https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/issue/feed
วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
2024-11-19T16:14:59+07:00
ผศ.ดร.เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล
dr.settawat2019@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong> </strong><strong>วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์</strong><strong> Jayaphruekpirom </strong><strong>ISSN 2985-217X (Online) </strong>ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป (General Social Sciences) ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ (General Arts and Humanities) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (Political Science and Public Administration) ภาษาและวรรณกรรม (Language and Literature) และการศึกษา (Education) และหรือที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นี้ เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สำหรับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิชาการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงอันก่อเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม</p> <p> <strong>วารสารฯ รับพิจารณาตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</strong></p> <p><strong> การพิจารณาบทความ<br /></strong></p> <p> ๑. บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ต้องเป็นบทความใหม่ที่อยู่ในขอบเขตสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป (General Social Sciences) ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ (General Arts and Humanities) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (Political Science and Public Administration) ภาษาและวรรณกรรม (Language and Literature) และการศึกษา (Education) และหรือที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นี้ </p> <p> ๒. บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ</p> <p> ๓. บทความต้องผ่านการพิจารณาและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่มีความเชื่ยวชาญทางด้านสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อย่างน้อย ๓ คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)</p> <p> ๔. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นข้อคิดของผู้เขียนเท่านั้น และผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความนั้น</p> <p> ๕. บทความที่ตีพิมพ์ มี ๓ ประเภท ดังนี้</p> <p> ๕.๑ บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการนำเสนอผลการศึกษา หรือการค้นคว้าอย่างมีระบบ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ</p> <p> ๕.๒ บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่มีการนำเสนอความรู้ทั่วไปที่เขียนขึ้นจากการสังเคราะห์ พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ประกอบด้วยบทนำ เนื้อหา และสรุป</p> <p> ๕.๓ บทความวิจารณ์ (Review Article) เป็นบทความที่วิจารณ์หนังสือและการนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ประกอบด้วยภาพปกหนังสือ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ เนื้อหา และข้อเสนอแนะแนวทางการเลือกหนังสือ</p> <p> <strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารฯ</strong></p> <p> วารสารฯ ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเสนอบทความ และค่าตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร</p> <p> <strong> กำหนดการเผยแพร่วารสารฯ</strong></p> <p> วารสารฯ มีกำหนดเผยแพร่ปีละ ๒ ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม–มิถุนายน และฉบับที่ ๒ ประจำเดือนกรกฎาคม–ธันวาคม</p> <p> </p>
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/880
แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
2024-07-12T15:21:46+07:00
บวร สมบัติธีระ
bovon456@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลาดง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตในพื้นที่ตำบลกลางดง และตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 387 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ระดับภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจ ภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการบริการทั่วไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา และด้านการควบคุมและจัดการจราจร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ</p> <p>แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกพบปะและสื่อสารกับประชาชนในชุมชนเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงาน 2) ผู้บังคับบัญชาควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการบริการประชาชน 3) ผู้บังคับบัญชาควรจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยและเพียงพอ ในการปฏิบัติหน้าที่</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/923
บุพเพสันนิวาส : ความเป็นหญิงสมัยใหม่
2024-08-05T10:15:15+07:00
อนันตศักดิ์ พลแก้วเกษ
anantasak00@hotmail.co.th
มาลินี ไชฮะนิต
0935390336aor@gmail.com
ทิพาพร เพ็งศรีโคตร
tipaparn5422@gmail.com
