ นวลเนตร. (2563). การประเมินการใช้ทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของคนพิการทางการเห็น: กรณีศึกษาอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารกายภาพบำบัด, 35(5), 41–57.

มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาจังหวัดร้อยเอ็ด. (ม.ป.ป.). คู่มือการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว. ร้อยเอ็ด: มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาจังหวัดร้อยเอ็ด.

วิลาสินี สิทธิโสภณ. (2557). การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้น 16 มีนาคม 2567. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1741.