วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ <p><strong> วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ </strong><strong>Jaraphruekpirom</strong> โดยเผยแพร่ตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องจากวารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ซึ่งบทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างน้อย 3 คน โดยมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนตีพิมพ์ (Peer review) ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย งานวิชาการหรือความเห็นทางวิชาการใหม่ ๆ เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็นจาการศึกษาค้นคว้า การวิจัย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในบริบทต่าง ๆ ของวิทยาการที่หลากหลาย รวมทั้งเป็นข้อมูลในการศึกษา การค้นคว้าทางวิชาการของชุมชนท้องถิ่นที่สามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม–มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม–ธันวาคม มีวัตถุประสงค์การเผยแพร่ ดังนี้</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป (General Social Sciences) ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ (General Arts and Humanities) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (Political Science and Public Administration) ภาษาและวรรณกรรม (Language and Literature) และการศึกษา (Education) และหรือที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นี้</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สำหรับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักศึกษา และนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย</span></p> <p> 3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงอันก่อเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม</p> <p><strong>ISSN 2985-217X (Online)</strong></p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา th-TH วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2985-217X การพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/83 <p>การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เทศมหาชาติ การแห่กัณฑ์หลอน การกวนข้าวยาคู ตานก๋วยสลาก ตานขันข้าว ปอยข้าวสัง การบวงสรวงพระยาสี่เขี้ยว และพัฒนาแผนที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การพัฒนาแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม GIS และจัดทำข้อมูลด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา บันทึกเป็นคลิปวีดิทัศน์นำไปใส่ในแผนที่โดยใช้ QR Code เพื่อสแกนอ่านข้อมูลด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของชาวไท-ยวนมีข้อมูลนำ เสนอเป็นวีดิทัศน์ และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้แผนที่อิเล็กทรอนิกส์พบว่า ความพึงพอใจในสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 S.D. = .47) มีองค์ประกอบโดยรวมที่สวยงาม และเนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50 S.D. = .57) สามารถนำเนื้อหามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื้อหาสนับสนุนการตัดสินใจ ตัวอักษรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 S.D. = .50, 57) สื่อมีความทันสมัย สื่อการใช้งานง่าย และเนื้อหาเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก ( = 4.43 S.D. = .50, .56)</p> ศศิธร หวังค้ำกลาง สกุล วงษ์กาฬสินธุ์ Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 1 13 การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ โรงเรียนบ้านพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/7 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพระพุทธ อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 11 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้าน การพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จํานวน 5 แผน 2. แบบทดสอบพัฒนาการทางด้านการพูด 3. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมทางด้านการพูดสําหรับเด็กปฐมวัย 4. สื่อการสอนคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t–test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการพูด มีพัฒนาการด้านการพูดที่สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม โดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.94 ซึ่งทำให้เห็นว่าทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05</p> วรรณิภา เรียงกลาง Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 14 22 การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/5 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาดีศรีสะอาด อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะการอ่านออกเขียนได้ แม่ก กา เล่มที่ 1 แบบทดสอบการอ่าน การเขียน และแบบสังเกตพฤติกรรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีกลุ่มเดียว (Paired samples t–test) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 มีความสามารถด้านการเขียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้ ส่วนผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมปรากฏว่าหลังการจัดกิจกรรม โดยใช้แผนพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 โรงเรียนบ้านนาดีศรีสะอาด นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่าน สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม โดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.29 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.50 นักเรียนมีพัฒนาด้านการเขียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .96 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.73 จะเห็นได้ว่าทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้หนังสือชุดอ่าน แม่ ก กา เล่ม 1 มีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05</p> กฤติกา นิลบุศย์ Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 23 33 การแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/84 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น อำเภอ บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ 3. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านสะกดคำและการเขียนสะกดคำ 4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ รูปแบบที่ใช้ในการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> </ol> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก</p> อชิตพล พงษ์สุภา Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 34 46 การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักเรียนวัดบ้านวัด โดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบโมเดลซิปปา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/86 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ที่ได้รับการการจัดการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุธศาสนา ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักเรียนวัดบ้านวัด จำนวน 5 คน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ที่ได้รับการจัดการเรียน การสอนแบบโมเดลซิปปา โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่ 2.40 หรือคิดเป็นร้อยละ 24 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยที่ 6.00 หรือคิดเป็นร้อยละ 60 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักเรียนบ้านวัด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุธศาสนา เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียน เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต คะแนนเฉลี่ยที่ 6.00 หรือคิดเป็นร้อยละ 60 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50</p> สกล วาสรัตน์ Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 47 55 การศึกษาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากคำพิพากษาศาลฎีกา https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/152 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 แดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรสิทธิ์ และเพื่อศึกษาการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากคำพิพากษาศาลฎีกา โดยการเลือกคำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 30 คำพิพากษาที่เกี่ยวกับการแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ใช้แบบบันทึกข้อมูล เพื่อใช้จดบันทึกข้อมูลรายละเอียดของคำพิพากษาศาลฎีกา ประเด็นข้อเท็จจริง ประเด็นกฎหมาย เพื่อหาความถี่ของคำพิพากษาที่มีการตัดสินในประเด็นกฎหมายนั้น ๆ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า มีมาตราที่เกี่ยวข้องตั้งแต่มาตรา 1335 - 1355 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 21 มาตรา โดยกฎหมายให้สิทธิอยู่ในมาตรา 1335-1337 แดนกรรมสิทธิ์และอำนาจกรรมสิทธิ์ และกฎหมายจำกัดสิทธิเป็นไปตามมาตรา 1337-1355 จากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 30 ฎีกา พบว่าเรื่องที่เป็นประเด็นการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับแดนกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พบมากที่สุดในคำพิพากษาศาลฎีกานั้น คือ มาตรา 1349 ที่ดินตาบอดไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำนวน 10 ฎีกา รองลงมาคือมาตรา 1336 อำนาจกรรมสิทธิ์ จำนวน 8 ฎีกา เท่ากันกับมาตรา 1350 ทางจำเป็น จำนวน 8 ฎีกา ตามมาด้วยมาตรา 1337 การใช้สิทธิเกินส่วน จำนวน 7 ฎีกา คำพิพากษาของศาลฎีกาจึงถือว่าเป็นบรรทัดฐานในการใช้กฎหมาย เป็นตัวอย่างในการวินิจฉัย ตีความ และอธิบายตัวบทกฎหมายต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายจากคดีเรื่องจริงที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา&nbsp;ซึ่งถือเป็นที่ยุติและถึงที่สุด</p> อมรเทพ คล่าโชคชัย อาฤทธิ์ตา ศรีสิงห์ จีรวรรณ สร้างการนอก ภัทราภรณ์ ประสานพันธ์ เกศรินทร์ สีแก้ว สถิต จำเริญ Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 56 67 การศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/151 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินและศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน โดยในการวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random sampling) จำนวน 50 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)</p> <p>ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าหลักกฎหมายครอบครองปรปักษ์ปรากฏในมาตรา 1382, 1299 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้พบว่าระดับความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ความเข้าใจว่าการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินต้องไปครอบครองที่ดินของผู้อื่นติดต่อกันจนครบ 10 ปี อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.28, S.D. = 0.81) รองลงมาคือ มีความรู้ความเข้าใจว่าการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินทำให้ได้กรรมสิทธิ์ อยู่ในระดับมาก&nbsp;&nbsp; ( &nbsp;= 4.16, S.D. = 0.87) และการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินต้องครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของอยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.08, S.D. = 0.99) ตามลำดับ ส่วนความรู้ความเข้าใจที่ว่าการได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ถ้ายังไม่จดทะเบียนจะเปลี่ยนเเปลงสิทธิไม่ได้ อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 3.83, S.D. = 0.97) ซึ่งมีระดับความรู้ความเข้าใจในลำดับสุดท้าย ทั้งนี้ยังพบว่านักศึกษาต่างชั้นปีกันมีผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินด้วย โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ( &nbsp;= 4.60, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก ( &nbsp;= 4.30, S.D. = 0.24) ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก เพราะยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชากฎหมายแพ่งว่าด้วยทรัพย์สิน</p> ยุทธนากร สียางนอก สุทิวัส เหลาสา พีรยา ม่านกลาง ชมพูนุช เริงสนาม ภูชนิสา เล็นไธสง สุทธิกานต์ หวินกำปัง สถิต จำเริญ Copyright (c) 2023 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ 2023-12-28 2023-12-28 5 2 68 84