ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลตำบลบ้านค้อ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ชัยชนะ ศรีเพียชัย
เทิดพงศ์ หันจางสิทธิ์
ณิชาภัทร ไพศาล
วิภาลักษณ์ ฤทธิ์จะโป๊ะ
อภิรดี วงศ์ศิริ
มานะ นาคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลตำบลบ้านค้อ จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้คือประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น เขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านค้อ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้การเข้าถึงแหล่งข้อมูล อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้สาเหตุของปัญหา การรับรู้ข้อมูล การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้อุปสรรคในการป้องกัน การรับรู้ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การรับรู้ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ผลกระทบด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก การรับรู้ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การรับรู้มาตรการนโยบายของภาครัฐ วิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า มาตรการนโยบายภาครัฐ (Beta = 0.534) อายุ (Beta = -0.142) การรับรู้สาเหตุปัญหา (Beta = 0.128) การรับรู้ความเสี่ยง (Beta= 0.095) และการรับรู้ผลกระทบ (Beta = 0.229) โดยมีค่า R2=0.553 เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และวิธีการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

Article Details

How to Cite
ศรีเพียชัย ช. ., หันจางสิทธิ์ เ., ไพศาล ณ., ฤทธิ์จะโป๊ะ ว., วงศ์ศิริ อ., & นาคำ ม. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลตำบลบ้านค้อ จังหวัดขอนแก่น. Journal of Spatial Development and Policy, 2(5), 13–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JSDP/article/view/1004
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย ปี 2561.กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2566). ยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต. สืบค้น 20 กันยายน 2566. จาก https://www.pcd.go.th/pcd_news/29162.

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2565). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป. สืบค้น 6 กันยายน 2566. จาก https://uttaradit.prd.go.th/th/content/page/index/id/.

ณฐมน สืบซุย, ณภัทร เตียววิไล, กัญญารัตน์ ตะเคียน และ สุดารัตน์ คงคล้าย. (2566). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ต่อผลกระทบทางสุขภาพแบบเฉียบพลันของผู้จำหน่ายอาหารริมบาทวิถี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 23(1), R120-R134.

เทศบาลตำบลบ้านค้อ. (2566). สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ตำบลบ้านค้อร่วมใจป้องกันและควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ด้วยแนวทางธรรมนูญสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพอากาศ. ขอนแก่น: เทศบาลตำบลบ้านค้อ.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณสำหรับงานพัฒนาสังคม. ขอนแก่น: คณมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

พรพรรณ สกุลคู และ ธนาวุธ โนราช. (2564). คุณภาพอากาศในจังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี 2561-2562 และข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวัง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 1-8.

พิชฌ์นิพัทธ์ วิชัยโน, ชลวิทย์ เจียรจิตต์ และ สายชล ปัญญชิต. (2565). การรับรู้ความเสี่ยงและผลกระทบจากฝุ่นควัน PM2.5 ของคนเมืองอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสหศาสตร์, 22(2), 23-41.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2566). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2566 เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของ “ฝุ่น PM2.5”. สืบค้น 3 กันยายน 2566. จาก https://econ.nida.ac.th/2023/03//.

มัตติกา ยงอยู่. (2564). ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เขตเมืองอุตสาหกรรม ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 44(2), 83-96.

วรนารา ชนะบวรสกุล, เสรีย์ ตู้ประกาย, ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช และ มงคล รัชชะ. (2565). การศึกษามาตรการและแนวทางของภาครัฐในการบริหารจัดการปัญหาวิกฤตมลพิษ ฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(3), 143-161.

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยขอนแก่น. (2566). เทศบาลนครขอนแก่น เร่งล้างทำความสะอาดถนน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5. สืบค้น 15 กันยายน 2566. จาก https://radiokhonkaen.prd.go.th/th/content/category/detail/id/793/iid/166792.

สำนักงานกลางทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง. (2565). ประกาศสถิติจำนวนประชากรประจำปี. สืบค้น 4 กันยายน 2566.จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น. สืบค้น 20 กันยายน 2566. จาก https://sdgs.nesdc.go.th/.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (2rd ed.). New York: Harper and Row.