<p>การศึกษาเรื่อง บุพเพสันนิวาส: ความเป็นหญิงสมัยใหม่ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นหญิงสมัยใหม่ ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอผลงานแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเลือกตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 1 เรื่องใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง โดยเลือกละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส ที่ออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 20.20 - 22.20 น. ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2561 รับชมย้อนหลังผ่านทางแอปพลิเคชัน 3plus เป็นกรณีศึกษา และคัดเลือกวิเคราะห์เฉพาะข้อมูลที่แสดงถึงความเป็นหญิงสมัยใหม่ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาสเท่านั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ความเป็นหญิงสมัยใหม่ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ความเป็นหญิงสมัยใหม่ที่ปรากฏในละครโทรทัศน์เรื่องบุพเพสันนิวาส ประกอบไปด้วย 4 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรกลักษณะการใช้ภาษาปรากฏเด่นชัดที่สุดในเนื้อเรื่อง รองลงมาคือประเด็นลักษณะการแสดงออกภายนอกของตัวละคร ลำดับที่สามคือประเด็นการใส่ใจในรูปลักษณ์ และลำดับสุดท้ายคือประเด็นลักษณะวิธีการคิด</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/750
การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1
2024-06-11T21:08:57+07:00
ภิรมย์ ค้าสบาย
diowredbull@gmail.com
กรุณา เชิดจิระพงษ์
karuna.c@nrru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 จำนวน 154 คน ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ระดับสมรรถนะหลักการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านพร้อมปฏิบัติภารกิจ ด้านทำงานเป็นหนึ่งเดียว ด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย และด้านสร้างความท้าทายด้วยนวัตกรรม ตามลำดับ ระดับสมรรถนะหน้าที่การปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสรรพาวุธ ด้านความชำนาญทหารอากาศในงานสรรพาวุธ และด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการสรรพาวุธ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของนายทหารชั้นประทวน สายงานวิทยาการสรรพาวุธ กองบิน 1 มีแนวทางพัฒนา ดังนี้ นายทหารชั้นประทวนควรได้รับอบรม ศึกษา ควรมีการประชุมวางแผนเป็นประจำ ควรตรวจสภาพและเตรียมความพร้อมของทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ควรถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ทำงาน สร้างแหล่งความรู้โดยระบบจัดเก็บฐานข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันในทุกมิติ ควรจัดทำตัวชี้วัด ควรส่งเสริมจัดตั้งกลุ่มองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างนวัตกรรม ควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัย ความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานสรรพาวุธที่มีความเฉพาะด้าน และควรทบทวนความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/1002
การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ตามความต้องการสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน
2024-09-02T21:08:54+07:00
ธวัชชัย เอกสันติ
thawatchai.a@nrru.ac.th
ฐิติมา ระย้าเพ็ชร
thitimapoc@gmail.com
นฤมล เวชจักรเวร
naruemon.w@nrru.ac.th
นพเก้า บัวงาม
noppakao.b@nrru.ac.th
วิจิตราภรณ์ ธรรมาไพศาล
parimoke.k@gmail.com
จิรัญญา บุรีมาศ
jiranya.b@nrru.ac.th
ภิษณี วิจันทึก
pisanee.w@nrru.ac.th
รชานนท์ ง่วนใจรัก
rachanon.n@nrru.ac.th
อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง
atthawit.s@nrru.ac.th
ธนิดา ผาติเสนะ
drtanida@hotmail.com
<p> สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจึงเพิ่มสูงขึ้น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุขจึงมีความสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถของนักศึกษาในการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และเพื่อสร้างรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบดังกล่าวกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงมากขึ้น นักศึกษมีทักษะการสื่อสารกับชุมชนและบุคลากรในสาขาวิชาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถในการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน นอกจากนี้ นักศึกษายังพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานด้านสาธารณสุขในอนาคต ข้อเสนอแนะคือควรพิจารณาเพิ่มระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติในชุมชนและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกปฏิบัติทักษะให้สอดคล้องกับข้อบังคับและมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/815
การสำรวจผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือดิจิทัลต่อการสอนการเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา: การวิเคราะห์อภิมานของบริบททั้งระดับโลกและประเทศไทย
2024-07-22T20:33:20+07:00
Thanaset Chavangklang
tns.cvk@gmail.com
PITCHAYAPA CHAVANGKLANG
pitchayapa.c@nrru.ac.th
<p> วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้คือการสำรวจผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเครื่องมือดิจิทัลต่อการสอนการเขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (EFL) ในระดับอุดมศึกษา โดยเน้นประสิทธิภาพในการเสริมสร้างทักษะด้านไวยากรณ์ ความเชื่อมโยงของเนื้อหา และคำศัพท์ การศึกษาได้ทบทวนบทความที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี 2010 ถึง 2024 โดยรวบรวมผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อประเมินผลกระทบโดยรวมของเทคโนโลยีเหล่านี้ต่อผลลัพธ์การเขียน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเครื่องมือ AI เช่น ระบบการสอนอัจฉริยะและซอฟต์แวร์ประเมินการเขียนอัตโนมัติให้ข้อเสนอแนะเฉพาะบุคคลที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการเขียนและการมีส่วนร่วมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ เครื่องมือดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มการเขียนออนไลน์และซอฟต์แวร์การทำงานร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์และเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการศึกษาไทยที่วิธีการแบบดั้งเดิมมักจะไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีศักยภาพ แต่ความท้าทาย เช่น การเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำกัดและระดับความรู้ดิจิทัลที่แตกต่างกันก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เน้นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของ AI และเครื่องมือดิจิทัลในการให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นส่วนตัวและมีประสิทธิภาพใน การสอนการเขียน EFL ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเหล่านี้โดยการจัดสรรเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาวิชาชีพสำหรับครู นอกจากนี้งานวิจัยในอนาคตควรมุ่งเน้นไปที่การขยายการเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ การพัฒนาสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อทักษะการเขียนเพื่อแจ้งการตัดสินใจด้านนโยบายและปรับปรุงการสอนใน EFL</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/857
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องประวัติของพระพุทธเจ้าโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
2024-07-05T22:48:47+07:00
มนตรี หลินภู
montreegate@hotmail.com
เกตน์นิภา แซ่วื่อ
Ketnipa2824@gmail.com
วารุณี เขื่อนแก้ว
Weawrunee@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปทางการเรียนเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้าของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 19 คน โรงเรียนบ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูปรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบผลวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) แบบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบทีที่ไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องประวัติของพระพุทธเจ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 93.95/92.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.49, S.D.=0.46)</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/674
Deciding on the Mayor: Political Marketing Strategies
2024-05-23T14:33:51+07:00
Sanya Kenaphoom
zumsa_17@hotmail.com
HONGYAYA CHAMROENPAT
prapatsornsubterm@gmail.com
Busara Niyomves
busara_09@hotmail.com
Pornchai Jedaman
p.jedaman@gmail.com
Watcharaporn Jantanukul
chomchob49@gmail.com
<p>Political marketing which the politicians apply to find the people’s needs, and modify behaviors to meet the people’s needs, including communication strategies and approaches to political achievement goals. The research will provide an overview of political marketing Strategies and study the relationship between political marketing Strategies affecting deciding on the mayor. Mixed method research on qualitative collections came from documentary and interview questionnaires of key informants, and quantitative surveys by questionnaire of the samples. Political marketing Strategies are “Key” to factors such as voter segmentation, candidate positioning, strategy formulation and implementation, and polling. The relationship between political marketing Strategies affected in deciding on the mayor has to positive relationship to statistically significant. Ultimately, the political environment, politically affected groups, and technology will influence strategy, and the full presentation of facts will help to make the effectiveness of deciding on the mayor. Ultimately, the political environment, politically affected groups, and technology will influence strategy, and the full presentation of facts will help make effective voting decisions.</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JPPJ/article/view/525
ACHIEVING B1-B2 CEFR LEVELS: CHALLENGES, OPPORTUNITIES, AND PRACTICAL GUIDELINES FOR THAI UNIVERSITY SETTINGS
2024-05-22T21:59:43+07:00
THANASET CHAVANGLKANG
tns.cvk@gmail.com
PITCHAYAPA CHAVANGKLANG
tns.cvk@gmail.com
KITISUDA PARNKUL
tns.cvk@gmail.com
CHAYAWIN NUPONG
tns.cvk@gmail.com
PREMKAMON SATHITDETKUNCHORN
tns.cvk@gmail.com
<p>บทความนี้ศึกษาถึงกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับมหาวิทยาลัยไทยในการบรรลุระดับ B1-B2 ของกรอบการอ้างอิงร่วมสำหรับภาษาของยุโรป (CEFR) โดยเน้นที่โอกาสที่เกิดจากการบรรลุเป้าหมายนี้ เช่น การเพิ่มโอกาสทางวิชาการและอาชีพ การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระดับโลก และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การบรรลุระดับดังกล่าวยังพบกับอุปสรรคมากมาย เช่น ทรัพยากรและสถานะการณ์ที่จำกัด อุปสรรคทางวัฒนธรรมและภาษา รวมถึงความแตกต่างของแรงจูงใจและทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา บทความนี้เสนอกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบหลักสูตรแบบบูรณาการ การผสมผสานเทคโนโลยีกับการเรียนรู้แบบผสม และการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนับสนุนผ่านการสนับสนุนจากเพื่อนและโปรแกรมพัฒนาอาจารย์ที่มีพลวัต การวิเคราะห์นี้ให้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่จะช่วยให้มหาวิทยาลัยไทยไม่เพียงแต่บรรลุแต่ยังเพิ่มประโยชน์จากระดับ B1-B2 CEFR ทำให้ภูมิทัศน์การศึกษาโดยรวมดีขึ้นและช่วยให้นักศึกษามีทักษะและความมั่นใจที่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จในโลกที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างแพร่หลาย</p>
2024-11-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์