วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษาทั่วไป
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE
<p>วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษาทั่วไป JILGE</p> <p>วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษาทั่วไป ดำเนินการจัดทำโดย สำนักวิชาศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็คทรอนิกส์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ ผลงานวิจัย องค์ความรู้และวิทยาการทางด้านการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ การเปลี่ยนทางสังคม ภาษา และรวมถึงธุรกิจการจัดการสมัยใหม่ เป็นต้น</p> <p> </p>
SUAN SUNANDHA RAJABHAT UNIVERSITY
th-TH
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษาทั่วไป
2985-2056
<p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Innovative Learning and General Education ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ </p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Innovative Learning and General Education<br />ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร Journal of Innovative Learning and General Education หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร Journal of Innovative Learning and General Educationเท่านั้น</p>
-
การจัดการศึกษานอกสถานที่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE/article/view/784
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียน และหลังเรียน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยแบ่งการดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (Design and Development ) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ (Implementation) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและการปรับปรุงรูปแบบ (Evaluation) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 136 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย กิจกรรมที่จัดขึ้นควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยมี 3 องค์ประกอบ คือ 1 ผู้เรียน 2 ผู้สอน และ 3 บุคลากรในชุมชน ผลการเปรียบเทียบระดับความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่านักเรียนมีความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าระดับความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความรู้สึกรักผูกพันในท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบรูปแบบนี้อยู่ในระดับมาก</p>
นางสาวจีรวรรณ พันธุระ
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
1 2
8
20
-
ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE/article/view/785
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ 2) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมกับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและพนังงานบริษัทฯ ที่ปฏิบัติงานในบริษัททั้งหมด 4 แห่ง จำนวน 361 คน ด้วยสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Yamane, 1973) และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในรูปแบบ Google Form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมกับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของบริษัทฯ มีความแตกต่างอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ ทักษะทางสติปัญญา (X1) และตัวทักษะเชิงความรู้ (X4) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงมาก ทักษะทางอารมณ์และสังคม (X2) และทักษะทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ (X3) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
ชุติเดช มั่นคงธรรม
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
1 2
21
33
-
เทคโนโลยีสมัยใหม่และผลกระทบต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE/article/view/786
<p>การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้มีผลกระทบใหญ่ต่อการศึกษาในปัจจุบัน วิถีชีวิตของเราถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีและการเรียนรู้ก็ไม่แสดงออกเหมือนเดิม โดยสามารถเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต, ใช้แหล่งข้อมูลออนไลน์, ห้องสมุดดิจิทัล, แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์, และ ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสอนและการเรียนรู้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) และการวิเคราะห์คำหลัก (Domain Analysis) จากนั้นวิเคราะห์ผลกระทบของเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันผ่านวิธีวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทัศนคติ (Attitudinal analysis) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบทความจำนวน 39 บทความและสัมภาษณ์จากกลุ่มนักเรียน นิสิต และนักศึกษา จำนวน 20 คน</p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายและสอบถามข้อมูลเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลจากบทความ สรุปผลทั้งข้อดีและข้อเสีย ในการใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอน การทดสอบและประเมินผล ซึ่งทำให้สามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อจำกัดในด้านภูมิศาสตร์และตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้ที่แตกต่างๆไปในแต่ละบุคคลอีกด้วย แต่ก็ก่อให้เกิดความแข่งขันในด้านทรัพยากรการศึกษาและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรการศึกษา</p>
ณัฐพล ไพศาลวิโรจน์รักษ์
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
1 2
34
45
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชนโอทอปนวัตวิถีจังหวัดสุพรรณบุรี
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE/article/view/252
<p>งานวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ดำเนินงานของชุมชนโอทอปนวัตวิถี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชน และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของชุมชนโอทอปนวัตวิถี จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 46 คน ประกอบด้วย ตัวแทนส่วนราชการและเอกชน 15 คน หัวหน้าชุมชน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และตัวแทนสมาชิกโอทอป 25 คน รวมทั้งผู้บริโภคสินค้าโอทอป 25 คน รวม 70 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย และใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สภาพการณ์ดำเนินงานของชุมชนพบว่า ความสำเร็จของชุมชนขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของสมาชิก ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่ความสำเร็จคือ ชุมชนต้องพึ่งความช่วยเหลือจากภาครัฐด้านเงินทุน ตลาดและเทคโนโลยี เมื่อมีปัญหาจะแก้ไขด้วยความคิดเห็นของกลุ่ม ชุมชนต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากร นวัตกรรม คุณภาพของสินค้า/บริการ และการตลาดดิจิทัล 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชนมี 7 ปัจจัย ได้แก่ ความสามารถพึ่งพาตนเอง การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นคุณภาพสินค้า/บริการที่หลากหลาย การสนับสนุนจากภาครัฐ ความสามารถของผู้นำชุมชน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนเป็นอาชีพเสริม 3) แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของชุมชนโอทอปนวัตวิถีจังหวัดสุพรรณบุรี สรุปอักษรย่อคำว่า “BEST” ได้แก่ สร้างรูปแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีระบบและกลไกตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองตรงตามความต้องการลูกค้า และเน้นจุดเด่นหรือความสามารถพิเศษ ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมการสร้างผู้นำกลุ่มคนรุ่นใหม่ และจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นที่ทันสมัย เพื่อให้ชุมชนโอทอปนวัตวิถีสามารถพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืนสืบไป</p> <p> </p>
ชุติระ ระบอบ
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษาทั่วไป
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-14
2024-05-14
1 2
47
60
-
ระบบจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21
https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JILGE/article/view/787
<p>บทความนี้นำเสนอถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นำมาใช้กับการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้สอนและผู้เรียนมีการทำกิจกรรมในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยเทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้ผู้สอนกำหนดที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งผู้สอนจึงต้องมีการคิดค้นสื่อนวัตกรรมที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพที่ดีได้ ผู้สอนจะต้องมีการศึกษาระบบที่จะมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมและเนื้อหารายวิชา ที่เพิ่มความน่าสนใจของผู้เรียน ควรนำเทคโนโลยี และสื่อเข้ามาช่วยในการสนับสนุน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีการโต้ตอบผู้สอน เกิดการปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น</p>
สาธิยา ภูนาพลอย
ศิริลักษณ์ พึ่งรอด
นราศักดิ์ ภูนาพลอย
Copyright (c) 2024
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-21
2024-06-21
1 2
61
72