การพัฒนาระบบสารสนเทศในกระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก กรณีศึกษาอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ประจักษ์ พรมงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดรูปแบบองค์ความรู้กระบวนการผลิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นในกระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก 2) เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้กระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก 3) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรชุมชนอย่างยั่งยืน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยใช้รูปแบบของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออกประกอบด้วย เกษตรการผู้ผลิต กลุ่มเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในชุมชน ผู้นำชุมชน/ประธานเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 60 คน โดยวิเคราะห์ ออกแบบ และเก็บข้อมูลในรูปแบบของฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีการสำรวจรูปแบบระบบสารสนเทศที่เหมาะสมในการจัดการองค์ความรู้ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบสื่อต่างๆ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการผลิตมะม่วงผ่านระบบสารสนเทศฯ และทดลองใช้งาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างต้องการให้นำเสนอ/ประชาสัมพันธ์ข้อมูลในรูปแบบสื่อออนไลน์ เช่น การสัมภาษณ์จากปราชญ์ผู้ปลูก สถานที่จริง บรรยากาศภายในสวย แสดงแผนที่สำหรับบอกเส้นทางในการเดินทาง และมีการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 2) จัดทำระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้กระบวนการผลิตออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้การเข้าถึงสืบค้นได้ง่าย 3) มีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ชัดเจน กำหนดสิทธิให้มีผู้ดูแลระบบที่ชัดเจนเพื่อให้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเพื่อการส่งออก พบว่า ความพึงพอใจในภาพรวมในการทดลองใช้ระบบสารสนเทศ คือ 4.59 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
๑. บทความวิจัย (Research Article)